DMT เล็งจับมือพันธมิตร ผุด ธุรกิจรีเทล สร้างการเติบโตใหม่

DMT เล็งจับมือพันธมิตร ผุด ธุรกิจรีเทล สร้างการเติบโตใหม่

  • 0 ตอบ
  • 87 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ทางยกระดับดอนเมือง จ่อผนึกพันธมิตรรุกธุรกิจใหม่ ทั้ง รีเทล-จุดชาร์ทรถอีวี-บริการขนส่งรอง หวังเพิ่มช่องทางรายได้เติบโต หลังเงินระดมทุนช่วยปล็ดล็อคสภาพคล่องการเงินแข็งแกร่ง !

กว่าภาครัฐจะเปิดประมูล 'โครงการทางด่วน' แต่ละเส้นทางใช้เวลานานมาก... ฉะนั้น ทิศทางการเติบโตของธุรกิจโครงการสัมปทานทางยกระดับ ที่ผ่านมาจึ่งมีอัตราการเติบโตล่าช้ามาก ประกอบกับเมื่อมีการเติบโตแต่ละครั้งจำต้องใช้เงินลงทุนโครงการมูลค่า 'มหาศาล' รวมทั้งใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่าจะสร้างรายได้เข้ามาไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี

และหนึ่งในผู้ประกอบการที่มีธุรกิจหลักในโครงการสัมปทานทางยกระดับ ที่มีประสบการณ์บริหาร ยาวนานกว่า 31 ปี คงต้องยกให้ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT ผู้ประกอบธุรกิจบริหารโครงการสัมปทานทางยกระดับดอนเมืองช่วงดินแดงจนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ (อนุสรณ์สถานฯ) ระยะทาง 21 กิโลเมตร ของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ 'ตระกูลพานิชชีวะ' ที่เพิ่งนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2564 

'ศักดิ์ดา พรรณไวย' รองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจและการเงิน บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT ให้สัมภาษณ์พิเศษ 'หนังสือกรุงเทพธุรกิจ' ว่า ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจสัมปทานทางยกระดับ (ทางด่วน) เกือบ 100% แบ่งออกเป็น 2 ส่วน นั่นคือ 1.ทางหลวงสัมปทานเดิม (Original Tollway) ตอนดินแดง-ดอนเมือง ระยะทาง 15.4 กิโลเมตร และ 2.ทางหลวงสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือ (Northern Extension) ช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ระยะทาง 5.6 กิโลเมตร 

ทว่า หลังจากบริษัทมีการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น ! เปรียบเหมือนเป็นการ 'ปลดล็อค' ฐานะทางการเงินให้มีความแข็งแกร่ง สะท้อนผ่านบริษัทได้ชำระหนี้ตามสัญญาทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวจำนวน 1,683.78 ล้านบาท ทำให้ภาระหนี้สิน 'ลดลง' อย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบันเหลือเงินกู้ระยะสั้น ประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 300 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีอัตราส่วน 'หนี้สินต่อทุน' (D/E) ปรับลดลงจากเดิม 0.40 เท่า เป็น 0.11 เท่า 

DMT เล็งจับมือพันธมิตร ผุด ธุรกิจรีเทล สร้างการเติบโตใหม่


ฉะนั้น เมื่อบริษัทมีความแข็งแกร่งด้านเงินทุนแล้ว ก็พร้อมที่จะสร้างการเติบโตครั้งใหม่ ! ด้วยแผนธุรกิจระยะ 1-3 ปีข้างหน้า (2564-2566) ใน 2 ธุรกิจ คือ 1.ธุรกิจประมูลเส้นทางด่วน 2.ธุรกิจเกี่ยวเนื่องทางด่วน ซึ่งพยายามดำเนินการควบคู่กัน โดยเฉพาะการแสวงหาโอกาสขยาย 'ธุรกิจใหม่' (New Business) ด้วยนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ร่วมพัฒนาโครงการที่ภาครัฐเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ซึ่งบริษัทศึกษาและวางแผนเข้าร่วมประมูลในโครงการที่มีศักยภาพรวมถึงได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน 

สอดคล้องกับ ปัจจุบันบริษัทสนใจประมูล 'โครงการพัฒนาจุดพักรถริมทางหลวง' หรือ Rest Area ของกรมทางหลวงจำนวน 3 เส้นทาง คาดใช้เงินลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 กรุงเทพ-บ้านฉาง ซึ่งกรมทางหลวงมีแผนที่จะประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP จำนวน 2 แห่ง ที่ศรีราชาและบางละมุง คาดว่าจะเปิดประมูลเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2564 และแผนเปิดบริการปี 2566 

2. โครงการจุดพักรถริมทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา คาดจะเปิดประมูลปลายปีนี้ ซึ่งจะเปิดบริการปี 2566 และ3.โครงการจุดพักรถริมทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี ที่จะมีการเปิดประมูลในปี 2565 เปิดให้บริการ 2567 

โดยเมื่อ 30 ก.ค. ที่ผ่านมา กรมทางหลวงได้เชิญเอกชนผู้สนใจเข้าประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น (Market Sounding) สำหรับโครงการบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 กรุงเทพ-บ้านฉาง ซึ่งวันนั้นมีผู้ประกอบการเอกชนที่ทำ 'ธุรกิจรีเทล' (ค้าปลีก) สนใจร่วมเข้าฟัง 500 ราย มีทั้งที่เป็นรายใหญ่ (บิ๊กเนม) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และรีเทลรายย่อย 


ทั้งนี้ บริษัทเปิดกว้างร่วมมือกับ 'พันธมิตรในประเทศและต่างชาติ' ในการเข้าประมูลโครงการพัฒนาจุดพักรถริมทางหลวง ซึ่งปัจจุบันก็มีการคุยกันหลายราย นอกเหนือจากที่บริษัทมีพันธมิตร คือ บริษัท เครือเจริญโภคภัทฑ์ จำกัด (ซีพี) และ บริษัท ไทยรุ่งเรือง-เคอรี่ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และเป็นพันธมิตร ที่อนาคตบริษัทสนใจเป็น Strategic Partner ในโครงการใหม่ๆ

โดยมองว่าอนาคตจุดพักรถริมทางจะไม่มีแค่สถานีเติมน้ำมันแล้ว แต่จะเป็นโมเดลที่พัฒนาเป็นแหล่งชอปปิ้ง หรือ แม้แต่การนำสินค้าที่เป็นโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ โอทอป มาขายได้ และในอนาคตรัฐมีโครงการมอเตอร์เวย์อีกกว่า 20 เส้นทาง ระยะทางเกือบ 6,000 กิโลเมตร เพราะฉะนั้น โครงการต่างๆ ก็ต้องมีพื้นที่พัฒนาจุดพักรถริมทางอีกหลายแห่ง ดังนั้น ถือเป็นโอกาสขยายธุรกิจ ซึ่งตัวโมเดลแบบนี้มีหลายประเทศทำกัน และที่ประสบความสำเร็จมากๆ คือ ประเทศญี่ปุ่น 

DMT เล็งจับมือพันธมิตร ผุด ธุรกิจรีเทล สร้างการเติบโตใหม่

อีกทั้งยังสนใจเข้าร่วมพัฒนา 'โครงข่ายระบบขนส่งรอง' (Feeder) โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง หลังจากเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนเมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยโครงการดังกล่าวบริษัทได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยศึกษาการใช้ระบบ Smart Feeder มาให้บริการ ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะใช้โมเดลไหน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบกำลังศึกษาระบบรถโดยสารขนาดตั้งแต่ EV Mini Bus , EV Full Size Bus , และ Tram Bus เป็นต้น 

สอดรับกับบริษัทอยู่ระหว่างพัฒนาการให้บริการช่วยเหลือสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อรองรับปริมาณรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงอยู่ระหว่างการหาพันธมิตรเพื่อร่วมกันให้บริการแก่รถยนต์ไฟฟ้า เช่น การหาอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้า ทั้งรูปแบบเคลื่อนที่สำหรับชาร์จไฟฟ้าชั่วคราวแบบ Quick Charge และการเคลื่อนย้ายรถยนต์ไฟฟ้าไปยังสถานีชาร์จไฟฟ้าที่ให้บริการโดยพันธมิตร

รวมถึงการลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าของบริษัท สำหรับช่วยเหลือยานยนต์ไฟฟ้าต่อไป และองค์ความรู้เหล่านี้บริษัทก็จะใช้ในการวางแผนปฏิบัติการ และพัฒนาการให้บริการให้ดีขึ้นไป อีกทั้งสามารถต่อยอดไปเป็นผู้ให้บริการสำหรับทางด่วนสายอื่นๆ ในอนาคตที่ต้องดำเนินการในลักษณะนี้ต่อไปอย่างแน่นอน

สำหรับการเติบโต 'ธุรกิจหลัก' (Core Business) โครงการส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข (M5) ระยะทาง 18 กม. ซึ่งจะไปเชื่อมต่อโครงการมอเตอร์เวย์โคราช ถือเป็นโครงการหน้าบ้านที่มีลักษณะคล้ายโทลล์เวย์ ซึ่งบริษัทมีความคุ้นเคย ดังนั้น จึงมีศักยภาพในการเสนอบริการที่ดีให้กับภาครัฐและประชาชน คาดจะเปิดประมูลไตรมาส 1 ปี 2565 

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ (M8) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว (M82) อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนในแต่ละโครงการ ขึ้นอยู่กับทีโออาร์ที่จะเป็นตัวกำหนดการ แต่บริษัทมีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost หรือ PPP Gross Cost ซึ่งบริษัทมีประสบการณ์แล้ว โดยในขณะนี้บริษัทจะเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ทั้งเรื่องบุคลากรและเงินลงทุน

ท้ายสุด 'ศักดิ์ดา' ทิ้งท้ายไว้ว่า กรณีรัฐเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่และลดความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 จะส่งผลดีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้งภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้