ก.ล.ต.แพ้รบหุ้นปั่น / สุนันท์ ศรีจันทรา

ก.ล.ต.แพ้รบหุ้นปั่น / สุนันท์ ศรีจันทรา

  • 0 ตอบ
  • 84 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Shopd2

  • *****
  • 2300
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


ก.ล.ต.แพ้รบหุ้นปั่น / สุนันท์ ศรีจันทรา
« เมื่อ: กันยายน 14, 2021, 11:59:44 am »


ตลาดหุ้นปีนี้ กำลังย้อนยุคสู่ช่วงระหว่างปี 2530-2535 หรือยุคที่ “เสี่ยสอง” หรือนายสอง วัชรศรีโรจน์ นักลงทุนรายใหญ่ชื่อดังกระฉ่อน เพราะมีการปั่นหุ้นกันอย่างโจ๋งครึ่ม เย้ยหยัดตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ยุคเสี่ยสอง มีการปั่นหุ้นนับสิบตัว โดยมาตรการในการสกัดหุ้นปั่นขณะนั้นคือ การขึ้นเครื่องหมาย “NP” เพื่อเตือนนักลงทุน และมาตรการ” SP” พักการซื้อขายหุ้น

ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ใช้มาตรการกำกับการซื้อขาย เพื่อดับร้อนหุ้น โดยกำหนดให้ซื้อหวยออนไลน์ซื้อหุ้นด้วยเงินสด ถ้าไม่ได้ผล จะยกระดับมาตรการให้เข้มข้นขึ้น โดยห้ามคำนวณวงเงินซื้อขายและห้ามหักกลบชำระค่าซื้อขายหุ้นในวันเดียวกัน หรือห้ามเนทเซทเทิ้ลเม้นท์

แต่หุ้นที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายการสร้างราคาดื้อยา โดยยังมีการลากราคาขึ้นสวนมาตรการกำกับ ทำให้ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ต้องคุมขมับ และกำลังหามาตรการใหม่ เพื่อสยบหุ้นปั่น

เพราะถ้าปล่อยให้ปั่นหุ้นกันอย่างโจงครึ่มต่อไป ปล่อยให้หุ้น 10 ตัว 1 บาทอาละวาดโดยควบคุมไม่ได้ ตลาดหุ้นจะแปลงสภาพเป็นบ่อนการ.เช่นเดียวกับยุคเสี่ยสอง

การปั่นหุ้นน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว นับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2535 เพราะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข็มงวดกับแก๊งปั่นหุ้น

ยุคของเสี่ยสองต้องสิ้นสุดลงหลังมี ก.ล.ต. หุ้นปั่นต้องสยบ เพราะการใช้มาตรการดับหุ้นร้อนที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่กระบวนการกล่าวโทษใช้เวลาที่รวดเร็วมาก

มาตรการดับร้อนหุ้นปั่นในช่วงนั้น นอกเหนือจากการแขวนป้าย NP และ SP แล้ว หากแก๊งปั่นหุ้นยังหัวดื้อ เจ้ามือหุ้นยังไม่ยอมสยบ และลากราคาหุ้นต่อ ตลาดหลักทรัพย์จะออกมาให้ข่าวว่า กำลังเข้าตรวจสอบหุ้นที่มีพฤติกรรมปั่น และสั่งให้โบรกเกอร์ ส่งข้อมูลคำสั่งซื้อขายหุ้นที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบมาให้

นอกจากนั้นหุ้นตัวใดที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายสร้างราคา ตลาดหลักทรัพย์ประกาศจะส่งข้อมูลให้ ก.ล.ต. ดำเนินการสอบสวนต่อ เพื่อรวบรวมหลักฐานกล่าวโทษ

เพียงแค่ออกข่าวว่าจะเข้าตรวจสอบ และสั่งให้โบรกเกอร์ส่งข้อมูลคำสั่งซื้อขายของลูกค้ามาให้ตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น นักลงทุนรายย่อยก็แห่เทขายหุ้นทิ้ง จนเจ้ามือหรือนักลงทุนขาใหญ่ลากหุ้นต่อไม่ไหว เกมปั่นหุ้นก็ต้องปิดฉากลง โดยเจ้ามือหรือขาใหญ่ยังขายหุ้นออกไม่ทัน และต้อง “ติดหุ้น”เสียเอง

ไม่เข้าใจว่า ทำไมผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบัน จึงไม่นำมาตรการที่เข้มข้นในอดีตมาใช้ เพื่อสยบหุ้นตัวเล็กตัวร้ายนับร้อยตัวที่กำลังปั่นกันอย่างสนุกสนาน

เช่นเดียวกับกระบวนการกล่าวโทษการปั่นหุ้น ซึ่งไม่เข้าใจว่า ทำไมจึงใช้เวลายาวนานนับ โดยการลงโทษการปั่นหุ้นกรณีล่าสุด บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NBC ซึ่งปั่นหุ้นกันตั้งแต่กลางปี 2559

แต่ ก.ล.ต.เพิ่งกล่าวโทษเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยใช้เวลารวบรวมหลักฐานถึง 5 ปีเต็ม

ก.ล.ต.ยุคแรก ช่วงนายเอกกมล คีรีวัฒน์ เป็นเลขาธิการคนแรก ใช้เวลาไม่ถึง 1 ปี สามารถรวบรวมหลักฐานและกล่าวโทษหุ้นปั่นได้ และกล่าวโทษหุ้นปั่นพร้อมกันถึง 4 ตัว

หุ้นธนาคารนครหลวง หุ้นบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด หรือ KMC หุ้นบริษัทเงินทุน เฟิร์สซิตี้ อินเวสเมนท์ จำกัด หรือ FCI ฉายาหุ้นฟ้าใส หุ้นบริษัท รัตนะการเคหะ จำกัด หรือ RR ถูกกล่าวโทษพร้อมกันในวันที่ 26 เมษายน 2536 โดยหุ้นทั้ง 4 ตัวมีการปั่นกันในช่วงกลางปี 2535 ถึงต้นปี 2536

ตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต.ยุคนายเอกกมล ใช้เวลาไม่ถึง 1 ปี สามารถกล่าวโทษได้ แม้ในจำนวนผู้ถูกล่าวโทษ 30 ราย ซึ่งมีกลุ่มคุณหญิงพัชรี ว่องไพฑูรย์ หรือ รัตตกุล และนายวิชัย กฤษดาธานนท์ ร่วมอยู่ด้วย จะมีเพียงเสี่ยสองคนเดียวที่ถูกตัดสินจำคุกก็ตาม

เพียงแต่เสี่ยสองหลบหนีเข้า ๆ ออก ๆ ระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่ถูกจับกุมจนคดีหมดอายุความ และวันนี้ยังวนเวียนอยู่ในตลาดหุ้น

มาตรฐานการตรวจสอบ รวบรวมหลักฐาน และการกล่าวโทษหุ้นปั่นถือว่าตกต่ำลงมาก เพราะเฉลี่ยแต่ละคดี ใช้เวลา 3-5 ปี ซึ่งสาธารณชนไม่เข้าใจว่า ทั้งตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต.ทำอะไรกันอยู่

ทำไมจึงงุ่มง่าม ทำให้การดำเนินคดีล่าช้า จนกฎหมายไร้ความศักดิ์สิทธิ์ มิจฉาชีพในตลาดหุ้นไม่เกรงกลัว โดยเจ้ามือหุ้นบริษัทจดทะเบียนนับร้อยแห่งปั่นหุ้นเยาะเย้ย ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์

การตรวจสอบข้อมูลการซื้อขายหุ้น ตลาดหลักทรัพย์ไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 เดือน ก่อนส่งเรื่องให้ ก.ล.ต.สอบสวนข้อมูลในเชิงลึกต่อ

ส่วน ก.ล.ต. ก็ไม่ควรใช้เวลาเกิน 6 เดือน ในการสอบสวนข้อมูล รวบรวมหลักฐาน ก่อนจะกล่าวโทษกับกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ

ไม่รู้ว่า กระบวนการล่าสุดช้าในจุดใด และหน่วยงานไหน จึงทำให้การกล่าวโทษคดีหุ้นปั่นจึงล่าช้าจนคนลืม

ไม่รู้ว่า ทำไมมาตรฐานในการสยบหุ้นปั่น จึงต่ำลง ทั้งที่ในอดีตมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพสยบหุ้นปั่นจนอยู่หมัด

ผู้บริหาร ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ จะต้องทบทวนแล้วว่า ทำไมแก๊งปั่นหุ้นจึงเหิมเกริม

และทำไม่จึงสยบเจ้ามือที่ปั่นหุ้นเย้ยหยันกฎหมายไม่ได้เสียที

(วันพรุ่งนี้ อ่านศักดิ์ศรี และสำนึกของกรรมการบริษัทจดทะเบียนที่ปั่นหุ้น)