เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว ที่สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไปในรูปแบบที่หลายคนอาจจะคาดไม่ถึงในหลากมิติ
ไม่ว่าจะเป็นสภาพทางการเงินการทำงาน การศึกษา ไปจนถึงเรื่องของความสัมพันธ์และวิถีการใช้ชีวิตในแต่ละวัน นี่ยังไม่รวมถึงเรื่องของสุขภาพที่เป็นผลมาจากเรื่องของไวรัสโดยตรง
เราทุกคน ไม่ว่าจะสามารถปรับตัวได้ดีขนาดไหน ก็ล้วนเผชิญกับความท้าทายในเรื่องของสุขภาพจิตอันเป็นผลมาจากความเครียด ความไม่แน่นอน และความโดดเดี่ยวที่เกิดจากสถานการณ์โรคระบาดนี้ ผลกระทบมหาศาลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มคนที่อาจจะถูกจัดว่าเป็นกลุ่มชายขอบของสังคม ได้ก่อให้เกิดอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงมากทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การให้ความสำคัญต่อเรื่องของสุขภาพจิตที่อาจจะยังไม่เพียงพอ และทรัพยากรที่กระจายไปอย่างไม่เท่าเทียมทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้คนจะต้องมีช่องทางอื่นๆ เพื่อเข้าถึงความช่วยเหลือ หลายคนหันไปหาความช่วยเหลือผ่านช่องทางออนไลน์ และเรามีข้อกำหนดและแนวทางที่ชัดเจนเพื่อรับมือกับความต้องการจากชุมชนบนแพลตฟอร์มของเรา
เมื่อวานนี้ (วันศุกร์ที่ 10 กันยายน) เป็น
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกหรือ World Suicide Prevention Day ซึ่งปีนี้อยู่ใต้แนวความคิด “การสร้างความหวัง ผ่านการลงมือทำ” (Creating Hope Through Action) และเป็นการย้ำเตือนเราทุกคนว่าการกระทำของเราสามารถสร้างความหวังให้กับใครก็ตามที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่ก็ได้
ช่วยสนับสนุนชุมชนของเรา
เอ็นลุนด์Safety Policy Manager, Facebookเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าเราให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้งานของเราเป็นอย่างมาก เรามีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานป้องกันการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเองอยู่เสมอเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างข้อกำหนดและนโยบายการใช้งานของเรา เราทำงานร่วมกับหลากหลายองค์กรทั่วโลกเพื่อมอบความช่วยเหลือให้กับผู้ที่กำลังอยู่ในความทุกข์ ซึ่งรวมไปถึงสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทยด้วย
เราไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานแสดงออกถึงการเชิดชูหรือส่งเสริมการทำร้ายตนเองหรือการฆ่าตัวตาย บน Facebook และ Instagram อย่างไรก็ตามเราเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้พูดถึงเรื่องเหล่านี้บนแพลตฟอร์มของเราได้ เพราะเราต้องการให้ผู้คนมีพื้นที่ในการแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ สร้างการรับรู้ในเรื่องสำคัญๆ และหากำลังใจหรือการสนับสนุนระหว่างกัน
เมื่อผู้ใช้งานเห็นโพสต์ที่อาจจะแสดงว่าเพื่อนกำลังต้องการความช่วยเหลือ สามารถทำการรายงานเนื้อหานั้นๆ เพื่อที่เราจะสามารถติดต่อไปยังบุคคลคนนั้นพร้อมข้อมูลที่อาจจะเป็นประโยชน์กับเขา เช่น เบอร์ติดต่อของหน่วยงานในพื้นที่ หรือให้ติดต่อไปยังบุคคลที่เขาไว้วางใจ เรามีเบอร์สายด่วนเพื่อรับมือปัญหาเหล่านี้กว่า 100 รายการ ซึ่งรวมไปถึงสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทยด้วย ที่ศูนย์ข้อมูลโควิด-19
นอกจากนี้เรายังมีการสนับสนุนในรูปแบบไลฟ์แชท ที่ผู้ใช้งานสามารถแชทกับองค์กรด้านวิกฤติผ่าน Messenger ได้ รวมถึงมีการแสดง pop-up เพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเมื่อมีการโพสต์เนื้อหาหรือการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตนเอง นอกจากนี้เรามีแหล่งข้อมูลการป้องกันการฆ่าตัวตาย สำหรับคนที่อาจจะคิดฆ่าตัวตาย หรือมีเพื่อนที่น่าจะได้ประโยชน์จากข้อมูลในการป้องกันเหล่านี้
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หนึ่งในวิธีการป้องกันการฆ่าตัวตายที่ดีที่สุดคือการที่คนที่อยู่ในความทุกข์ได้พูดคุยกับคนที่ห่วงใยพวกเขา และด้วยบทบาทของ Facebook และ Instagram ในการเชื่อมต่อผู้คน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมช่วยสร้างการกระทำที่ดี สร้างความหวัง และช่วยให้ผู้คนได้รับการสนับสนุนที่ควรได้รับ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราทำที่ Facebook เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาเท่านั้น การฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเองเป็นเรื่องที่ซับซ้อนของสังคม และจำเป็นที่จะต้องได้รับการร่วมมือจากทุกภาคส่วน พวกเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเทคโนโลยี รัฐบาล องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร สถาบันการศึกษา และประชาชนทุกคน ล้วนมีบทบาทในการร่วมสร้างความหวังให้กับสังคมผ่านการกระทำของพวกเรา
คุณจะร่วมสร้างความหวังได้อย่างไร
เราทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันการฆ่าตัวตายเพื่อที่จะทำความเข้าใจแนวทางที่เราจะสามารถช่วยเหลือผู้ที่กำลังมีความคิดดังกล่าวได้
“การเปิดใจฟังเป็นสิ่งสำคัญ” ตระการ เชนศรี นายกสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่ผู้คนสามารถติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจว่า
“โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อทุกคนบนโลกมาเกือบสองปีแล้ว ผู้คนมีความเครียดมากขึ้น และส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูงขึ้นตามไปด้วย สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทยเองได้รับสายจากผู้ที่ต้องการติดต่อในเรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตายสูงขึ้นมาก และผู้ที่โทรเข้ามาส่วนมากได้ระบุว่าโควิด-19 เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความเครียดจึงติดต่อเข้ามา ผู้คนที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตายมักจะรู้สึกโดดเดี่ยว เหมือนถูกปล่อยให้เผชิญปัญหาเพียงลำพัง ดังนั้นการให้กำลังใจและเข้าใจกันถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย และเวลานี้ก็เป็นเวลาที่เราทุกคนต้องพูดถึงปัญหาดังกล่าว พวกเราทุกคนสามารถช่วยผู้คนที่กำลังต้องการความช่วยเหลือได้ ด้วยการเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังด้วยความเข้าใจ ไม่ตัดสิน และแสดงให้คนที่เผชิญปัญหาได้รู้ว่าเราพร้อมจะเปิดใจยอมรับพวกเขาโดยไม่มีเงื่อนไข”
ดังนั้นหากคุณเป็นห่วงว่าคนที่คุณรู้จักกำลังเผชิญปัญหาดังกล่าว หรือปัญหานี้กำลังเกิดขึ้นกับคุณเอง สามารถช่วยติดต่อหรือให้หมายเลขสายด่วนกับพวกเขา
เราหวังว่า Facebook จะเป็นหนึ่งในช่องทางที่สามารถช่วยคุณได้ ขอให้รู้ว่าคุณสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้เสมอ สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย เบอร์ติดต่อ 02-713-6793
4 หลักการสำคัญที่ควรคำนึงถึงเสมอที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้หากประสบปัญหา หรือว่ามีเพื่อนหรือคนรู้จักที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ
1. การติดต่อกันเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในช่วงเวลาที่หลายๆ คนยังต้องรักษาระยะห่าง และทุกคนสามารถร่วมสร้างความหวังให้กับคนอื่นด้วยการกระทำง่ายๆ เช่นการส่งข้อความไปหา ทักทาย ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการแสดงให้พวกเขารู้ว่ายังมีคนที่คิดถึงพวกเขาอยู่
2. ผู้คนที่กำลังเผชิญปัญหา อาจจะอยากมีคนรับฟัง รับรู้และเข้าใจเรื่องราวของเขา Facebook มีแนวทางบทสนทนาที่แนะนำในแหล่งข้อมูลการป้องกันการฆ่าตัวตายของเรา เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้นำไปปรับใช้เพื่อพูดคุยกับเพื่อนในเรื่องที่เขากำลังเผชิญ ซึ่งถือเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังเจอกับปัญหาอย่างมาก การเป็นผู้ฟังที่ดี เปิดพื้นที่ให้พวกเขาได้ระบาย รวมถึงถามไถ่กันเป็นระยะล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น
3. หากคุณคิดว่าใครก็ตามกำลังอยู่ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยง ควรติดต่อหน่วยงานในพื้นที่เพื่อขอความช่วยเหลือทันที
4. การพูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ แต่การช่วยให้พวกเขาได้เข้าถึงการช่วยเหลือในขั้นต่อไปก็สำคัญไม่แพ้กัน