อาหาร-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ “ไทยเบฟ” ท้าชิงรายไดัขึ้นเบอร์ 1

อาหาร-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ “ไทยเบฟ” ท้าชิงรายไดัขึ้นเบอร์ 1

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Shopd2

  • *****
  • 2300
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


ภารกิจท้าชิงเบอร์ 1 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจร้านอาหาร "ไทยเบฟ" ต้องท้าชนทั้งเดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป เอ็มเค เรสโตรองส์ ขณะที่เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ได้เวลาใช้ประโยชน์จากฐานผลิตที่มี สร้างความได้เปรียบด้านต้นทุน เพิ่มขีดแข่งขัน ต่อกรคู่แข่งในตลาดที่ห้ำหั่นดุเดือด!

“ไทยเบฟเวอเรจ” เป็นยักษ์ใหญ่อาหารและเครื่องดื่มในภูมิภาคอาเซียน และมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เก็ตแคป) เทียบชั้นธุรกิจเครื่องดื่มชั้นนำของเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น อาซาฮี กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, คิริน โฮลดิ้งส์ จากญี่ปุ่น หรือ  Kweichow Moutai และ Yilli Group จากประเทศจีน 

ทั้งนี้ จุดแข็งของไทยเบฟ คือการมีพอร์ตโฟลิโอเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งเหล้า เบียร์ ที่แกร่งมาก และทำรายได้มหาศาล ปี 2563 สัดส่วน 88% ขณะที่ “เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์”

และ “อาหาร” ยังทำรายได้รวมกว่า 20,000 ล้านบาท สัดส่วนเพียง 8% เท่านั้น ที่หนักกว่ารายได้คือกลุ่มอาหารยังเผชิญภาวะ “ขาดทุน” ส่วนเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์พ้นขาดทุนไม่ได้ และปี 2563 ทำกำไรหลัก “ร้อยล้านบาท” ห่างชั้นเหล้าที่โกยกำไรแต่ละปีหลัก “หมื่นล้าน” เบียร์หลัก “พันล้าน” 

Passion 2025 ไทยเบฟ ต้องการเป็นผู้นำที่เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนในอาเซียน 2 เสาหลักทั้งอาหารและเครื่องดื่ม มีภารกิจไม่ต่างกัน  โดย นงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า เป้าหมายในปี 2567 ตามแพชชั่น 2025 ต้องการผลักดันธุรกิจอาหารให้เป็นสุดยอดแบรนด์ที่อยู่ในใจของผู้บริโภค หรือ Most Admired Brand พร้อมกับเป็นองค์กรธุรกิจอาหารที่ผู้บริโภครัก 

อาหาร-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ “ไทยเบฟ” ท้าชิงรายไดัขึ้นเบอร์ 1

มากกว่านั้นคือการผลักดันรายได้ให้เป็น “ผู้นำตลาด” ในหมวดธุรกิจอาหาร จากปัจจุบันเป็น Top 3 ซึ่งหากพิจารณาบิ๊กเนมในหมวดนี้ จะมี “ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป” ที่มีร้านอาหารนับ “พันสาขา” ตามด้วย “เอ็มเค โรสโตรองต์ กรุ๊ป” ทั้ง 2 บริษัททำรายได้หลัก “หมื่นล้านบาท” และ “กำไร” หลัก “พันล้านบาท” 

ภารกิจพิชิตเป้าหมาย นงนุช ตีโจทย์สำคัญคือต้องเพิ่มการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย(Reach) ด้วยการขยายสาขา แต่รูปแบบจะเปลี่ยนจากเดิม เพราะโควิด-19 และมาตรการปิดร้านอาหารในห้างเป็นบทเรียนสำคัญทำให้ปรับตัว เปิดสาขานอกห้างค้าปลีก ที่ผ่านมาบริษัทเปิดร้านอาหาร 24 สาขา ราว 90% อยู่นอกห้าง และศึกษาโมเดลเปิดร้านในสถานีบริการน้ำมัน(ปั๊ม) และร้านเดี่ยวที่เอกเทศมากขึ้น 

นอกจากนี้ การเปิดร้านจะไม่เน้นลงทุนหนักๆอีกต่อไป ต้องเป็น Light Model หรือใช้วิชาตัวเบามากขึ้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น ลดการแบกภาระต้นทุนการสร้างร้าน ต้นทุนคงที่ค่าจากเช่าร้าน ค่าจ้างพนักงาน 

“อนาคต 2-3 ปีข้างหน้า เรายังขยายสาขา แต่ต้องถูกโมเดล เป็นไลท์โมเดลด้วย จะลงทุนหนักๆเหมือนเดิมไม่ได้” 

โควิดยังปลดล็อกโอกาสใหม่ๆ ที่เคยมองข้ามทั้งเดลิเวอรี่ การซื้อกลับบ้าน การลุยรถทรัคเสิร์ฟอาหารและแบรนด์ถึงเป้าหมาย จากนี้จะรุกหนักรับทิศทางเดลิเวอรี่ 5 ปีโตเฉลี่ย 29% 

พอร์ตโฟลอิอาหารไทยเบฟมี 23 แบรนด์ ร้าน 673 สาขา และ 3 กลุ่มสำคัญรุกหนักคือ 1.แฟรนไชส์ที่ไม่ใช่แบรนด์ตนเอง(เคเอฟซี)เบ่งพอร์ตรายได้และกำไรให้ใหญ่ขึ้น 2.แบรนด์ตัวเองที่ขยายแฟรนไชส์ได้จะลุยต่าางประเทศเพิ่มกำไร และ3.แบรนด์ที่ยังไม่แกร่ง จะผลักดันให้โตเหมือน 2 กลุ่มแรก   

อาหาร-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ “ไทยเบฟ” ท้าชิงรายไดัขึ้นเบอร์ 1

ด้าน โฆษิต  สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ประเทศไทย) ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มบริหารช่องทางการจำหน่าย ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) ย้ำภาพธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ บริษัทมีโรงงานผลิตสินค้าครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย ยิ่งกว่านั้นเป็นหนึ่งใน “ยักษ์ใหญ่” หมวดนี้ด้วย 

หลังโควิดคลี่คลาย ภารกิจสำคัญไม่ใช่ขยายการลงทุน แต่จะใช้กำลังการผลิตสินค้าให้เต็มประสิทธิภาพเพื่อสร้างการเติบโตของยอดขาย และจะผนึกกำลังกับธุรกิจอาหาร ในการสร้างแบรนด์สื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการเฉพาะหรือเพอร์ซันนอลไลซ์มากขึ้น

“โจทย์หลังการฟื้นตัวจากโควิด เราจะเร่งประสิทธิภาพ ใช้ฐานการผลิตสินค้าทั้งในและต่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เรารู้ว่าการส่งสินค้า ต้นทุนสุดท้ายที่ถึงมือผู้บริโภคเป็นต้นทุนแพงสุด เราจึงต้องบริหารจัดการซัพพลายเชน การมีโรงงานทั่วไทย ทำให้ลดการเดินทางขนส่ง จึงสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนเพิ่มขีดการแข่งขัน”