เวิลด์แบงก์ปรับลดจีดีพีปี 64 โต 1% แนะใช้เงินกู้ลงทุนเพิ่มศักยภาพหนุน ศก.โตยั่งยืน

เวิลด์แบงก์ปรับลดจีดีพีปี 64 โต 1% แนะใช้เงินกู้ลงทุนเพิ่มศักยภาพหนุน ศก.โตยั่งยืน

  • 0 ตอบ
  • 85 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าวว่า ธนาคารโลกได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือ 1% จากเดิมที่ระดับ 1.2% โดยมองว่าเศรษฐกิจจะใช้เวลายาวนานมากขึ้นในการกลับไปสู่ช่วงระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่เป็นการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกับการลงทุน และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งขณะนี้ยังมีมาตรการของภาครัฐเป็นตัวช่วยสนับสนุนหลักอยู่

"การท่องเที่ยวที่กลับมาช้าทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าตามไปด้วย โดยเราคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปีนี้จะอยู่ที่ 160,000 คน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เริ่มมีการกระจายวัคซีนมากขึ้นโดยเราคาดว่าในสิ้นปีนี้จะมีจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนประมาณ 60% และมีจำนวน 70%ในครึ่งแรกของปีหน้า จะทำให้สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ซึ่งเวิลด์แบงก์คาดการณ์ยอดนักท่องเที่ยวปีหน้าที่ 1.7 ล้านคน ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวช่วงก่อนโควิด-19 อยู่ที่ 40 ล้านคน"

สำหรับการขยายเพดานหนี้สาธารณะของรัฐเป็น 70% นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ เพื่อให้รัฐสามารถกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากขึ้น โดยไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังในระยะปานกลาง แต่สิ่งสำคัญคือ การใช้จ่ายเงินกู้ออกไปควรมีความโปร่งใส ใช้เยียวยาให้เข้าถึงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักอย่างชัดเจนขึ้น และควรมีการลงทุนในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและส่งเสริมให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย โดยนับจากสถานการณ์โควิด-19 จากการสำรวจพบว่ามีผู้มีรายได้ลดลงมาสู่ใต้เส้นความยากจนเพิ่มขึ้น 1.7 แสนราย

ส่วนภาคการส่งออกที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้นยังสามารถขยายตัวได้ดี แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่อาจจะต้องกลับมาเผชิญกับโควิด-19 อีกระลอก รวมถึงปัญหาคอขวดด้านการขนส่งมีผลต่อการขยายตัวของภาคการส่งออกในอนาคตได้

ด้านนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะมีการลดการทำ QE นั้น นายเกียรติพงศ์ มองว่า จาการสื่อสารมี่มีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงประสบการณ์ในอดีตที่เคยมีการปรับลดการที่ QE มาแล้ว จะช่วยลดผลกระทบด้านความผันผวนของเงินทุนที่เกิดขึ้นได้