CPANEL เคาะราคาขาย IPO ที่ 6 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 21-23 ก.ย.

CPANEL เคาะราคาขาย IPO ที่ 6 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 21-23 ก.ย.

  • 0 ตอบ
  • 66 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




บมจ.ซีแพนเนล (CPANEL) กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ 6 บาท/หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาท/หุ้น จำนวนหุ้น IPO ที่เสนอขาย 39.50 ล้านหุ้น ซึ่งจะเปิดให้นักลงทุนจองซื้อในวันที่ 21-23 ก.ย.64 โดยมี บล.ฟินันเซีย ไซรัส เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย และ CPANEL จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai)

การเสนอขาย IPO ของ CPANEL จะนำเงินที่ได้ไปใช้ลงทุนก่อสร้างโรงงานเพิ่มเติมอีก 1 โรงงาน รวมค่าก่อสร้างโรงงาน ค่าเครื่องจักรการผลิตระบบ Fully Automated และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ติดตั้งเครื่องจักร และการทดสอบระบบการทำงาน (Commissioning Tests) รวมถึงนำไปชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

การกำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ CPANEL พิจารณาจากอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E) ทั้งนี้ ราคาหุ้นสามัญที่เสนอขายหุ้นละ 6 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E Ratio) เท่ากับ 31.58 เท่า หากคำนวณจากกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลัง (ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.63-30 มิ.ย.64) ซึ่งเท่ากับ 28.57 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ (Fully Diluted) ซึ่งเท่ากับ 150 ล้านหุ้น จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 0.19 บาท

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปี 63 บริษัทได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากลูกค้าชะลอแผนการจัดส่งสินค้า ทำให้บริษัทต้องชะลอการผลิตในระหว่าง 8 เดือนแรกของปี 2563 ถึงแม้บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มี.ค.64 ก็ตาม ดังนั้น กำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลังจึงไม่ได้แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในสภาวการณ์ปกติ และอาจจะไม่เหมาะสมในการนำไปคำนวณ P/E Ratio

กรณีคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลกำไรสุทธิสำหรับปี 62 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในรอบ 12 เดือนที่เป็นสภาวการณ์ปกติที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 บริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 36.61 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ (Fully Diluted) ซึ่งเท่ากับ 150 ล้านหุ้น จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 0.24 บาท คิดเป็น P/E Ratio เท่ากับ 25 เท่า

นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน CPANEL เปิดเผยว่า CPANEL ลงนามสัญญาแต่งตั้ง บล.ฟินันเซีย ไซรัส เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ในครั้งพร้อม พร้อมผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายอีก 5 แห่ง ได้แก่ บล.เอเอสแอล (ASL) บล.เคทีบีเอสที (KTBST) บล.กรุงไทย ซีมิโก้ (KTZ) บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LHSEC) และ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) (PST)

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร APM กล่าวว่า CPANEL จะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 39.50 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 26.33% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท

CPANEL ถือเป็นนบริษัทที่ก่อตั้งมาไม่นานนัก แต่ด้วยการวางระบบทั้งด้านการผลิตและด้านการเงิน ทำให้บริษัทมีพื้นฐานกิจการที่แข็งแกร่ง ธุรกิจมีโอกาสเติบโตสูง ซึ่งหลังจากการระดมทุนครั้งนี้ CPANEL จะมีความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น เนื่องจากสัดส่วนหนี้สินต่อทุนจะลดลงอย่างมาก อีกทั้งความต้องการ Precast Concrete มีแนวโน้มสูงขึ้น จากการขาดแคลนแรงงานที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงข้อกฎหมายที่กำหนดจำนวนแรงงานในพื้นที่ก่อสร้าง ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์และผู้รับเหมาก่อสร้างนิยมใช้ Precast Concrete มากขึ้น

นายสมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ FSS กล่าวว่า การเสนอขายหุ้น IPO ที่หุ้นละ 6.00 บาท กำหนดวันจองซื้อหุ้นในระหว่างวันที่ 21-23 ก.ย. 64 และคาดว่าหุ้น CPANEL จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (PROPCON) วันที่ 30 ก.ย. 64 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า CPANE

นายชาคริต ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ CPANEL กล่าวว่า บริษัทจะนำเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ไปใช้ก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ด้วยระบบการผลิต Fully Automated รองรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต โดยมีระยะเวลาก่อสร้างในช่วงไตรมาส 2/65 ถึงไตรมาส 4/66 คาดการณ์เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายในไตรมาส 1/67 รวมถึงชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงินและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

บริษัทเชื่อมั่นว่าตลาด Precast Concrete จะขยายตัวได้อีกมาก ทั้งในส่วนของอสังหาริมทรัพย์แนวราบและแนวสูง ซึ่งเป็นโอกาสให้บริษัทขยายตลาดและมีคำสั่งซื้อมากขึ้นจากมูลค่างานในมือ (Backlog) ณ 30 มิ.ย.64 อยู่ที่ 1.15 พันล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ใน 3 ปี โดย Precast Concrete ของ CPANEL มีการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบการจัดการ ระบบการผลิต และระบบการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการขนส่งที่รวดเร็ว โดยการระดมทุนในครั้งนี้จะสามารถทำให้บริษัทเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

หลังการระดมทุนเสนอขาย IPO ในครั้งนี้ บริษัทจะนำเงินไปลงทุนก่อสร้างโรงงานเพิ่มเติมอีก 1 โรงงานรวมค่าก่อสร้างโรงงาน ค่าเครื่องจักรการผลิตระบบ Fully Automated และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ติดตั้งเครื่องจักร และการทดสอบระบบการทำงาน (Commissioning Tests) จำนวน 100-150 ล้านบาท ชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงิน จำนวน 50-100 ล้านบาท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ จำนวน 20.40 ล้านบาท