TDRI จี้รัฐจ่าย ’เยียวยา’ รถไฟฟ้า ไม่ผลักภาระให้ประชาชน

TDRI จี้รัฐจ่าย ’เยียวยา’ รถไฟฟ้า ไม่ผลักภาระให้ประชาชน

  • 0 ตอบ
  • 68 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




จากการที่ BTS ประกาศยุติการทำโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วันทุกประเภท โดยจะขายถึงวันที่ 30 กันยายนนี้เป็นวันสุดท้าย โดยให้เหตุผลว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารเปลี่ยนไปจากเดิม โปรโมชั่นดังกล่าวจึงไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ได้เผยแพร่บทความโดย ดร.สุเมธ องกิตติกุล และภัทราภรณ์ วัฒนผดุงศักดิ์ ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่ารัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณเยียวยาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอกชน เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อได้โดยไม่ผลักภาระมาให้ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นค่าโดยสาร หรือลดการให้บริการ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเดือดร้อน

TDRI ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทั่วโลก เพราะรัฐบาลแต่ละประเทศต่างมีมาตรการลดการเดินทาง ทำให้ปริมาณผู้โดยสารลดลง ส่งผลให้รายได้ลดลงเช่นกัน แต่ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศ จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณเยียวยาถูกกฎหมายเชื่อถือได้จากรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ หรือเขตปกครองพิเศษฮ่องกง

โดยรัฐบาลอังกฤษให้เงินเยียวยาหน่วยงานท้องถิ่นกว่า 3.4 พันล้านปอนด์ และให้ยืมเงินเพิ่มอีก 600 ล้านปอนด์ ส่วนบริษัทเอกชนได้รับเงินช่วยเหลือกว่า 7.4 พันล้านปอนด์ และยังเรียกร้องค่าธรรมเนียมการบริหารกิจการอีก 88.8 ล้านปอนด์

ส่วนกรณีของรถไฟฟ้าบีทีเอส พบว่าจากมาตรการควบคุมโรคระบาดที่เข้มงวด ทำให้ปริมาณผู้โดยสารในปี 2563 ลดเหลือ 124.9 ล้านคน รายได้จากค่าโดยสารลดเหลือ 3,715 ล้านบาท หรือลดลงถึง 45.5% แต่รัฐบาลไม่มีมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการจากมาตรการป้องกันโควิดแต่อย่างใด

รถไฟฟ้าบีทีเอสจึงต้องประกาศยกเลิกตั๋วรายเดือน เพื่อเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อเที่ยวของการเดินรถ ทำให้ประชาชนแบกรับภาระค่าโดยสารเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงควรพิจารณางบประมาณเพื่อเยียวยาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ

สำหรับข้อดีของตั๋วรายเดือนนอกจากทำให้อัตราค่าโดยสารลดลง ยังช่วยลดความแออัดบริเวณชานชลาชั้นจำหน่ายตั๋ว ลดเวลาในการต่อคิวซื้อตั๋วเที่ยวเดียวหน้าสถานี และยังจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพราะค่าโดยสารเฉลี่ยจะอยู่ที่ 26 บาทต่อเที่ยวเท่านั้น

TDRI ยังระบุว่า รัฐบาลควรมีมาตรการแก้ไขปัญหาสัญญาสัมปทานระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อให้ได้ค่าโดยสารระบบรถไฟฟ้าที่เป็นตารางค่าโดยสารร่วมทุกเส้นทางโดยไม่ต้องคิดค่าโดยสารแยกในแต่ละเส้นทาง เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น