ก.ล.ต.อนุมัติแบบคำขอเสนอขายหุ้น IPO ‘ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์’

ก.ล.ต.อนุมัติแบบคำขอเสนอขายหุ้น IPO ‘ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์’

  • 0 ตอบ
  • 68 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




"ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์" เผยได้รับอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์จากสำนักงาน ก.ล.ต.เรียบร้อยแล้ว เตรียมพร้อมเดินหน้าเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 109.30 ล้านหุ้น เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถูกกฎหมายเชื่อถือได้ตามแผนที่วางไว้ มุ่งมั่นเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำและสัตว์เศรษฐกิจแบบครบวงจรที่มีคุณภาพดีที่สุด เพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน

นายบรรลือศักร โสรัจจกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFM ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำและสัตว์เศรษฐกิจแบบครบวงจร เปิดเผยว่า จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญการดำเนินงานธุรกิจของบริษัทฯ กว่า 20 ปี ที่มีความพร้อมทางด้านบุคลากร แหล่งเงินทุน และการเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและสร้างการเปลี่ยนแปลง พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมโดยรวม ส่งผลให้ TFM มีความสามารถในการเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำและสัตว์เศรษฐกิจที่มีคุณภาพดี มีความสม่ำเสมอ มีประสิทธิผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ รวมถึงสามารถผลิตสินค้าที่หลากหลายและครอบคลุมการเพาะเลี้ยงตลอดวงจรชีวิตของสัตว์น้ำในราคาที่แข่งขันได้

บริษัทฯ มีวิสัยทัศน์เป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำแบบครบวงจรที่มีคุณภาพดีที่สุดเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นนำความเชี่ยวชาญ เทคนิคการผลิต และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะทาง เช่น การเป็นผู้บุกเบิกการใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเพาะเลี้ยงปลากะพง เป็นต้น รวมถึงการคิดค้นสูตรการผลิตใหม่ๆ เช่น สูตรการผลิตอาหารสัตว์น้ำที่ลดปริมาณปลาป่นและน้ำมันปลา สูตรการผลิตอาหารปลาสลิดและอาหารปู เป็นต้น

ปัจจุบัน TFM มีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์สินค้าหลักของบริษัทฯ ได้แก่ โปรฟีด (PROFEED) นานามิ (NANAMI) อีโก้ฟีด (EGOFEED) แอคควาฟีด (AQUAFEED) และดี-โกรว์ (D-GROW) เป็นต้น ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารกุ้ง โดย TFM เป็นหนึ่งในผู้นำในกลุ่มตลาดอาหารกุ้ง มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 17 ของปริมาณอาหารกุ้งในไทย (ปี 2563) (2) ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารปลา (รวมอาหารกบและอาหารปู) แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.อาหารปลาทะเล เช่น อาหารปลากะพงและปลาเก๋า 2.อาหารปลาน้ำจืด เช่น อาหารปลานิลและปลาดุก 3.อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน สำหรับการอนุบาลลูกปลา และ 4.อาหารกบ โดย TFM เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกและเป็นผู้นำกลุ่มตลาดอาหารปลากะพง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลาที่มีราคาจำหน่ายและอัตรากำไรค่อนข้างสูงกว่าอาหารปลาประเภทอื่นๆ โดยบริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดอาหารปลากะพงประมาณร้อยละ 24 ของปริมาณอาหารปลากะพงไทย (ปี 2563) และ (3) ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารสัตว์บก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.อาหารสุกร 2.อาหารสัตว์ปีก ได้แก่ อาหารไก่ อาหารเป็ด และอาหารนกกระทา โดยบริษัทฯ เริ่มขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจอาหารสัตว์บกปลายปี 2561 และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นที่น่าพ่อใจ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TFM กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน บริษัทฯ มีโรงงานผลิตสินค้า 2 แห่ง คือ (1) โรงงานมหาชัย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และ (2) โรงงานระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพและเหมาะแก่การประกอบธุรกิจผลิตอาหารสัตว์น้ำ เนื่องจากภาคกลางและภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีการเพาะพันธุ์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยทั้ง 2 โรงงานมีกำลังการผลิตรวม 273,000 ตันต่อปี (ณ 30 มิ.ย.64) แบ่งเป็นอาหารกุ้ง 153,000 ตันต่อปี อาหารปลา 90,000 ตันต่อปี และอาหารสัตว์บก 30,000 ตันต่อปี รวมถึงเป็นสายการผลิตแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติที่มีระบบการควบคุมและสั่งงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถติดตามข้อมูลในการผลิตระหว่างกระบวนการผลิตได้ทันที (Real time) ทั้งนี้ TFM มีกลุ่มลูกค้าหลัก คือ ร้านค้าจำหน่ายอาหารสัตว์ และฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์

สำหรับผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้รวม 2,370.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม 1,964.6 ล้านบาท มีปริมาณการขายเติบโตขึ้นเป็น 90,770 ตัน เติบโต 19.3% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากปริมาณการขายอาหารกุ้ง อาหารปลา และอาหารสัตว์บกที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับ TFM ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อมุ่งเน้นการทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการมุ่งเน้นการทำตลาดปลาอื่นๆ ในประเทศ เพื่อทดแทนช่วงที่ปริมาณความต้องการบริโภคปลากะพงลดลง นอกจากนี้ ในไตรมาส 2 ปี 2564 ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในการผลิตและจำหน่ายอาหารปลาของ AMG-TFM ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TFM ถือหุ้นร้อยละ 51 และตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน ส่งผลให้ปริมาณการขายอาหารปลาในต่างประเทศเติบโตขึ้น ขณะที่ปริมาณการขายอาหารสัตว์บกมีแนวโน้มเติบโตจากกลุ่มลูกค้าเดิมและการจัดหาลูกค้ารายใหม่ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า

นายพิเชษฐ สิทธิอํานวย กรรมการผู้อํานวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จํากัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจากที่ บมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ (TFM) ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (แบบไฟลิ่ง) และแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม เพื่อเสนอขายหุ้น IPO และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ บมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ มีทุนจดทะเบียนจำนวน 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 500.0 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 2 บาท โดยเป็นทุนชำระแล้วทั้งสิ้นจำนวน 820 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 410.0 ล้านหุ้น และจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 109.30 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน 90.0 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) จำนวน 19.3 ล้านหุ้น รวมทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 21.9 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งนี้ โดยจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในอินโดนีเซีย ชำระคืนเงินกู้ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในอนาคต

“หลังจาก ก.ล.ต.อนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้น IPO และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จํากัด (มหาชน) และ TFM อยู่ระหว่างการพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสนอขายหุ้นไอพีโอดังกล่าว เชื่อว่าด้วยพื้นฐานและประสบการณ์การดำเนินธุรกิจมากว่า 20 ปี ในการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เศรษฐกิจและผู้นำในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของคนไทย โดยใช้นวัตกรรมความเชี่ยวชาญมาต่อยอดสร้างความเข้มแข็งและการเติบโตให้แก่ธุรกิจ จึงมั่นใจว่าการเสนอขายหุ้นไอพีโอของ TFM จะได้รับการตอบที่ดีจากนักลงทุน” นายพิเชษฐ กล่าว