สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดย สำนักกลยุทธ์และพัฒนากองทุน ร่วมกับ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรม WORKSHOP ประชุมเชิงปฏิบัติการ “
ระดมสมองในการพัฒนาโมเดลธุรกิจ (Business Model) ที่เหมาะสมสำหรับกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.)” กิจกรรมสำคัญภายใต้การศึกษาโครงการ “การศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ในการพัฒนา กลยุทธ์ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของ สกสว.” โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมให้ความรู้ ประกอบด้วย ผศ. ดร.คมน์ พันธรักษ์ และ ศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล จาก คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ พร้อมด้วย คุณปรวี หะรีเมา จากสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์
รศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์
โอกาสนี้ รศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ ที่ปรึกษาผู้อำนวยการ สกสว. กำกับดูแล และปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักกลยุทธ์และพัฒนากองทุน เปิดเผยข้อมูลว่า การระดุมทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของ สกสว. ดังที่มีการระบุไว้ใน กลยุทธ์ สกสว. พ.ศ. 2564-2566 (ฉบับทบทวน) ว่า “สกสว. ต้อง ระดมและร่วมลงทุนกับกองทุนและหน่วยงานอื่นเพื่อเพิ่มและกำกับทิศทางงบประมาณด้าน ววน. ของประเทศเพื่อเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการร่วมทุนด้าน ววน. หรือกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือดำเนินงาน ก่อให้เกิดการ ระดมทุนและเพิ่มการลงทุนด้าน ววน. โดยพิจารณาทิศทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร” การจัดงานในวันนี้ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆสำคัญ ที่จะนำไปสู่การออกแบบกลไกที่เป็นรูปธรรมของในการระดมทุนของ สกสว. ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรภายใน สกสว. เข้าร่วมให้ข้อมูลที่สำคัญ อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในภารกิจนี้ให้สำเร็จ
ผศ. ดร.คมน์ พันธรักษ์
ผศ. ดร.คมน์ พันธรักษ์
ด้าน ผศ. ดร.คมน์ พันธรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย “การศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ในการพัฒนา กลยุทธ์ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของ สกสว.” ได้ฉายภาพ “สถานการณ์ปัจจุบันของการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย” โดยระบุว่า
จากข้อมูลแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พศ.2563-2565 ฉบับปรับปรุง สำหรับปีงบประมาณ 2565 พบว่า ในปี พ.ศ.2562 มีจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยอยู่ที่ 193,072 ล้านบาท โดยสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาระหว่างภาคเอกชนกับ ภาคส่วนอื่น ๆ อยู่ที่ ร้อยละ 77 : 23 ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการลงทุนจากภาคเอกชนยังคงสูงกว่าทางภาครัฐอยู่มาก โดยในปี พ.ศ. 2570 มีการตั้งเป้าหมายว่า สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาระหว่างภาคเอกชนกับ ภาคส่วนอื่นๆ ต้องมาอยู่ที่ ร้อยละ 70 : 30
โดยประเด็นท้าทายหลักของเป้าหมายด้านการวิจัยและพัฒนาในปี พ.ศ. 2570 คือ การเพิ่มจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของภาคส่วนอื่น ๆ (โดยเฉพาะภาครัฐ) จาก 43,828 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2562 เป็น 138,640 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2570 คิดเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.48 ต่อปี (การขยายตัวในปี พ.ศ. 2549-2562 อยู่ที่ร้อยละ 10.82 ต่อปี) รวมไปถึงการเพิ่มบุคลากร (คนต่อปี) ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการวิจัยและพัฒนา
อย่างไรก็ตามหลังจากร่วมกันระดมสมองของ ผู้บริหารและบุคลากร สกสว. ในวันนี้ โดยวิเคราะห์สภาพองค์กรตามหลัก SWOT Analysis เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ตลอดจนการใช้เครื่องมือ TOWS Matrix ออกแบบกลยุทธ์ใหม่จากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สอดคล้องกับแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบกลไกการระดมทุนของกองทุน ววน.อย่างมีกลยุทธ์และศักยภาพสูงต่อไป