‘ธีรนันท์ ศรีหงส์’ชี้ Tech Company ไทย เกิดยาก

‘ธีรนันท์ ศรีหงส์’ชี้ Tech Company ไทย เกิดยาก

  • 0 ตอบ
  • 60 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


 บิ๊กเซลาร์เผย การสร้าง Tech Company ในไทยเกิดยาก เหตุระบบนิเวศน์ไม่เอื้อ ขาดโอกาสดึงทุนต่างประเทศสร้างนวัตกรรม จี้รัฐปลดล็อก Digital ID แจ้งเกิด สตาร์ทอัพใหม่ๆ

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้บริบทโลกเปลี่ยนไป จึงเป็นความท้าทายต่อการทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจดั้งเดิมที่จะถูกดีสรัปไปโดยปริยาย เห็นได้จากการปรับตัวครั้งใหญ่ของกลุ่มธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)ที่ปรับตัวจากรูปแบบธนาคารดั้งเดิมมาเป็นบริษัทเทคโนโลยี หรือ เทคคัมพานี ภายใต้ SCBx

 

“ฐานเศรษฐกิจ” ได้รับเกียรติจากนายธีรนันนท์ ศรีหงส์ อดีต 1 ใน 4 ขุนพลค่ายรวงข้าว ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป(KBTG) มาสะท้อนมุมมองในฐานะเทค คัมพานี และความท้าทายใหม่ๆของไทย หลังตัดสินใจก้าวออกจากวงการแบงก์เข้าสู่วงการเทคโนโลยีเมื่อ 4 ปีก่อน

 

นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซลาร์ คอนซัลติ้ง จำกัดเปิดเผยว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า ภาคธนาคารไทยได้เข้ามาสร้างเทคคัมพานี (Tech Company) เองมากกว่าการเกิดขึ้นของฟินเทคที่เกิดจากรายเล็ก ซึ่งเป็นสถานการณ์ทั่วโลกที่องค์กรใหญ่จะทำเองมากขึ้น เพราะวิธีการทำงานที่สามารถเรียนรู้กันได้ แต่ส่วนตัวมองว่า เทคคัมพานีกลุ่มธนาคารยังช้า เพราะ ฟินเทค สตาร์ทอัพในไทยยังไม่เกิด ทำให้แรงผลักให้ธนาคารใหญ่วิ่งไม่เร็วเท่าที่ควร

นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซลาร์ คอนซัลติ้ง จำกัด
นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซลาร์ คอนซัลติ้ง จำกัด


“การสร้างเทคคัมพานียังมีปัญหาระบบนิเวศน์ (ecosystem) อีกหลายเรื่องที่จะต้องแก้อีกมาก จึงยังไม่ค่อยเห็นเทคคัมพานีใหญ่ในโลกเข้ามาตั้งสาขาในไทย เพื่อทำงานด้านนวัตกรรมใหม่ๆ เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ที่บรรยากาศเอื้อมากกว่า หน่วยงานกำกับเข้าใจและให้การสนับสนุน รวมทั้งรัฐบาลเขากล้าให้แรงจูงใจด้วย” นายธีรนันท์ กล่าว

 

สำหรับบทบาทของรัฐบาลไทย ถ้าจะสร้างให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ)เทคโนโลยีแล้ว ประการแรกต้องเลือกก่อนว่า จะเป็นฮับด้านไหน เช่น ถ้าพูดถึง Biotech Food หรือ Agri ก็เห็นด้วย เพราะไทยมีฐานอยู่แล้วและใกล้กับสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เกิด แต่ไทยยังไม่เคยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Center) เหมือนสิงคโปร์ที่มีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยมากกว่า

 

ประการที่สองต้องดู ecosystem ทั้งระบบ เช่น การดึงดูด “ทุน” ขณะนี้กฎหมายไทยยังเป็นอุปสรรค เพราะกฎหมายที่มีอยู่เน้นโปรโมทเฉพาะ Venture Capital หรือ VC ที่ลงทุนเฉพาะบริษัทไทย ทำให้ “VC” ต่างประเทศไปที่อื่น หรือการดึงคนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีจริงๆ

 

“เชื่อว่า รัฐบาลได้ทำไประดับหนึ่งแล้ว แต่ขาดการสร้างระบบนิเวศน์และแรงจูงใจ และส่วนหนึ่ง วงวิชาการเมืองไทยเกี่ยวกับเทคโนโลยียังไม่คึกคักเท่าที่ควร เพราะคนที่เขาจะมาต้องการมีเพื่อนได้เรียนรู้ด้วย อันนี้ก็เป็นโจทย์ใหญ่เหมือนกัน” นายธีรนันท์ ระบุ

อีกเรื่องคือ “การลงทะเบียน” ที่ไทยยังขาดระบบให้เทคคัมพานีเกิดขึ้นได้ เช่น Digital ID ซึ่งสำคัญมากในการลงทะเบียนลูกค้า แต่ตอนนี้ยังไปไม่ถึงไหน ส่วนเรื่อง Digital ID ของประเทศ แม้จะมี NDID แต่เป็นการใช้ในภาคธนาคาร และค่าบริการค่อนข้างแพงสำหรับบุคคลอื่นที่จะเข้าไปใช้

 

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เทคคัมพานีใหม่ที่เกิดขึ้นมา เวลาจะลงทะเบียนลูกค้า ต้องมีภาระหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูล โดยเฉพาะฟินเทค ต้องมีกระบวนการทำความรู้จักกับลูกค้าหรือ KYC หรือ AML (ส่วนหนึ่งของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) ซึ่งต้นทุนสูง แต่หากมี Digital ID ที่ดีจะลดภาระของสตาร์ทอัพใหม่ๆ และเกิดได้ง่ายขึ้น

 

ส่วนฐานข้อมูลที่จะนำมาใช้วิเคราะห์นั้น ถ้าพูดถึงเรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ไทยก็ไม่ต่างจากทั่วโลก อย่างข้อมูลระบบธนาคารในอังกฤษ จะมีคอนเซ็ป Open Banking ซึ่งคนอื่นสามารถใช้ได้ ตราบใดที่ไม่ขัดกฎหมาย ทำให้เกิดสตาร์ทอัพด้าน Data Analytics หรือแม้แต่ข้อมูลในเครดิตบูโร ก็ยังติดข้อจำกัดสำหรับสตาร์ทอัพที่จะเข้าเป็นสมาชิก

 

สำหรับบางส่วนที่ทำไปแล้ว จะเห็นประโยชน์ชัดขึ้น เช่น ข้อมูล โรงพยาบาลภาครัฐ ทำเรื่องการแชร์ข้อมูลคนไข้ทำให้สามารถดึงข้อมูลคนไข้ไปให้โรงพยาบาลใหม่ให้เห็นข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งจะทำให้เกิดความคล่องตัว แนวโน้มจะค่อยๆ เกิดเป็นหย่อมๆ ขึ้นอยู่กับกระทรวงไหนตื่นตัว หรือกรมสรรพากรก้าวเข้าสู่ดิจิทัลได้เร็ว

 

อย่างระบบ “พร้อมเพย์” เกิดขึ้นทำให้ฟินเทคด้านการชำระเงินหาย ไม่มีช่องให้เกิด เพราะธนาคารให้บริการ โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม แต่เชื่อว่า ฟินเทคกับกลุ่มธนาคารจะอยู่ร่วมกัน เพราะธนาคารเองยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ทำให้ตัวเองไม่สามารถก้าวข้ามหรือเดินได้เร็ว แต่บางพื้นที่ธนาคารจะกลับมายึดพื้นที่คืน เช่น กรณีของ SCBx

 

ในแง่ของนักพัฒนาเทคโนโลยีเทียบกับทั่วโลก เมืองไทยยังขาดหนักกว่าอีกมาก ไม่ว่า Data Analytics, Data Information หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Block Chain Developer ก็มีน้อย และการปั้นคนออกมาแต่ละปีก็น้อย ขณะเดียวกันยังไม่สามารถดึงคนต่างชาติเข้ามานั่งทำงานในไทย

 

 

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,720 วันที่ 7 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564