ม.หอการค้าไทย เผย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ก.ย.64

ม.หอการค้าไทย เผย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ก.ย.64

  • 0 ตอบ
  • 62 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kaidee20

  • *****
  • 2826
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ม.หอการค้าไทย เผย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ก.ย.64 ปรับตัวดีขึ้นในรอบ 7 เดือน จากการคลายล็อกดาวน์ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.ย.64 ยังลดลงต่ำต่อเนื่อง ปัจจัยจาก น้ำท่วม ราคาน้ำมัน และการเมือง

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากผลของการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2564 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน โดย ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม 35.5 ปรับตัวดีเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนสิงหาคม ที่อยู่ในระดับ 33.8 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม อยู่ที่ระดับ 37.8 เพิ่มจากเดือนที่ผ่านมา ที่อยู่ในระดับ 36.3 และ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 50.8 เพิ่มจากเดือนที่ผ่านมา ที่อยู่ในระดับ 48.6

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า เนื่องจากจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มากขึ้นและทั่วถึง รวมทั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัดที่ครอบคลุมขนาดเศรษฐกิจประมาณ 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศของไทย (จีดีพี) ส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวมากขึ้น จึงทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นทุกตัว และมหาวิทยาลัยหอการค้าก็มองว่ามุมมองผู้บริโภคน่าจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีปัจจัยมาแทรก



“ปัจจัยแทรก คือ 1.สถานการณ์น้ำท่วม ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นอุปสรรคต่อการหารายได้ของคนทั้งประเทศ และกังวลว่าจะเป็นสถานการณ์น้ำท่วมเหมือนในปี 2554 ส่วน 2.ราคาน้ำมันที่ทะลุเกิน 30 บาทต่อลิตร ทำให้คนกังวลว่าจะมีผลต่อดำรงชีวิต และค่าครองชีพ และ 3.สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่นิ่ง ทำให้ผู้ที่ตอบแบบสำรวจยังคงตอบในเชิงลบ โดยทั้ง 3 ปัจจัยเหล่านี้ยังเป็นตัวกดดันที่ทำให้ดัชนีเชื่อมั่นในอนาคตขยายตัวได้น้อย แม้ว่าฟื้นขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนถือว่าเริ่มเห็นสัญญาณบวก แต่ไม่ได้หมายความว่าการบริโภคจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วมากมายนัก” นายธนวรรธน์ กล่าว

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ด้านดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยประจำเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ระดับ 19.4 ลดลงจากในเดือนสิงหาคม 2564 ที่ระดับ 19.8 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 33 เดือน และปรับตัวลดลงในทุกภาค ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ที่ 18.9 ลดลงจากเดือน สิงหาคมที่อยู่ในระดับ 19.4 ภาคกลาง อยู่ที่ 20.3 ลดลงจากระดับ 20.8 ภาคตะวันออก อยู่ที่ 23.2 ลดลงจากระดับ 23.7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ 19.5 ลดลงจากระดับ 19.8 ภาคเหนือ อยู่ที่ 18.9 ลดลงจากระดับ 19.3 และภาคใต้ อยู่ที่ 16.5 ลดลงจากเดือนสิงหาคม ที่อยู่ในระดับ 16.9


นายธนวรรธน์ กล่าวว่า โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง มาจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศทั้งปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในหลาย ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตร และ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาค่าครองชีพ ราคาสินค้ายังทรงตัวในระดับสูง รวมถึง ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกชนิด

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ขณะที่ปัจจัยบวก เป็นเรื่องของการผ่อนคลายมาตรการในพื้นที่สีแดงเข้ม เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศเริ่มลดลง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% การส่งออกไทยเดือน สิงหาคม เพิ่มขึ้น 8.93% และราคาพืชผลเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ดังนี้ 1. รัฐบาลควรเร่งผ่อนคลายมาตรการให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้เหมือนเดิม หรือใกล้เคียงเดิม 2. เร่งจัดหาวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ามาใช้ในประเทศอย่างต่อเนื่อง และมีเพียงพอ 3. การออกมาตรการควบคุมหรือผ่อนคลายต่างๆ จากภาครัฐ ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนอย่างชัดเจนและทั่วถึง เพื่อลดความสับสนในการวางแผนล่วงหน้า 4. ออกมาตรการที่รัดกุม พร้อมรองรับกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาช่วยกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ 5. จัดเตรียมแผนการกักเก็บน้ำ และระบายน้ำให้สมดุล และสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนน้อยที่สุด

“สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนกันยายน 2564 ที่มีทิศทางสวนทางกันนั้นไม่ใช่เรื่องที่ปกติ เนื่องจากเป็นโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจที่มีการปรับตัวในครั้งนี้ ผู้บริโภคมีการรับรู้ก่อน ประชาชนจึงมีมุมมองในเชิงผ่อนคลาย ตอบสนองประเด็นของการคลายล็อกดาวน์ และสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสูงขึ้นในรอบ 7 เดือน ในทางกลับกัน มุมมองผู้ประกอบการไม่ได้คิดในทิศทางเดียวกัน จากปัญหาที่กำลังซื้อยังคงหดหายไปอย่างมาก และปัญหาสภาพคล่องที่ไม่เพียงพอ จึงออกอาการที่ปัจจัยเสี่ยงตัวเดิม ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยในทุกภาค ทุกจังหวัดยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และยังไม่คลาย” นายธนวรรธน์ กล่าว



นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ปัจจัยเรื่องโควิด-19นั้น ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการมองเช่นกันว่าเริ่มผ่อนคลาย ในขณะที่ผู้ประกอบการมองในส่วนว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ 1.สถานการณ์น้ำท่วม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าได้ยกระดับความเสียหาย เนื่องจากพื้นที่น้ำท่วมที่กว้างมากขึ้น และท่วมขังนานขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้ความเสียอยู่ที่ 1.5-2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ลดลงประมาณ 0.5-0.7%

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า 2. เรื่องราคาน้ำมัน แม้ว่ารับบาลจะตรึงราคาไว้ที่ 30 บาทต่อลิตรแล้ว แต่ก็ยังเป็นปัจจัยที่กวนใจผู้ประกอบการ ที่อาจจะส่งผลไปถึงราคาต้นทุนของวัตถุดิบ และ 3.เรื่องของสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลายสนิท โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ยังไม่มีทิศทางที่ลดลงอย่างชัดเจน ทำให้ กำลังซื้อซึมตัวลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการหอการค้าไทยที่ทำการสำรวจมา เสนอว่า ทำไมรัฐบาลไม่คลายล็อกดาวน์ให้มากกว่านี้ นักท่องเที่ยวยังไม่เข้ามาเต็มที่ ประชาชนก่อหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น กำลังซื้อยังหดหาย และสถานการณ์การจ้างงานยังไม่ดีขึ้น

“ดังนั้นแม้ว่าจะมีการคลายล็อกดาวน์บ้างแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำให้ผู้ประกอบการทุกจังหวัดและทุกภูมิภาค มีมุมมองในเชิงบวกได้ เพราะสถานการณ์เสี่ยงมันซึมลึกและกัดกร่อนอย่างต่อเนื่อง มาตรการเสริมสภาพคล่องยังไม่สามารถเข้าไปช่วยได้อย่างทั่วถึง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังไม่เพียงพอ ไม่มีมาตรการใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการกระตุ้นการใช้จ่ายที่มีความหวือหวา” นายธนวรรธน์ กล่าว

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องจับตาคือ การหาเสียง สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าการแข่งขันน่าจะดุเดือด แม้ไม่ทราบว่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจเท่าใด แต่เชื่อว่าการใช้เงินเงินในช่วงการหาเสียง น่าจะตกอยู่ที่ 2-3 หมื่นล้านบาท อาจจะช่วยผลักสถานการณ์เศรษฐกิจคึกคักได้บ้าง และ ถ้ารัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่ชัดเจน ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาอัดฉีดในระบบมากขึ้น เศรษฐกิจไทยปีนี้มีโอกาสจะโตได้ 1-1.5% แต่หากน้ำท่วมไม่คลี่คลาย การคลายล็อกดาวน์และการ เปิดประเทศไม่ต่อเนื่อง เศรษฐกิจอาจจะโตได้แค่ 0-1% ซึ่งต้องติดตามดูสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะมีการปรับ ประมาณการจีดีพีใหม่อีกครั้ง ในเดือนพฤศจิกายนนี้