SACIT เฟ้นหาสุดยอดช่างฝีมือ เพื่อเชิดชูคุณค่ารักษา สืบสาน

SACIT เฟ้นหาสุดยอดช่างฝีมือ เพื่อเชิดชูคุณค่ารักษา สืบสาน

  • 0 ตอบ
  • 76 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




SACIT เฟ้นหาช่างฝีมือ เชิดชูสุดยอดบุคคลระดับบรมครู ผู้มีทักษะฝีมือเชิงช่าง อนุรักษ์และสืบสาน รักษาคุณค่าภูมิปัญญาดั้งเดิมในงานศิลปหัตถกรรมหลายสาขา เชิดชูเกียรติ เป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ประจำปี 64

นายพรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถรรมกรรมไทย (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อจาก ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เดิม เพื่อให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยของประเทศทั้งระบบอย่างแท้จริง และด้วยบทบาทภารกิจหนึ่งที่สำคัญของ SACIT ยังคงให้ความสำคัญยิ่ง ในบทบาทการส่งเสริมคุณค่า บุคคลผู้อนุรักษ์ สืบสานเพื่อรักษาคุณค่าภูมิปัญญาดั้งเดิมในศาสตร์และศิลป์เชิงช่าง เพื่อให้ดำรงคงอยู่ส่งต่อไปถึงคนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่า และเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการช่วยกันอนุรักษ์ รักษา สืบสานต่อไป และในขณะเดียวกัน ก็มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดผสมผสานผ่านการพัฒนาและสร้างสรรค์สู่ความร่วมสมัย และสมัยนิยม อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาสทางการตลาดในเชิงพาณิชย์ต่อไป และการดำเนินกิจกรรมเชิดชูเกียรติบุคคลระดับช่างฝีมือเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” จึงนับเป็นการดำเนินงานที่ SACIT มุ่งมั่นให้ความสำคัญ และจะดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในปี 2564 นี้ SACIT ได้ดำเนินการคัดสรรบุคคลผู้ที่ถือเป็นสุดยอดฝีมือเชิงช่าง และร่วมเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับบุคคลระดับบรมครูผู้สืบสานเอกลักษณ์ศิลปหัตถกรรมไทย ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” และ “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และบุคคลผู้สืบทอดงานศิลปหัตถกรรมจากรุ่นบรรพบุรุษ พัฒนาสร้างสรรค์ต่อยอดสืบต่อไปเพื่อเชิดชูให้เป็น “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ประจำปี 2564 โดยเฉพาะบุคคลเป็นได้รับการเชิดชูเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” จำนวน 5 คน ในปีนี้เป็นที่น่าภาคภูมิใจยิ่งนัก ทุกท่านยังคงยึดมั่นรักษาภูมิปัญญาในงานหัตถกรรมดั้งเดิมที่นับวันใกล้จะสูญหาย สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นสะท้อนถึงทักษะฝีมืออันล้ำเลิศชั้นครู และมีจิตวิญญาณในความเป็นครูผู้ให้ที่ต้องการจะถ่ายทอดส่งต่อสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน คนรุ่นหลัง ให้ช่วยกันสืบสานรักษาต่อไป

 โดย 5 สุดยอดระดับบรมครู “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ดังประกอบด้วย ครูเฉลิม พึ่งแตง ผลงาน “ปูนปั้นสด” จังหวัดเพชรบุรี ผู้ที่ถือได้ว่าเป็นสุดยอดช่างปูนปั้นสดชั้นบรมครูแห่งเมืองเพชรบุรี สร้างผลงานปั้นปูนสดแบบโบราณที่มีความสามารถครบบริบูรณ์ สั่งสมประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมาเกือบ 60 ปี ฝากผลงานที่วิจิตรงดงามไว้บนผืนแผ่นดินไทยผ่านวัดวาอารามหลายแห่งนับร้อยผลงาน ครูจรัญ ขัดมัน ผลงาน “เครื่องเงิน” จังหวัดน่าน ผู้รักษาสืบสาน สร้างสรรค์งานเครื่องเงินเอกลักษณ์ของจังหวัดน่านที่มีมาแต่โบราณ สั่งสมทักษะฝีมือ และประสบการณ์มากว่า 53 ปี และยังคงยึดมั่นอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำเครื่องเงินแบบโบราณไว้ในทุกขั้นตอน เพื่อรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย ครูสิริวัฑน์ เธียรปัญญา ผลงาน “ผ้าปัก” จังหวัดเชียงราย ผู้สร้างสรรค์ศิลปะลวดลายบนผืนผ้าทอพื้นถิ่น เกิดเป็นผลงาน “ผ้าปัก” ในมิติใหม่ที่ล้ำเลิศ ด้วยทักษะฝีมือการเขียนลายที่ละเอียดอ่อนช้อย และการปักด้วยเทคนิคการปักลูกโซ่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่งดงาม ผสมผสานบนผืนผ้าหลากหลายวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว และเป็นแบบอย่างของครูผู้ถ่ายทอดความรู้อย่างไม่หวงวิชา ครูเพชร วิริยะ ผลงานแกะสลักไม้ จังหวัดเชียงใหม่ สล่าแกะสลักไม้ฝีมือชั้นบรมครูแห่งดินแดนล้านนาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ถ่ายทอดอารมณ์งานแกะสลักไม้รูปช้างให้เสมือนหนึ่งมีชีวิต เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการอนุรักษ์ช้างไทย เป็นที่รู้จักยอมรับในฝีมือทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ ครูจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์ ผลงาน “ประดับมุก” จังหวัดนครปฐม ผู้มีฝีมือครบเครื่องสร้างงานประดับมุก หัตถศิลป์ชั้นสูง ตามแบบอย่างเชิงช่างชั้นสูงโบราณที่มีแนวโน้มใกล้สูญหาย เหลือช่างฝีมืออยู่น้อยราย สร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับมุกด้วยใจรักและความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ สืบสานให้งานหัตถศิลป์ชั้นสูง ของไทยคงอยู่โดยไม่สูญหายไปตามกาลเวลา 

สำหรับผู้ได้รับเชิดชูเป็น “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” ในปี 2564 นี้มีจำนวน 6 คน ที่ถือได้ว่า นอกจากจะเป็นผู้ที่มีทักษะฝีมือเชิงช่างชั้นเลิศทั้งในงานเชิงอนุรักษ์และพัฒนาแล้ว ยังคงมุ่งมั่นสืบสานส่งต่อภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลังไว้อย่างน่าภาคภูมิใจ ดังประกอบด้วย นายวิษณุ ผดุงศิลป์ ผลงาน “หัวโขน” จังหวัดอ่างทอง ผู้สืบทอดการทำหัวโขน ตามแบบสกุลช่าง ผดุงศิลป์ จังหวัดอ่างทอง ที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างผลงานหัวโขนที่ตรงตามลักษณะขนบจารีตดั้งเดิม คงความเป็นเอกลักษณ์แบบโบราณในทุกขั้นตอนมาจนถึงปัจจุบัน นายเมี้ยน สิงห์ทะเล ผลงานเครื่องปั้นดินเผา จังหวัดนครราชสีมา ผู้คงภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่สืบทอดมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษนับร้อยปี ใช้ประสบการณ์พัฒนาสร้างผลงานที่มีความโดดเด่นด้วยสัญลักษณ์ เครื่องปั้นดินเผารูป “นกฮูก” ที่งดงามน่าประทับใจราวกับมีชีวิตด้วยเทคนิคและฝีมือการปั้นที่ล้ำเลิศ นายนิทัศน์ จันทร ผลงาน “ผ้าทอลาวครั่ง” จังหวัดอุทัยธานี บุคคลผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยความรู้และทักษะความชำนาญรอบตัวทั้งด้านการทอผ้า และการย้อมสีธรรมชาติแบบโบราณ สร้างสรรค์ผ้าทอตามแบบฉบับผ้าทอลาวครั่งที่ให้สีสันสันสวยวิจิตร คงคุณค่าและต่อยอดภูมิปัญญาผ้าทอลาวครั่งไว้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ นางสิริลักษณ์ ศรีทองคำ ผลงาน “เครื่องทองโบราณ” จังหวัดเพชรบุรี หนึ่งในช่างทองโบราณของเมืองเพชรบุรี ที่คงภูมิปัญญา “เครื่องทองโบราณ” จากรุ่นบรรพบุรุษ สกุลช่างเพชรบุรี ที่เลื่องชื่อ ด้วยฝีมือการทำงานทองด้วยมือแบบโบราณดั้งเดิม และคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ตามแบบสกุลช่างทองเพชรบุรี ที่นับวันจะหาช่างที่จะสืบสานงานทำมือทุกขั้นตอนได้น้อยลงแล้ว นางธัญพร ถนอมวรกุล ผลงาน “ผ้าเขียนเทียน” จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ที่มากด้วยภูมิปัญญาการทำ “ผ้าเขียนเทียน” บนผืนผ้าใยกัญชง ที่มีทั้งความรู้และความชำนาญทั้งการผลิตเส้นใยกัญชง จนถึงการทอเป็นผืนผ้า มีทักษะความชำนาญเป็นพิเศษ ในการเขียนเทียนด้วยมือด้วยน้ำเทียนที่ใช้ภูมิปัญญาผสมน้ำเทียนตามแบบฉบับชาวม้งที่ในปัจจุบันจะหาช่างฝีมือที่มีทักษะในการทำผ้าเขียนเทียนบนผืนผ้าใยกัญชงด้วยมือทั้งกระบวนการได้ยากมากแล้ว นางเจ๊ะนาตีป๊ะ มะหิและ ผลงาน “ผ้าปัก” จังหวัดนราธิวาส ผู้มีทักษะความชำนาญจากการปักลายบนผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม สู่การปักที่มีความละเอียดซับซ้อนอย่างการปักซอยแบบไทย สร้างสรรค์ พัฒนางานผ้าปักด้วยเทคนิคปักซอย พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เน้นสร้างสรรค์ลวดลายที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของป่าพรุและสัตว์ที่ใกล้สูญหายของจังหวัดนราธิวาสอย่างลาย “นกเงือก” เพื่อให้เป็นที่รู้จักได้มากยิ่งขึ้น 

ส่วนผู้ที่ได้รับเชิดชูเป็น “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ในปี 2564 นี้มีจำนวน 4 คน ที่นับเป็นบุคคลผู้ซึ่งสืบสาน รักษา ต่อยอด งานหัตถศิลป์ไทยด้วยใจที่มุ่งมั่นที่จะดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์งานที่ส่งต่อมาจากบรรพบุรุษหรือครูบาอาจารย์ ให้คงอยู่ต่อไป ดังประกอบด้วย นายอัตถสิทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ผลงาน “มีดเหล็กลาย” จังหวัดราชบุรี ทายาทผู้สืบสานตำนานมีดเหล็กลายช่างซุ่ย แห่งเมืองราชบุรี สืบสานวิธีการสร้างงาน “มีดเหล็กลาย” ภูมิปัญญาแห่งการสร้างศิลปะบนใบมีดแบบดั้งเดิมที่ใกล้สูญหายต่อจากบิดาไว้ทุกขั้นตอนอย่างน่าภาคภูมิใจ และพัฒนารูปแบบรูปทรงมีดให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้จนเป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้ที่นิยมและชื่นชอบทั้งคนไทย และต่างชาติ และยังคงไว้ซึ่งภูมิปัญญาแห่งการตีมีดเหล็กลายที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน นายวัชรพงษ์ ต้องรักชาติ ผลงาน “ผ้าทอล้านนา” จังหวัดเชียงใหม่ คนรุ่นใหม่ที่มีหัวใจรักงานผ้าทอ มีทักษะการทอผ้าในทุกเทคนิค ทั้งเทคนิคขิด จก ยกดอก ยกมุก และ มัดหมี่ โดยเฉพาะการทอผ้า “ตีนจก” ที่จกด้วยขนเม่นแบบโบราณ มุ่งมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยความมุมานะ เพื่อร่วมอนุรักษ์ และฟื้นฟูผ้าตีนจกไท-ยวน จากถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษชาวไท-ยวนที่ใกล้สูญหายสืบทอดให้คนรุ่นหลังต่อไป นางสุภาวดี อุดมเดชาเวทย์ ผลงาน “ผ้าทอลายยกมุก” จังหวัดนครพนม ผู้มีทักษะ ความชำนาญสืบสานการทอผ้าลายยกมุก เอกลักษณ์ผ้าทอลายโบราณท้องถิ่นจังหวัดนครพนม มรดกทางภูมิปัญญาที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม ไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลา สร้างสรรค์ผ้าทอลายยกมุกที่สวยสดงดงามตามเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้อย่างสมบูรณ์แบบ นายธนาธิป ลีธรรมวัฒน์กุล ผลงาน “สลักดุน” จังหวัดนครปฐม คนรุ่นใหม่วัยหนุ่มผู้มีใจรักในศิลปะแห่งการดุนลายโลหะ ด้วยการฝึกฝนเรียนรู้จากประสบการณ์จริงกับครูบาอาจารย์ในงานสลักดุนประจำท้องถิ่น ต่าง ๆ หลายท่าน จนมีทักษะความสามารถพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานสลักดุนแนวผสมผสานทั้งวัสดุและเทคนิคหลากหลายเข้าด้วยกัน เกิดเป็นผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นกลมกลืนในทุกมิติรวมกันอยู่ในชิ้นเดียวกันซึ่งไม่เหมือนใคร และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

“SACIT ขอทำหน้าที่เผยแพร่เรื่องราว “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” และ “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ที่ได้รับการเชิดชูทั้ง 15 คนนี้ให้เป็นที่รู้จัก รับรู้ต่อสาธารณะชนในวงกว้าง เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การสร้างการรับรู้ เรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และเป็นแนวทางให้เกิดการนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาต่อยอด ผสมผสานผ่านการพัฒนาและสร้างสรรค์สู่ความร่วมสมัย อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาสในเชิงพาณิชย์ต่อไป นายพรพล กล่าว