ละลานตาดอกไม้ป่าเฉพาะถิ่น แห่ง “ดอยเชียงดาว” 

ละลานตาดอกไม้ป่าเฉพาะถิ่น แห่ง “ดอยเชียงดาว” 

  • 0 ตอบ
  • 58 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chanapot

  • *****
  • 3237
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




“ดอยเชียงดาว” จ.เชียงใหม่ เพิ่งได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลกจากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยถือเป็น 1 ใน 20 พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก โดยถือเป็นพื้นที่ป่าที่มีระบบนิเวศที่โดดเด่น คือ ป่าเปิดระดับสูง (Subalpine vegetation) ซึ่งพบได้ไม่กี่แห่งในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระบบนิเวศที่บ่งชี้ความเชื่อมต่อทางระบบนิเวศในแนวเทือกเขาหิมาลัยและจีนตอนใต้ ทำให้พื้นที่นำเสนอนี้เป็นถิ่นอาศัยของชนิดพันธุ์พืชเฉพาะถิ่นจำนวนมาก

ความสำคัญดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ดอยเชียงดาวควรค่าต่อการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล คือการมีสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ที่เชื่อมโยงกับสังคมพืชในเทือกเขาหิมาลัยทางตอนใต้ของจีน เนื่องจากดอยหลวงเชียงดาวเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์และสำคัญของแม่น้ำปิง เป็นแหล่งรวมพืชพรรณหายากและพืชถิ่นเดียว โดยเฉพาะบริเวณสันเขาและยอดดอยที่ระดับความสูงเกินกว่า 1,900 เมตร ที่นี่จึงเป็นสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ที่สำคัญที่สุดในเมืองไทย มีพรรณไม้ที่เชื่อมโยงให้เห็นว่าภูมิประเทศนี้ทอดยาวลงมาจากตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ที่ราบสูง Quinhai - Tibet และจีนตอนใต้

หากใครมีโอกาสได้มาเดินเท้าศึกษาธรรมชาติที่ดอยหลวงเชียงดาว ก็จะได้พบกับพืชพรรณไม้หลากชนิดที่ล้วนแล้วแต่น่าศึกษาอนุรักษ์ ยิ่งหากมาในช่วงปลายฝนต้นหนาวก็จะได้พบกับดอกไม้ป่านานาชนิด ซึ่งหลายๆ ชนิดก็เป็นพืชหายาก แต่สามารถพบในธรรมชาติที่ดอยเชียงดาวแห่งนี้ ดังที่เราได้นำมาแนะนำให้รู้จักกัน อาทิ

ทิวทัศน์และดอกไม้ป่างดงามของดอยหลวงเชียงดาว
ทิวทัศน์และดอกไม้ป่างดงามของดอยหลวงเชียงดาว

ดอกเทียนนกแก้วคล้ายกำลังโบยบิน
ดอกเทียนนกแก้วคล้ายกำลังโบยบิน

“เทียนนกแก้ว” เป็นไม้ล้มลุกพบขึ้นตามซอกหินปูน มีดอกสีม่วงอมชมพูสุดน่ารัก หากมองจากด้านข้างตอนดอกบานแล้วจะดูคล้ายนกแก้วตัวน้อยๆ ที่กำลังโบยบิน ยิ่งดูยิ่งทึ่งในฝีมือการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ ดอกเทียนนกแก้วถูกตีพิมพ์เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกโดย Sir Joseph Dalton Hooker อดีตหัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์คิว สหราชอาณาจักร โดยตีพิมพ์ในวารสาร Botanical Magazine 127: t. 7809 ปี ค.ศ. 1901 และได้ให้ชื่อสามัญไว้ว่า ‘cockatoo balsam’ ต้นพืชได้ถูกค้นพบในรัฐฉาน เมียนมา มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียถึงเมียนมา และทางตอนเหนือของไทย โดยพบบริเวณดงไม้หก ทางขึ้นปางวัว บนดอยเชียงดาว ช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม

เทียนเชียงดาว
เทียนเชียงดาว

“เทียนเชียงดาว” เป็นไม้ล้มลุก สูง 10–50 ซ.ม. มีดอกสีม่วง ออกเดี่ยวๆ ก้านดอกยาว 3–5 ซ.ม. ดอกน้อยๆ บอบบางน่ารัก และยังเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคเหนือที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นตามหินปูนที่โล่ง ความสูง 1000–2000 เมตร พบบริเวณเส้นทางไปยังอ่างสลุง บนยอดดอยหลวงเชียงดาว ช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม

ชมพูเชียงดาว
ชมพูเชียงดาว

“ชมพูเชียงดาว” เป็นไม้ล้มลุก สูง 40–60 ซ.ม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 40 ซม. ดอกสีชมพูเข้มสดใส บานรวมๆ กันหลายๆ ช่อสวยงาม และเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบบนยอดดอยหลวงเชียงดาวและกิ่วลม ความสูง 1800–2100 เมตร ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม

ขาวปั้น (ภาพ : เพจประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)
ขาวปั้น (ภาพ : เพจประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)

“ขาวปั้น” เป็นไม้ล้มลุก สูง 10–50 ซ.ม. ออกดอกเป็นช่อสีขาวกลมกระจุกแน่น เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคเหนือที่ดอยหัวหมด จังหวัดตาก และดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นตามเขาหินปูนที่เปิดโล่ง ความสูง 900–2200 เมตร จะพบได้บนยอดดอยหลวงเชียงดาวและกิ่วลม ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

จ๊าฮ่อมเชียงดาวบานเป็นดง
จ๊าฮ่อมเชียงดาวบานเป็นดง

“จ๊าฮ่อมเชียงดาว” เป็นไม้พุ่มขึ้นตามสันเขาหินปูน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบหรือปลายยอด ดอกสีม่วงอ่อน และเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย พบที่เขาหินปูนยอดดอยหลวงเชียงดาวและกิ่วลม ช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

หรีดเชียงดาว
หรีดเชียงดาว

ฟองหินเหลือง
ฟองหินเหลือง

นอกจากนั้นก็ยังมีดอกไม้ป่าน่ารักอีกนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น หรีดเชียงดาว กุหลาบขาวเชียงดาว ชมพูพิมพ์ใจ ฟองหินเหลือง เหยื่อจง หญ้าดอกลาย เอื้องตาเหิน ฯลฯ ที่ล้วนแล้วแต่งดงามถูกใจคนรักดอกไม้ที่ได้ดั้นด้นขึ้นไปชมสวนดอกไม้ป่ากันถึงบนดอยเชียงดาว

สำหรับจุดที่จะมีดอกไม้ให้ชมนั้นก็อยู่ระหว่างเส้นทางเดินขึ้นสู่อ่างสลุง (บริเวณจุดพักแรม) และมีให้ชมละลานตาที่ดอยกิ่วลม ซึ่งเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ต้องใช้เวลาเดินจากอ่างสลุงขึ้นไปราว 45 นาที โดยหลังจากชมพระอาทิตย์ขึ้นแล้วจะได้ชมดอกไม้ป่าหลากชนิด โดยดอยกิ่วลมยังแบ่งเป็นกิ่วลมเหนือ และกิ่วลมใต้ โดยเฉพาะกิ่วลมใต้ที่มีกล้วยไม้ป่า "เอื้องตาเหิน" ออกดอกชูช่อสีขาวตามต้นไม้สวมเสื้อผ้าเป็นจำนวนมาก ขณะที่ดอกไม้ดาวเด่นเป็นไฮไลท์ของที่นี่เห็นจะหนีไม่พ้น "ชมพูเชียงดาว" ที่บานเป็นทุ่ง สีชมพูสดใสไปทั่วบริเวณ

ขณะที่บนยอดดอยหลวงเชียงดาวที่มีความสูง 2,225 เมตร ซึ่งเป็นความสูงอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และดอยฟ้าห่มปก จ.เชียงราย ก็มีดอกไม้ป่างดงามขึ้นอยู่เต็มเช่นกัน โดยจากอ่างสลุงจะใช้เวลาเดินเท้าราว 30 นาที สู่ยอดเขา ทิวทัศน์ด้านบนสวยงามยิ่งนัก และระหว่างทางก็มีไม้ดอกพืชล้มลุกกึ่งอัลไพน์สวยๆ ให้ชมอีกมากมาย โดยเฉพาะ “จ๊าฮ่อมเชียงดาว” ที่ขึ้นเป็นพุ่มไปทั่วบริเวณยอดดอย ดูราวกับสวนดอกไม้บนยอดเขาก็มิปาน แสงแดดสีทองส่องกระทบกลีบสีม่วงบอบบางงดงาม ทำให้หลงเสน่ห์ของดอกไม้ป่าแห่งดอยเชียงดาวเข้าไปอย่างจัง

หมายเหตุ ข้อมูลพรรณไม้จากกรมอุทยานแห่งชาติ และหอพรรณไม้ Forest herbarium - BKF

ชมพูพิมพ์ใจ
ชมพูพิมพ์ใจ

หญ้าดอกลาย
หญ้าดอกลาย


"ดอยเชียงดาว" ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหงบางส่วน ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคอง ตำบลเชียงดาว และตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 521 ตารางกิโลเมตร

“เชียงดาว” เป็นชื่อของภูเขาและชื่อของอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงดาว เพี้ยนมาจากคำว่า “เปียงดาว” หรือ “เพียงดาว” ที่คนโบราณเรียกขานถึงภูเขาสูงใหญ่โดดเด่นทัดเทียมกับดวงดาว และเพี้ยนกลายมาเป็นชื่อเชียงดาวเช่นทุกวันนี้

ดอยเชียงดาวเป็นเทือกเขาหินปูนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย เป็นภูเขาหินปูนที่เกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน มีอายุระหว่าง 230-250 ล้านปี เป็นหมู่หินราชบุรีของไทย ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนทะเลและซากสัตว์ที่มีหินปูน มีหลักฐานว่าเทือกเขาแห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อนเพราะยังมีฟอสซิลเปลือกหอยให้เห็นบนก้อนหิน