“คมนาคม” ออกอนุบัญญัติตามกฎกระทรวงรถยนต์รับจ้างผ่านอิเล็กทรอนิกส์แล้ว

“คมนาคม” ออกอนุบัญญัติตามกฎกระทรวงรถยนต์รับจ้างผ่านอิเล็กทรอนิกส์แล้ว

  • 0 ตอบ
  • 58 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Prichas

  • *****
  • 2104
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




“ศักดิ์สยาม” เผย ออกอนุบัญญัติตามกฎกระทรวงรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 ครบทุกฉบับแล้ว พร้อมให้ผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ยื่นขอรับรองตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

วันนี้ (1 ต.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้มีกฎกระทรวงรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 23 มิถุนายน 2564 โดยกำหนดให้มีรถยนต์รับจ้างทางเลือกผ่านแอพพลิเคชั่นขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทาง เพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับประชาชน และเพื่อให้สามารถควบคุม กำกับ ดูแลการให้บริการในลักษณะดังกล่าวให้เกิดความปลอดภัยและเป็นธรรม บัดนี้ กระทรวงคมนาคมได้ออกประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและค่าบริการอื่นสำหรับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 เมื่อ 29 กันยายน 2564 และกรมการขนส่งทางบกได้ออกอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องอีกจำนวน 4 ฉบับ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ประกอบด้วย ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของระบบอิเล็กทรอนิกส์ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองระบบอิเล็กทรอนิกส์และผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเครื่องหมายและการแสดงเครื่องหมายแสดงการเป็นรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการวัดกำลังของเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า และการวัดความสามารถในการขับเคลื่อนของรถที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 และระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการทางทะเบียนและภาษีสำหรับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า เนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดให้ระบบที่ใช้สำหรับรับงานจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ก่อนนำไปให้บริการประชาชน ดังนั้น ขั้นตอนถัดไปคือการเปิดให้ผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ยื่นขอรับรองระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับให้บริการรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งสามารถยื่นขอรับรองตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป โดยกรมการขนส่งทางบกจะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพิจารณา ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาต่าง ๆ เช่น ระบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความปลอดภัยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แสดงอัตราค่าโดยสารล่วงหน้าที่ชัดเจนโดยละเอียด จะต้องรองรับการเรียกรถแท็กซี่มิเตอร์ในระบบและให้ความสำคัญในลำดับแรก ส่งเสริมการใช้รถยนต์รับจ้างไฟฟ้า กำหนดให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการจากผู้ขับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ไม่เกิน 25% กรณีแท็กซี่มิเตอร์จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการจากผู้ขับรถ โดยผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีความมั่นคง เป็นมืออาชีพ เปิดกว้างรองรับธุรกิจ Start-up ส่งเสริมธุรกิจดิจิทัล เป็นต้น เมื่อผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกแล้ว จึงจะสามารถเปิดรับสมัครผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้าเป็นสมาชิกได้ ซึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขหนึ่งคนต่อรถหนึ่งคัน และผู้ขับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีใบอนุญาตขับรถสาธารณะที่ถูกต้อง ผ่านการสอบประวัติอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รถยนต์ที่ใช้จะต้องเป็นของตนเองมีอายุการใช้งานไม่เกิน 9 ปี มีหลักฐานการจัดให้มีประกันภัย และประกันภัยเพิ่มเติมตามกฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยฯ ด้วย รถที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะได้รับเครื่องหมาย รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับแสดงที่กระจกกันลมหน้าและกระจกกันลมด้านหลัง จึงจะสามารถออกให้บริการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

นายศักดิ์สยาม กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการผลักดันการให้บริการทางเลือกโดยรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะก่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวม สามารถที่จะมีทางเลือกในการเดินทางเพิ่มเติม มีรถยนต์หลากหลายขนาดให้ใช้บริการ อีกทั้งประชาชนยังสามารถประกอบอาชีพเสริมในการขับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์สอดคล้องตามแนวทาง Sharing Economy กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่เดิมก็ได้รับประโยชน์จากการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่ถูกเรียกเก็บส่วนแบ่งค่าโดยสาร สามารถบริหารจัดการเส้นทางการให้บริการในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งรายใหญ่ และ Start-up สามารถเข้าสู่ระบบได้ถูกต้องตามกฎหมาย ภาครัฐสามารถควบคุมกำกับดูแลการให้บริการของระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นธรรมต่อทั้งฝ่ายผู้ขับรถและผู้โดยสาร ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกันโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาบริการรถสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ เกิดความปลอดภัย สร้างการเติบโตในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อไป