พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงธุรกรรมการเงิน “โลกไร้พรมแดน” 

พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงธุรกรรมการเงิน “โลกไร้พรมแดน” 

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Cindy700

  • *****
  • 3330
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ณ วันนี้รูปแบบการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไป จากการใช้เงินสด เปลี่ยนมาเป็นเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ถูกกฎหมายเชื่อถือได้ โดยการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ธนาคาร และสถาบันการเงินต่างๆ ออกมาพัฒนาช่องทางการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น

ตอบโจทย์ “โลกไร้พรมแดน” ได้อีกมิติหนึ่ง

ทั้งนี้ “นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยว่า โลกการเงินในอนาคต บทบาทและแนวทางในการกำกับดูแลของ ธปท.จะต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกให้การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินทำได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น โดยดำเนินการผ่าน 3 มิติหลัก ได้แก่ 1. More Open Data คือ ทำอย่างไรให้ข้อมูลถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้มากขึ้น หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสารพัดกิจกรรมที่ประชาชนได้ทำให้ใช้งานได้มากขึ้น เช่น ข้อมูลจากการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มาก ซึ่งปัจจุบัน ธปท.ร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันและโอนข้อมูล เริ่มจากข้อมูลเดินบัญชีของแต่ละธนาคาร (Bank Statement) เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปิดบัญชีข้ามธนาคารได้ง่ายขึ้น และสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้สะดวกขึ้น

2. More Open Competition หรือการแข่งขันที่ต้องกว้างขึ้น ซึ่งมีหลายมิติ ทั้งการแข่งขันจากผู้เล่นใหม่ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ธนาคาร ให้สามารถเข้ามาแข่งขันกับผู้เล่นเดิมในอุตสาหกรรม (Existing Player) รวมถึงเปิดให้ผู้เล่นปัจจุบันสามารถปรับตัวเพื่อแข่งขันกับผู้เล่นรายใหม่ได้ ซึ่งในต่างประเทศจะเห็นว่าธนาคารเริ่มเข้าไปซื้อ หรือทำการควบรวมกิจการ (M&A) บริษัทฟินเทค เพื่อเตรียมตัวรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแนวทางหนึ่งที่ ธปท.จะช่วยเหลือได้ คือ การปรับปรุงแนวทางการทดสอบและพัฒนาระบบ (Sandbox)เพื่อให้เกิดการแข่งขัน เกิดผู้เล่นใหม่ และเกิดนวัตกรรมใหม่ เพราะที่ผ่านมายอมรับว่าไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควร

3. Open Infrastructureหรือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทั้งผู้เล่นใหม่ และผู้เล่นปัจจุบันให้เข้ามาใช้งานได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันและต่อยอดในเชิงนวัตกรรมได้ เช่นระบบฐานข้อมูลกลาง (Central Web Service: CWS) ซึ่งเป็นวิธีการนำข้อมูลใบแจ้งหนี้ (Invoice) ที่อยู่ในระบบมารวมไว้ตรงกลาง เพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ต้องการสินเชื่อโดยมีใบแจ้งหนี้เป็นหลักประกัน (Factoring) สามารถเข้าถึงได้สะดวกและง่ายขึ้น ซึ่งธนาคารและนอนแบงก์สามารถเข้ามาร่วมใช้บริการได้ เพื่อให้ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ จากปัจจุบันเป็นอุปสรรค (Pain Point) สำคัญของระบบการเงินไทย อีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญ คือ สกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency) โดยเฉพาะสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) ซึ่ง ธปท.มองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ต้องจัดเตรียมไว้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเข้ามา

ด้าน “นายผยง ศรีวณิช” ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย (KTB) กล่าวว่า สมาคมธนาคารไทยได้วางวิสัยทัศน์ และกระบวนการทำงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วง 3 ปี เพื่อทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์สามารถเติบโตยั่งยืน มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพภายใต้ภาวะความท้าทาย และเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีการวางแนวทางการผลักดันความยั่งยืนใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1. การเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพให้กับการแข่งขันประเทศ โดยการสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มให้เกิดความเชื่อมโยงกัน ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และสามารถต่อยอดได้ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งได้เริ่มมีการนำระบบต่าง ๆ ที่ให้บริการแล้วมาต่อยอดการให้บริการ เช่น ระบบพร้อมเพย์, การพัฒนาระบบเช็คเคลียริ่ง, โครงการไทยแลนด์สมาร์ทอินฟราสตรัคเจอร์, อี-อินวอยซ์, อี-ซิกเนเจอร์ รวมถึงการพัฒนาระบบ Open Bangking เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในระบบผู้ประกอบการด้านการเงินในประเทศ ทั้งธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์ อีกทั้งยังต้องสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการจากการสร้างความปลอดภัยในการใช้บริการไซเบอร์

2. การผลักดันระบบการเงินไทยให้เป็นผู้นำในภูมิภาค CLMV ที่มีการค้าร่วมกันเป็นจำนวนมาก พัฒนาระบบ Inter-Bank ที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้การชำระเงินเกิดความรวดเร็ว และการนำเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พัฒนาขึ้น คือ CBDC มาใช้เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรม ซึ่งจะเป็นการสร้างระบบอย่างไม่มีอุปสรรคและไร้รอยต่อ สร้างการต่อยอดสู่การก้าวสู่ระบบ e-Mone ,3. การสร้างความยั่งยืน โดยมีตัววัด ระยะเวลาในการดำเนินงานตามแผนที่แน่นอน พร้อมกับการทำบริการการเงินให้เกิดความเท่าเทียมกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน การให้ความรู้ รวมถึงการนำระบบพิจารณาสินเชื่อที่มองไปถึงอนาคตมากกว่ารูปแบบเดิมที่เน้นการมองไปที่อดีต จากการนำพฤติกรรมการใช้น้ำ-ใช้ไฟมาประกอบ ทำให้เกิดการพิจารณาหนี้สินให้ครอบคลุม สามารถแก้ปัญหาเบ็ดเสร็จ ไม่เกิดช่องว่างทางกฎระเบียบ มีการรวมหนี้ประชาชน มีประสิทธิผลและเกิดความเป็นธรรมกับลูกหนี้ และ4. การให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลในองค์กรของธนาคารพาณิชย์ การดูแลบุคลากรสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพิ่มความสามารถให้กับบุคลากรของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนภายใต้ Thailand Next

ดังนั้นถึงเวลาที่จะต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงการเข้าถึงธุรกรรมการเงินให้ชัดเจน!

เพราะหากช้า....เราอาจจะตกขบวนที่จะเดินหน้าไปสู่โลกอนาคต!