ธ.ก.ส. จัดสินเชื่อหนุนการปลูกกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

ธ.ก.ส. จัดสินเชื่อหนุนการปลูกกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนสินเชื่อปลูกกัญชา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และการศึกษาวิจัยพัฒนา ผ่านสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี หรือล้านละร้อย หรือสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจ โดยผู้กู้ต้องจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตรที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีการจัดทำ MOU ในการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลระหว่างผู้ขอกู้กับหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษา และได้รับใบอนุญาตให้ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา จาก อย. สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจในการปลูกพืชกัญชา เพื่อนำไปศึกษาวิจัยและพัฒนาสำหรับการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรมเป็นจำนวนมาก อีกทั้งตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มีผลบังคับให้สามารถนำกัญชาไปใช้ในกรณีจำเป็น เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย รวมถึง การเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม ภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของหน่วยงานของรัฐ ในการนี้ เพื่อรองรับความต้องการเพาะปลูกกัญชาที่เพิ่มขึ้น ธ.ก.ส. จึงได้มีแนวทางสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการปลูกกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัยพัฒนา และสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรและชุมชน อย่างไรก็ตาม การผลิตกัญชาซึ่งเป็นพืชที่มีความเสี่ยงสูงและถือเป็นยาเสพติดให้โทษ จึงจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลและดำเนินการภายใต้กฎหมาย ข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องมีการบริหารจัดการทั้งด้านการผลิต การเก็บรักษา และการตลาดเป็นการเฉพาะ



สำหรับคุณสมบัติของผู้ขอกู้ ต้องเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตรที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลระหว่างผู้ขอกู้กับหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนหรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด และต้องได้รับใบอนุญาตให้ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)