ออกาไนเซอร์ จับตา “ธุรกิจอีเวนท์” หลังโควิด รูปแแบบไหนอยู่-ตกเทรนด์?

ออกาไนเซอร์ จับตา “ธุรกิจอีเวนท์” หลังโควิด รูปแแบบไหนอยู่-ตกเทรนด์?

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




โควิดเร่งให้ธุรกิจใช้ "ออนไลน์" เป็นเครื่องมือพารอดวิกฤติ แต่ "ธุรกิจอีเวนท์" การสัมผัสประสบการณ์จริง เป็นเสน่ห์ ผู้คนโหยหา แต่โลกหลังโรคระบาดยากคาดเดา แม่ทัพเคทู เอ็กซิบิท เผยออกาไนเซอร์อ่านเกมอนาคตไม่คาด เทรนด์ออนกราวด์-เวอร์ชวลอีเวนท์ถูกกฎหมายเชื่อถือได้ มาแรง

“อีเวนท์” เป็นอีกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโรโควิด-19 ระบาด และมาตรการรัฐหนักมาก ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี กิจกรรม ณ พื้นที่หรือออนกราวด์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต โชว์บิส การเปิดตัวสินค้า การจัดนิทรรศการ รวมไปถึงงานแฟร์ต่างๆ

ขณะที่การปรับตัว ทุกรายมุ่งสู่การจัดอีเวนท์เสมือนจริงผ่านออนไลน์หรือ Virtual ซึ่งผู้บริโภตจะไม่ได้สัมผัสประสบการณ์แบบเดิม แต่นั่นคือหนทางรอดของผู้ประกอบการ และลูกค้า จตุพร สุคันธมาลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคทู เอ็กซิบิท จำกัด หนึ่งในออกาไนเซอร์ชั้นนำที่อยู่เบื้องหลังการจัดงานคอนเสิร์ต งานโชว์ รวมถึงงานประชุมภาครัฐ ตลอดจนงานเกษียณผู้บริหารองค์รยักษ์ใหญ่ ฉายภาพผลกระทบที่เกิดขึ้นช่วงแรก ลูกค้าราว 50% กล้าจัดงานออนไลน์อีก 50% รอให้สถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายค่อยลุย หรือให้ประชาชนได้รับวัคซีนเข็ม 1 บ้าง ครบ 2 เข็มบ้าง โดยสิ่งที่ตีคู่มาคือการกลายพันธึ์ของไวรัสด้วย

ทว่า ปัจจุบันเกือบ 100% พร้อมใจเดินหน้าจัดอีเวนท์ผ่านหน้าจอออนไลน์ เพราะลูกค้าเริ่มรอไม่ได้ และการสร้างสรรค์งานครีเอทีฟ จัดอีเวนท์ออนไลน์ เรียนรู้เทคโนโลยี และการทำส่งใหม่ๆ ทำให้เห็นปรากฏการณ์ด้าน “ดี” สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ามากขึ้น เช่น การจัดงานเกษียณให้กับอดีตแม่ทัพพลังงานแห่งชาติอย่าง “ปตท.” เปิดทางให้ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้นเข้าร่วมงานออนกราวด์ ส่วนที่เหลือเข้าร่วมกิจกรรมได้ผ่านออนไลน์ ทำให้พบว่าพนักงานจำนวนมาก ตบเท้าเข้าร่วมกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นพนักงานจากแท่นขุดเจาะน้ำมัน บนเรือ ตลอดจนพนักงานที่ประจำในสาขาต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งในภาวะปกติแทบไม่มีโอกาสร่วมอีเวนท์ดังกล่าว

ออกาไนเซอร์ จับตา “ธุรกิจอีเวนท์” หลังโควิด รูปแแบบไหนอยู่-ตกเทรนด์? พอร์ตโฟลิโออีเวนท์งานเกษียณผู้ว่าฯปตท., บู๊ท Nikon งาน Photos fair 2012, JBL-HARMAN KARDON, SK-II ฯ Cr. k2exhibit

 ทั้งนี้ ปลายปีเป็นไฮซีซั่นของการจัดอีเวนท์ สิ่งที่ต้องการบอกลูกค้านาทีนี้คือ “เดินหน้า” จัดเวอร์ชวลอีเวนท์ได้แล้ว แต่สิ่งที่ต้องตระหนักในการสร้างสรรค์งานอย่าทิ้ง “คอนเทนท์” ซึ่งต้องสอดคล้องกับ “คอนเท็กซ์” หรือบริบท สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในเวลานั้นๆ โดยอีกมิติผู้จัดงานต้องสวมบทเป็นผู้บริโภคด้วยว่ามีความต้องการอะไรบ้าง เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ

“ทุกคนออกจากบ้านไม่ได้ จึงต้องไม่ลืมว่าการสร้างอีโมชั่นนอลให้คนดูมีความสนุกสนานด้วย ซึ่งประสบการณ์เกือบ 2 ปี หากต้องการจัดเวอร์ชวลอีเวนท์ให้สำเร็จ น่าติดตาม ต้องครบเครื่องทั้งคอนเทนท์ และคอนเทนท์ ทำให้กิจกรรมมีความกลมกล่อมที่สุด หรือเทียบให้เห็นภาพคือการเสิร์ฟอาหาร ที่มีเมนูเรียกน้ำย่อย จานหลัก ของหวาน และต้องมีเครื่องดื่มด้วย ไม่ใช่ป้อนแค่อาหารที่มีคุณประโยชน์ สารอาหารเท่านั้น”

สำหรับการจัดงานอีเวนท์ออนไลน์ แม้ไม่มีสูตรสำเร็จ หากลูกค้า ผู้ประกอบการใช้เวลานานขึ้นเพื่อเตรียมตัวจัดงาน จะส่งผลให้กิจกรรมออกมาสมบูรณ์มากขึ้น มีเทคโนโลยีใหม่ๆเอื้อให้งานออกมาโดดเด่น แต่ละงานยังสามารตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะหรือเทเลอร์เมดให้ลูกค้าได้ตรงใจยิ่งขึ้น เช่น บริษัทมีการจัดงานประชุมให้รัฐบาล งานพลังงานแสงอาทิตย์ มีการนำวิทยาการเสมือนจริงต่างๆ อย่าง XR Extended Reality ที่วงการฮอลลีวู้ดใช้เข้ามาบริการลูกค้า เป็นต้น

ขณะที่ เคทูฯ ปลายปีมีงานอีเวนท์ออนไลน์จ่อคิวจำนวนมาก โดยเฉพาะการเปิดตัวสินคา เนื่องจากลูกค้าทยอยใช้งบประมาณประจำปี รวมถึงลูกค้าเปิดใจรับอีเวนท์ออนไลน์มากขึ้น หากสร้างสรรค์เนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบทต่างๆ เติมกิมมิคให้มีสีสันดึงคนเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนผู้บริโภคเองจะได้ร่วมงานใน “ต้นทุนต่ำลง” ไม่ต้องเสียเวลาเป็นชั่วโมง แต่งหน้าแต่งตัว เดินทางออกจากบ้าน ระกว่างร่วมอีเวนท์ยังทำกิจกรรมอื่นได้ เป็นต้น

“เดิมบริษัทมีงานอีเวนท์เฉลี่ยทั้งปี แต่ปีนี้งานมากองรวมกันไตรมาสสุดท้าย ซึ่งอีเวนท์ออนไลน์ทุกคนผ่านการเรียนรู้ คุ้นชินการใช้อุปกรณ์ต่างๆแล้ว”

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการอีเวนท์ยังอ่านเกมอนาคตไม่ขาด คือหลังโควิดคลี่คลาย อีเวนท์ออฟไลน์เดิมๆ จะกลับมาทรงพลังอีกครั้งหรือไม่ เพราะมีผลต่อออกาไนเซอร์จัดงานที่ต้องตัดสินใจจะเก็บอุปกรณ์แสง เสียง โปรเจคเตอร์ แอลอีดีฯ ไว้รองรับงานต่างๆ หรือควรขายในช่วงที่ยังราคาดี ให้ขาดทุนน้อยลง แล้วมุ่งหน้าสู่โลกอีเวนท์ออนไลน์ กลับกันเวอร์ชวลอีเวนท์ จะยังอยู่ในกระแสหรือไม่ เพราะตัวอย่างต่างประเทศ เป็นกรณีศึกษาที่ดี เช่น การแข่งขันฟุต.ยูโร ที่อังกฤษ คนเข้าไปดุในสนามถล่มทลาย และไม่ใส่หน้ากาก บางประเทศจัดคอนเสิร์ตยิ่งใหญ่ แต่บางประเทศต้องกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง

“ตอนนี้ผู้ประกอบการถกเถียงกันหลังโควิดคลี่คลายอีเวนท์ออฟไลน์จะกลับมาแบบยิ่งใหญ่กว่าเดิม เวอร์ชวลอีเวนท์จะยังอยู่ไหม สิ่งเหล่านี้คาดการณ์ไม่ได้เลย เพราะสิ่งที่เป็นห่วงคือซัพพลายเออร์ที่ให้บริการอุปกรณ์หรืออีควิปเมนท์ในการจัดงาน”