ข่าวดี!! จีนยอมเลื่อนบังคับใช้ระเบียบใหม่ขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้า

ข่าวดี!! จีนยอมเลื่อนบังคับใช้ระเบียบใหม่ขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้า

  • 0 ตอบ
  • 72 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ตามที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ออกประกาศผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) แจ้งการออกกฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ (Decree 248) เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา โดยจะผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 นั้น มกอช. ในฐานะหน่วยงานกลางด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของไทย ได้รวบรวมข้อคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งยังได้แจ้งสอบถาม ติดตามสถานะ และแสดงความกังวลเรื่องการบังคับใช้ระเบียบดังกล่าวต่อจีนร่วมกับประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก และในเวทีที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบดังกล่าวเป็นกฎระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ มีสาระสำคัญกำหนดให้ผู้ส่งผลิตอาหารจากต่างประเทศ ต้องขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานผู้กำกับดูแลของประเทศผู้ส่งออก หรือขึ้นทะเบียนกับกระทรวงการศุลกากรของจีน (GACC) โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามชนิดของสินค้า ซึ่งนิยามของผู้ผลิตอาหารในระเบียบดังกล่าว ครอบคลุมทั้งสถานประกอบการผลิต แปรรูป และเก็บรักษาอาหาร แต่ไม่รวมวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additives) และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (Food Related Products) เช่น วัสดุบรรจุภัณฑ์ ภาชนะบรรจุอาหาร สารซักฟอก/สารฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับอาหาร และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือเตรียมอาหาร

สำหรับกลุ่มสินค้าที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานผู้กำกับดูแล (Competent Authority) ของประเทศผู้ส่งออก ประกอบด้วยสินค้า 20 ประเภท ได้แก่ (1) เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ (2) ผลิตภัณฑ์ไส้สำหรับบรรจุไส้กรอก (3) ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (4) ผลิตภัณฑ์นม (5) รังนกและผลิตภัณฑ์จากรังนก (6) ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง (7) ไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่ (8) น้ำมันและไขมันสำหรับการบริโภค (9) เมล็ดพืชน้ำมัน (10) ผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีสำเร็จรูป (11) เมล็ดธัญพืชสำหรับการบริโภค (12) ผลิตภัณฑ์เมล็ดธัญพืชบดและมอลต์เพื่อการอุตสาหกรรม (13) ผักสดและผักอบแห้ง (14) ถั่วอบแห้ง (15) เครื่องปรุงรส (16) ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืช (17) ผลไม้แห้ง (18) เมล็ดกาแฟและเมล็ดโกโก้ที่ยังไม่ผ่านการคั่ว และ (19)อาหารสำหรับวัตถุประสงค์พิเศษ และ (20) อาหารเพื่อสุขภาพ

ผู้ผลิตอาหารอื่นที่ไม่ใช่อาหารที่อยู่ใน 20 รายการข้างต้น กำหนดให้ผู้ผลิตต้องขึ้นทะเบียนกับ GACC โดยตรง หรือดำเนินการผ่านตัวแทน นอกจากนี้ ระเบียบดังกล่าวยังกำหนดให้สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนจะต้องแสดงหมายเลขทะเบียนที่ได้รับจากจีนหรือได้รับจากหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศผู้ส่งออก โดยต้องแสดงทั้งบนบรรจุภัณฑ์ภายในและภายนอกของอาหารที่ส่งออกมายังจีน

“ทั้งนี้ ล่าสุด จีนได้ประกาศในการประชุม WTO/SPS ครั้งที่ 80 เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2564 ว่า จีนจะเลื่อนระยะเวลาการบังคับใช้ (Transition Period) ของระเบียบ 248 ให้กับประเทศผู้ส่งออกทุกประเทศออกไปอีก 8 เดือน และเน้นย้ำว่าระเบียบดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อการดำเนินการตามข้อตกลง/พิธีสารที่ได้เคยมีการลงนามร่วมกัน เนื่องจากประเทศคู่ค้าของจีนหลายประเทศได้แสดงความกังวลและมีข้อคิดเห็นทักท้วงต่อระเบียบ 248 อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม สถานประกอบการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนก่อนการประกาศใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว และเลขทะเบียนยังไม่หมดอายุ สามารถส่งสินค้าออกไปจีนได้จนกระทั่งหมดอายุการอนุญาต จากนั้นให้ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศภายใต้ระเบียบฉบับนี้ต่อไป”เลขาธิการ มกอช. กล่าว