ปลุกกระแส "ไม้ด่าง - บอนสี" ปั่นเงินล้าน "ล่อแมงเม่า"

ปลุกกระแส "ไม้ด่าง - บอนสี" ปั่นเงินล้าน "ล่อแมงเม่า"

  • 0 ตอบ
  • 49 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


รายการ “ถอนหมุดข่าว” ทาง NEWS1 โดย นพรัฐ พรวนสุข บก.ข่าวการเมืองและกระบวนการยุติธรรม เครือผู้จัดการ วันที่ 4 ต.ค.64 นำเสนอรายงานพิเศษ ปลุกกระแส ไม้ด่างบอนสี ปั่นเงินล้าน ล่อแมงเม่า

กรณีที่นายนิรินาทย์ เธียรวรโชค วัย 50 ปี ที่ซื้อต้นกล้วยด่างในราคา 10 ล้านบาท แล้วลงรูปเอาเงินสดไปซื้อจ่ายกันสดๆ ในโซเชียลมีเดีย. จนมีชาวเน็ตออกมาแสดงความเห็นว่า แพงเว่อร์ไปหรือไม่ ปั่นราคาสร้างกระแสหรือเปล่า

แต่ทางนายนิรินาทย์บอกว่า กล้วยด่างต้นนี้เป็นพันธุ์แดงอินโดฯ มีความพิเศษตรงที่ใบด่าง 3 ลายในต้นเดียว สามารถทำกำไรได้อีกในอนาคต สามารถขายต่อได้หน่อละ 2 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้มีคนจองแล้ว 2 ล้านบาท

จากนั้นก็ลามมาถึงการตั้งคำถามของกระแสนิยมเล่นบอนสีที่ถูกปั่นราคาขึ้นไปหลักแสนหลักล้านบาทเช่นกัน จนมีการแชร์บทความของ "ทนายแต๊ก เตือนไว้ให้คิด" ที่ยกตัวอย่างของการปั่นราคาแบบแชร์ลูกโซ่

นายเอ.กับนายบี. ลงหุ้นกันค้าขายสินค้าของใหม่หายาก จึงเลือกเอากล้วยด่างเป็นสินค้า ทั้งสองวางแผนการตลาด ดังนี้

เอกับบี.หาเงินสดๆมา10 ล้าน ให้เอ.เอามาแกล้งซื้อต้นกล้วยด่างของบี.จำนวน10 ล้านบาท ตกเย็นคืนเงินแก่เจ้าของไป...ต่อมา เอ. ขายหน่อกล้วยด่างที่จัดเตรียมไว้แก่เหยื่อจำนวนมากที่แห่กันมาซื้อแค่หน่อละ1,000 บาท เหยื่อหวังเอาไปเลี้ยงให้สวยงามแล้วขายต่อในราคานับล้าน

เอและบี. ขายหน่อกล้วยด่างหลายสาขา หลายท้องที่ หลายจังหวัด ได้ 200,000 หน่อ รวมเป็นเงิน 200,000,000 บาท (สองร้อยล้านบาทถ้วน) หักต้นทุนหน่อละ10บาท ได้กำไรเท่าไหร่

คิดดูกันเอาเอง10 ล้านบาทแรกเป็นแค่เหยื่อปลอม ยืมมาวันเดียว เอามาล่อ คืนไปแล้ว... หน่อกล้วยด่างก็แอบเพาะเลี้ยงไว้แล้ว

ระวัง แชร์ลูกโซ่ การหลอกล่อทางการตลาดที่ไม่ผิดกฎหมาย..ความโลภทำให้คนขาดสติ ความขาดเหตุผล ขาดสติ ทำให้เสียเงิน เสียเวลา’

จากกระแสดังกล่าว นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย (พท.) ออกมารับลูกทันที โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า

“อย่าเห่อบอนจนบ้าบอ! อย่าเห่อตามกระแสบ้าบอนสีให้มากนัก ที่แท้นักการตลาด (จีน) เขาเข้ามาปั่นราคาบอนสี เพราะเขาซื้อจากอเมริกา ซึ่งทำไร่บอนเป็นอุตสาหกรรม ดังภาพที่เห็น เมื่อราคาบอนสูง ต่อไปเขาทยอยส่งเข้ามา มีแต่รับทรัพย์ พอราคาบอนตก จะเอาจิ้มน้ำพริกก็ไม่ได้ เอามาทำเครื่องเรือนก็ไม่ได้ ลงทุนแล้วจม ให้ระวังหน่อย!”

เมื่อเจาะลึกตลาดบอนสีของไทยที่มีอยู่แบบปกติในตลาดไม้ประดับมานาน มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 50 บาทไปจนถึงหลักหมื่นแล้วแต่ความสวยงาม ขนาดของลำต้น และที่สำคัญคือกระแสนิยมต้องผลิตไม้สายพันธุ์ใหม่ออกมาเสมอ

การทำตลาดเพื่อจำหน่ายบอนสีให้เป็นที่นิยมของลูกค้า ต้องหมั่นพัฒนาพันธุ์ด้วยการนำพ่อแม่พันธุ์ใหม่ๆ มาผสมพันธุ์อยู่เสมอเพื่อให้เกิดไม้ใหม่ ยิ่งภายในสวนมีลูกไม้ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ จะช่วยทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกซื้อมากขึ้น

ดังนั้น การทำตลาดบอนสีให้ประสบผลสำเร็จและติดตลาด ผู้ปลูกต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาพันธุ์ หมั่นเรียนรู้และผสมพันธุ์ลูกไม้ต่างๆ ตามจินตนาการของตัวเองอยู่เสมอ เมื่อได้ลูกไม้ใหม่ออกมาก็จะนำไม้ไปตั้งชื่อที่สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย

นั่นคือตลาดบอนสีก่อนเกิดกระแสการปั่นราคาในสื่อโซเชียลมีเดียยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทาง การสร้างตลาดที่ไปได้อย่างกว้างขวางมาก เพราะผู้ที่สนใจในบอนสีก็จะเข้ามาชมและเลือกซื้อบอนสีตามเพจต่างๆ ที่เกี่ยวกับบอนสีโดยเฉพาะ จึงทำให้ลูกค้าที่อยู่ห่างไกลก็สามารถเลือกซื้อไม้ในแบบที่ชอบ โดยทางสวนจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ถึงหน้าบ้านของลูกค้าได้อย่างง่ายดาย