GISTDA ชูเทคโนโลยีอวกาศ ร่วมปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน

GISTDA ชูเทคโนโลยีอวกาศ ร่วมปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน

  • 0 ตอบ
  • 107 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันนี้ (10 ก.ย.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA จัดสัมมนารูปแบบ online ในหัวข้อ “เทคโนโลยีอวกาศสู่การบริหารจัดการภาคการเกษตร” เพื่อนำเสนอการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนในรูปแบบการผลิตบัณฑิตในโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และให้คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดในการจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการเกษตร

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีแนวทางการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนในรูปแบบการผลิตบัณฑิตโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ของคณะเกษตรศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯ ซึ่งได้เน้นการสร้างคนที่มีคุณภาพ ไม่จำเป็นต้องเน้นที่จำนวนผู้เรียน อีกทั้งมีแนวทางในการปรับหลักสูตรให้เป็น BCG และสร้างแรงผลักดันในการเรียนให้เกิดขึ้นต่อผู้เรียน โดยเน้นให้ฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และสร้างความร่วมมือภายในกระทรวงการอุดมศึกษาฯ สถาบันอุดมศึกษาด้วยกันเองได้ใช้และแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกัน

ดร.ปกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา GISTDA มีภารกิจ บทบาทที่สำคัญในการให้บริการข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงต่างๆ ขับเคลื่อนงานที่เกี่ยวข้องระดับประเทศ รวมทั้งส่งเสริม พัฒนาและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆ และนำไปต่อยอดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้ได้พัฒนากำลังคนในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ สร้างความตระหนักรู้ ให้เข้าใจและรับรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศแก่บุคลากรทุกระดับ และเพื่อสนับสนุนให้พัฒนาประเทศให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และการสัมมนาในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัยทั่วประเทศรวมไปถึงประชาชนทั่วไปให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 500 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนในรูปแบบการผลิตบัณฑิตโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อให้คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยนำข้อมูลไปใช้ในต่อยอดในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้สนับสนุนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการในภาคการเกษตรเพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศพร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของกลุ่มเป้าหมาย และ GISTDA ยินดีให้การสนับสนุนงานทางด้านนี้อย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป