นายกฯ สั่งเร่งมาตรการช่วย SMEs ออมสิน อนุมัติสินเชื่อกว่า 4 แสนล้าน

นายกฯ สั่งเร่งมาตรการช่วย SMEs ออมสิน อนุมัติสินเชื่อกว่า 4 แสนล้าน

  • 0 ตอบ
  • 68 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ สั่งเร่งมาตรการทางการเงินช่วย SMEs และผู้มีรายได้น้อย ออมสินลุย 5 มาตรการช่วยธุรกิจฝ่าโควิด-19 อนุมัติสินเชื่อกว่า 4 แสนล้าน คาดโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของไทยจะกลับมาคึกคักตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

เมื่อวันที่ 9 ตค.64 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ รายย่อยและประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไควิด-19 จากที่ได้ให้สถาบันทางการเงินของรัฐ ออกมาตรการสินเชื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ เพื่อรักษาการจ้างงาน บรรเทาภาระหนี้สินประชาชน ซึ่งผลการดำเนินการมาตรการเป็นไปอย่างน่าพึงพอใจ โดยธนาคารออมสิน ได้รายงานผลการดำเนินมาตรการฯ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการภายใต้ 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1. มาตรการเติมเม็ดเงิน เสริมสภาพคล่อง 2. มาตรการพักชำระหนี้ และชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย 3. มาตรการสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินในระบบที่มีต้นทุนต่ำลงและเป็นธรรม 4. มาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า 5. มาตรการฟื้นฟู-สร้างงานสร้างอาชีพ รายละเอียด มีดังนี้

1. มาตรการเติมเม็ดเงิน เสริมสภาพคล่อง ได้แก่ -การออกสินเชื่อประชาชนรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย อาทิ สินเชื่อเสริมพลังฐานราก สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 สินเชื่อผู้มีรายได้อิสระ สินเชื่อผู้มีรายได้ประจำ สินเชื่อบ้านและรีไฟแนนซ์



-การออกสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ SMEs เน้นช่วยเหลือกิจการร้านอาหาร โรงแรม และผู้ประกอบการท่องเที่ยว อาทิ Soft Loan เพื่อ SMEs ท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องสินเชื่อ “อิ่มใจ” สำหรับธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม สินเชื่อ SMEs “มีที่ มีเงิน” สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธุรกิจบันเทิง ขนส่งค้าปลีก ฯลฯ

นายธนกร กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2563 – 2564 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อเติมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้วจำนวน 438,500 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อโครงการพิเศษเพื่อช่วยเหลือ เยียวยาจากเหตุโควิด-19 จำนวน 213,000 ล้านบาท มีผู้ได้รับสินเชื่อ รวมทั้งสิ้น 4.1 ล้านราย โดย 3.3 ล้านรายเป็นลูกค้าสินเชื่อโครงการพิเศษเพื่อช่วยเหลือเยียวยา ลูกค้ารายย่อย และผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ช่วยให้ประชาชนจำนวนกว่า 2.5 ล้านราย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ จากเดิมที่คนกลุ่มนี้ไม่สามารถใช้สินเชื่อสถาบันการเงินได้ เนื่องจากไม่เคยมีเครดิตประวัติทางการเงิน หรือมีประวัติแต่มีเครดิตต่ำกว่าเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อโดยปกติทั่วไป

ADVERTISEMENT


2.มาตรการพักชำระหนี้ และชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย สำหรับลูกหนี้กลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา ได้แก่

-ลูกค้ารายย่อย ให้พักเงินต้นและดอกเบี้ย สูงสุด 6 เดือน

-ธุรกิจ SMEs ที่ถูกปิดกิจการตามมาตรการฯ ให้พักเงินต้นและดอกเบี้ย สูงสุด 2 เดือน

-ธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ต เกสต์เฮาส์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ ให้พักเงินต้นและดอกเบี้ย สูงสุด 6 เดือน

รัฐมนตรีช่วยคลัง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่นนทบุรี
ธปท. เตือนประชาชน แอบอ้างชื่อ ธปท. ส่ง SMS
-ธุรกิจ SMEs อื่นๆ / ลูกค้าสินเชื่อบ้าน / ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ให้พักเงินต้น สูงสุด 12 เดือน

ป้องกันไม่ให้ลูกหนี้จำนวน 3.4 ล้านราย กลายเป็น NPLs รวมวงเงินหนี้ จำนวน 1.5 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ยังชะลอการดำเนินการทางกฎหมายลูกหนี้ที่เป็น NPLs แล้วเนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 จนถึงสิ้นปี 2564 เพื่อช่วยลดภาระความกังวลเรื่องคดีความ ผ่อนปรนภาระหนี้ให้ลูกหนี้ทุกรายโดยอัตโนมัติ และให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ผ่อนปรนตามศักยภาพตามความสามารถในการชำระของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม

3. มาตรการสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินในระบบที่มีต้นทุนต่ำลงและเป็นธรรม อาทิ

-การเข้าทำธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ได้รับความนิยมในกลุ่มลูกค้ารายย่อยและผู้มีรายได้น้อย สามารถลดโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยตลาดสินเชื่อกลุ่มนี้จาก 24-28% ลงมาอยู่ที่ 16-18% สร้างโอกาสลดภาระการผ่อนชำระของผู้ที่ใช้สินเชื่อประเภทนี้อยู่แล้ว จำนวนกว่า 3.5 ล้านราย ให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนใช้จ่ายในครอบครัวมากขึ้น

-การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน เพื่อช่วยเหลือให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ขาดรายได้โดยพิจารณาจากที่ดินซึ่งเป็นหลักประกัน (Collateral Based) ทั้งที่เป็นสินเชื่อใหม่ และที่กู้เพื่อนำไปไถ่ถอน

-การขายฝากที่คิดดอกเบี้ยสูง และสัญญาไม่เป็นธรรม ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้เป็นเม็ดเงินรวม 16,147 ล้านบาท

4. มาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า อาทิ การจัดทำโครงการออมสินห่วงใยส่งกำลังใจให้สังคม เช่น การจัดตั้งศูนย์พักคอย กทม. การตั้งทีมไรเดอร์ออมสินช่วย สปสช. ส่งยาแก่ผู้ป่วย การบริจาคทรัพย์สินให้ใช้เป็นสถานที่กักตัว รวมถึงการเปิด facebook เพจ “ออมสินห่วงใย” รับเรื่องช่วยเหลือประชาชน

5. มาตรการฟื้นฟู-สร้างงานสร้างอาชีพ จัดทำโครงการเสริมทักษะงานช่าง และการอบรมวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ตกงาน ถูกเลิกจ้าง อาทิ โครงการออมสินอาชีวะ สร้างอาชีพสู่ชุมชน โครงการครัวชุมชนสาหรับออมสิน โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น

5 มาตรการของ ธนาคารออมสิน เป็นมาตรการด้านการเงินตามการผลักดันของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ต้องการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของรัฐบาล ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เป็นรัฐกลไกในการเพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ เพื่อรักษาการจ้างงาน ประคับประคองกิจการให้เดินหน้าต่อไป คาดการณ์ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะออกมาเพิ่มเติม จะยิ่งส่งให้โมเม้นตัมทางเศรษฐกิจของไทยกลับมาคึกคักตั้งแต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จนถึงต้นปีหน้าด้วย