อนาคตการเงินธนาคารไทย ขยายพรมแดนทางธุรกิจครบวงจร

อนาคตการเงินธนาคารไทย ขยายพรมแดนทางธุรกิจครบวงจร

  • 0 ตอบ
  • 60 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chanapot

  • *****
  • 3237
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




อนาคตธุรกิจการเงินการธนาคารไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จะมีการขยายพรมแดนทางธุรกิจออกไป พลวัตนี้ส่งผลบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและตลาดการเงิน เพิ่มบทบาทของอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้นกว่าเดิม อาจทำให้การผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจแข็งตัวขึ้น ฉะนั้นต้องส่งเสริมให้เกิดสภาวะการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรม และเปิดพื้นที่ให้รายเล็ก รายกลางสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ขณะที่สถาบันการเงินขนาดเล็ก ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อขนาดเล็ก กิจการแพลตฟอร์มขนาดเล็ก ต้องมีการปรับตัวให้อยู่รอด

หลังการปรับโครงสร้างใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ สู่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารขนาดใหญ่ของไทยอย่างน้อย 4 แห่ง มีความพร้อมสามารถเดินหน้าสู่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงินได้เช่นเดียวกัน โดยธุรกิจการให้บริการการเงินของธนาคารแบบดั้งเดิม traditional banking service จะลดบทบาทลงอย่างรวดเร็ว

ธนาคารใดที่มีการลงทุนในส่วนนี้ไว้มากเกินไปจะมีภาระต้นทุนสูงกว่าคู่แข่ง ขณะที่การให้บริการการเงินและปล่อยสินเชื่อแบบดิจิทัล (digital financial service) และธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม การลงทุนและการบริการทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่และเทคโนโลยีบล็อกเชน จะเป็นอนาคตของกลุ่มธุรกิจการเงิน

สิ่งนี้จะทำให้ราคาหุ้นของกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นจากการคาดการณ์การเติบโตของผลกำไรในอนาคตในระยะปานกลางและระยะยาว ส่วนในระยะสั้นนั้น การขยายตัวของสินเชื่อและปัญหาหนี้เสียยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ COVID-19


การขยับตัวของธนาคารขนาดใหญ่จะทำให้บรรดาธุรกิจบริการทางการการเงินขนาดย่อม ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ที่ไม่มีฐานลูกค้ากลุ่มเป้าหมายชัดเจนได้รับผลกระทบและต้องปรับตัว แม้การขยายตัวของการร่วมทุนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทำให้ภาคธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพิ่มความมั่งคั่งให้ผู้ถือหุ้น แต่อาจทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจ มีกลุ่มธุรกิจ too big to fail หรือใหญ่เกินกว่าที่จะปล่อยให้ล้มมากขึ้น อันนำมาสู่ความเสี่ยงของภาระต่อเงินสาธารณะในอนาคต หรืออาจทำให้เกิด “จริยวิบัติ” (moral hazard)

เวลาเราพูดถึงการทำหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นกรรมการบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือฝ่ายจัดการ ต้องทำหน้าที่อย่างรับผิดชอบ (fiduciary duty) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ (duty of loyalty) และทำหน้าที่ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ (duty of care) ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ไม่เฉพาะผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องทำรายการระหว่างกัน จึงทำให้ “กิจการ” มีความยั่งยืนในระยะยาว

การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา too big to fail หรือ moral hazard ต้องอาศัยกฎระเบียบที่ทันสมัย และการกำกับดูแลกิจการที่เหมาะสม โดยทำหน้าที่อย่างมืออาชีพ กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีการเงินและกลุ่มธุรกิจธนาคารมีการควบรวมจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น บริษัท Square กับบริษัท Afterpay หรือ Bill.com กับ Invoice2go หรือ U.S. Bank กับ PFM Asset Management เป็นต้น และต้องมีกฎระเบียบคอยกำกับไม่ให้มีส่วนแบ่งตลาดใหญ่มาก จนมีอำนาจเหนือตลาดได้

การเปลี่ยนผ่านจากยุคแอนะล็อกสู่ยุคดิจิทัลของภาคการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีแอนะล็อกเป็นตัวขับเคลื่อนในยุคอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารแบบเดิม เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ วิธีการทำธุรกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค วิถีชีวิตและวัฒนธรรม เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้สำเนาสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย และเข้าถึงได้ฟรีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เทคโนโลยีทำให้เกิดการเข้าถึงสินค้าและบริการมากมายได้ง่ายขึ้นในราคาที่ถูกลง ภาคธุรกิจการเงินการธนาคารจึงต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อบุคคลสู่บุคคล ธุรกิจอื่น ๆ สามารถขยายมาให้บริการทางการเงินได้ ทำให้บทบาทและธุรกิจของธนาคารแบบเดิมลดลงไปในอัตราเร่ง

การที่ผลกำไรของกลุ่มธุรกิจธนาคารยังดีอยู่ เป็นเพราะโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม ผลกำไรของกลุ่มธนาคารไม่ได้สะท้อนมาที่ราคาหุ้นธนาคารมากนักในช่วงที่ผ่านมาจากโครงสร้างองค์กรที่เป็นอุปสรรคต่อการปลดปล่อยมูลค่าทางธุรกิจให้สะท้อนมาที่ราคาหุ้น


การจัดโครงสร้างใหม่ของกลุ่มธุรกิจธนาคารและการเงิน รวมทั้งการขยายพรมแดนทางธุรกิจโดยอาศัยฐานลูกค้าที่มีอยู่ จะทำให้ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น และสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อการควบรวมของธนาคารขนาดเล็กอีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนี้ เราจะเห็นการหลอมรวมของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจสื่อสังคมออนไลน์ ธุรกิจค้าปลีกและเครือข่ายมากขึ้น องค์กรที่จะอยู่รอดได้จึงจำเป็นต้องมีการร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจข้ามอุตสาหกรรม หรือจำเป็นต้องทำธุรกิจแบบครบวงจรมากขึ้น ด้วยการผนวกรวมทั้งแนวตั้งและแนวนอน (verticle and horizontal integration)

จะเกิดนวัตกรรมมากขึ้นในภาคธุรกิจไทยจากการลงทุนในธุรกิจสตาร์ตอัพร่วมกันของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม แม้การผนวกรวมธุรกิจหรือกิจการทั้งแนวตั้งและแนวนอน จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยต่อธุรกิจข้ามชาติระดับภูมิภาค หรือระดับโลกได้ดีขึ้น เพิ่มบทบาทและการขยายกิจการของธุรกิจขนาดใหญ่ในเศรษฐกิจภูมิภาค ประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจดีขึ้น แต่อาจทำให้มิติความเป็นธรรมและการกระจายความมั่งคั่งและรายได้อ่อนแอลง และทำให้อำนาจผูกขาดในระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นได้

เมื่อมีการหลวมรวมของภาคเศรษฐกิจสำคัญและกิจการหลายอย่างเข้าด้วยกัน เช่น การหลอมรวมกิจการทางด้านโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารมวลชน มีการบูรณาการกันระหว่างธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมกับธุรกิจบริการทางการเงิน มีการทำงานแบบเครือข่ายเพิ่มขึ้นในภาคการผลิต ภาคบริการอย่างมากมาย อันเป็นผลจากเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงได้มากขึ้น เศรษฐกิจยุคดิจิทัลทำให้เกิดการทำงานแบบเครือข่าย เชื่อมโยงทุกอย่างเข้ากับโลกอินเทอร์เน็ต

ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิต หุ่นยนต์ เครื่องจักรอัตโนมัติ และการทำงานของมนุษย์ เครื่องจักรในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือสื่อสาร มือถือและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สามารถทำงานประสานกันแบบอย่างมีพลวัต (dynamic) มีการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร (M2M) และเครื่องจักรกับมนุษย์ (M2H) ก่อให้เกิดแพลตฟอร์ม หรือโครงสร้างพื้นฐานการทำงาน digital platform ได้ถูกพัฒนามากขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจสำคัญ

เมื่อเราต้องก้าวสู่ยุคใหม่ของ digital platform บุคลากรที่มีความสามารถทางด้าน digital ไม่ได้มีเยอะ workforce portfolio จะเปลี่ยนแปลงไป ต่อไปการหาคนจะเพิ่มความยากมากขึ้น ไม่ใช่คนเกิดน้อยลง แต่ความสามารถและคุณภาพของระบบการศึกษาไทยที่ผลิตคนออกมาไม่เข้ากับระบบการผลิต การบริหารในอนาคต การจ้างงานจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบไป เพื่อตอบสนองต่อการขาดแคลนแรงงานและทักษะในบางสาขา

เราอาจจะไม่เจอการจ้างงานแบบตลอดชีวิต หรือ performance time อีกต่อไป มันจะกลายเป็นจ้างงานแบบ copartner หรือ strategic partner ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราต้องใช้ digital เข้ามาช่วย ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน transformation และเราอาจต้องเปิดเสรีตลาดแรงงานวิชาชีพชั้นสูง เพื่อให้สามารถได้ผู้เชี่ยวชาญและมีความสามารถพิเศษเข้ามาทำงานในระบบเศรษฐกิจไทย แต่ต้องพัฒนากลไกและระบบในการถ่ายเทความรู้ความสามารถ รวมทั้งนวัตกรรมให้กับสถานประกอบการสัญชาติไทย เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในระยะยาว