พณ.ดึงธนาคาร-ธุรกิจแฟรนไชส์ สร้างอาชีพหมื่นราย มูลค่าขายทั้งปี 4.6 พันล้านกระตุ้น ศก.

พณ.ดึงธนาคาร-ธุรกิจแฟรนไชส์ สร้างอาชีพหมื่นราย มูลค่าขายทั้งปี 4.6 พันล้านกระตุ้น ศก.

  • 0 ตอบ
  • 57 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


เมื่อวันที่ 11 ต.ค.64 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับผู้บริหารสถาบันการเงินและหน่วยงานพันธมิตรเปิดโครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ ฝ่าโควิด-19 ปี 2564 ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์เปิดเผยว่า โครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19 ในวันนี้ กระทรวงพาณิชย์ตระหนักดีว่าการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจ ภายใต้วิกฤตโควิดในปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะ SMEs และ Micro SMEs ซึ่ง SMEs และ Micro SMEs ส่วนหนึ่ง คือธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีมูลค่าตั้งแต่หลัก 2,000 บาทไปถึงหลัก 10 ล้านบาท

โดยในปี 2564 มีแฟรนไชส์ของคนไทยจำนวน 597 แฟรนไชส์ มูลค่าการตลาดเฉลี่ยปีละ 300,000 ล้านบาท กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แฟรนไชส์ 557 ธุรกิจ มีลูกช่วงที่เป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์ไป 42,000 รายทั่วประเทศ ประโยชน์ของแฟรนไชส์ที่ทำให้เห็นได้ชัดเจนคือ ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเป็นการช่วยสร้างอาชีพสร้างรายได้และลดอัตราการว่างงานและที่สำคัญสูงสุด คือ ช่วยธุรกิจ SMEs และ Micro SMEs ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ

สำหรับโครงการนี้มี 2 กิจกรรมคือ 1.กิจกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Roadshow ใน 15 จังหวัดทั่วทุกภาค ยกขบวนแฟรนไชส์ไปแสดงและขายลูกช่วง รวม 15 จังหวัด ตลอดเดือนตุลาคมนี้จะช่วยขยายธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีบทบาทในภาคเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น 2.จัดกิจกรรมรวมเป็นงานใหญ่ที่อิมแพค เมืองทองธานี ภายใต้กิจกรรม MOC แฟรนไชส์สร้างอาชีพ โดยจัด 5 วัน ช่วงเดือนธันวาคมปีนี้ จะมีแฟรนไชส์กว่า 400 รายเข้าไปร่วม และจะมีการประชาสัมพันธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ และขายลูกช่วงในงานนั้นด้วยที่สำคัญคือ จะมีการขายลูกช่วงในราคาพิเศษ และจะมีโครงการจับคู่กู้เงินระหว่างสถาบันการเงินกับแฟรนไชส์เกิดขึ้นด้วย

"ถือเป็นโครงการจับคู่กู้เงินภาค 3 ต่อจากจับคู่กู้เงินสถาบันการเงินกับร้านอาหาร จับคู่กู้เงินสถาบันการเงินกับ SMEs ส่งออก ผลที่จะเกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมนี้คือ ช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาซื้อแฟรนไชส์ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย จะช่วยให้ก่อเกิดการขายลูกช่วงหรือ ไลเซนต์ เฉพาะงานนี้ 1,500 ล้านบาท แต่ทั้งปีโดยกิจกรรมนี้เป็นตัวกระตุ้นจะไม่ต่ำกว่า 4,600 ล้านบาทคาดว่าจะช่วยเศรษฐกิจฐานราก พี่น้องประชาชนคนไทยให้สามารถก้าวผ่านวิกฤติ โควิด-19 ไปได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ฐานรากของประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป”


นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับมอบหมายให้ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการให้มีความเข้มแข็งเพื่อเป็นฟันเฟืองและกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์เป็นหนึ่งในธุรกิจบริการที่กรมได้ดำเนินการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพมาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 โดยนำธุรกิจแฟรนไชส์มาเป็นทางเลือกในการสร้างอาชีพสร้างรายได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างอาชีพแก่ผู้ว่างงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และสร้างโอกาสการลงทุนให้กับผู้ที่ต้องการมีธุรกิจของตนเอง โดยมีหน่วยงานพันธมิตรในการบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์กับกรมฯเป็นอย่างดีได้แก่ สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนต์ เและสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชน