กรมควบคุมโรค แจงการจัดสรรวัคซีนในแต่ละกลุ่มอายุเป็นไปตามหลักฐาน

กรมควบคุมโรค แจงการจัดสรรวัคซีนในแต่ละกลุ่มอายุเป็นไปตามหลักฐาน

  • 0 ตอบ
  • 93 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





วันนี้ (3 ก.ย.) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้พิจารณาและให้การรับรองวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ว่า มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล มีความปลอดภัย มีประสิทธิผล และอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งช่วงแรกแผนการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด 19 ระยะที่ 1 พิจารณาให้วัคซีนซิโนแวคกับกลุ่มอายุ 18-59 ปี ประกอบกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีข้อมูลการศึกษาวิจัยว่า สามารถให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปได้ จึงกำหนดให้ฉีดในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ต่อมามีการศึกษาความปลอดภัยของวัคซีนซิโนแวคมากขึ้น องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำให้ใช้ในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป และไม่ได้กำหนดอายุสูงสุด

“ด้วยผลการศึกษาทางวิชาการที่ออกมาใหม่ จึงมีข้อบ่งชี้ว่าสามารถใช้วัคซีน 2 ชนิด ทั้งซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้าได้ในกลุ่มอายุ 18 ปี ซึ่งรวมถึงกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปเช่นกัน ดังนั้น ขอย้ำว่า การให้วัคซีนโควิดทั้งสองชนิด เป็นการอ้างอิงจากหลักฐานทางวิชาการมาสนับสนุน โดยคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีการศึกษาและพิจารณาข้อมูลวิชาการอย่างรอบด้าน จึงเลือกวัคซีนที่มีประสิทธิผล และความปลอดภัยมาให้แก่ประชาชน” นายแพทย์โอภาสกล่าว

นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีผลการศึกษาทางวิชาการจากหลากหลายประเทศ รวมทั้งประเทศจีนถึงการฉีดวัคซีนซิโนแวคในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมทั้งประเทศไทยมีการศึกษาการใช้ซิโนแวค 2 เข็ม โดยกรมควบคุมโรค ร่วมกับหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประเมินผลและประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนซิโนแวค เช่น ที่ จ.ภูเก็ต พบว่าสามารถป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตได้ 90.6% ส่วนที่ จ.สมุทรสาคร พบว่าป้องกันโรคได้ 90% และเมื่อมีการระบาดในบุคลากรสาธารณสุข จ.เชียงราย มีประสิทธิผลป้องกันโรคได้ 82% นอกจากนี้กองระบาดวิทยาได้สรุปผลการฉีดวัคซีนภาพรวมตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 2564 พบว่าสามารถป้องกันโรค 75% ป้องกันป่วยหนักเสียชีวิตได้มากกว่า 80% ยืนยันว่าซิโนแวคมีประสิทธิภาพทั้งการใช้จริงและในห้องทดลอง รวมทั้งสายพันธุ์เดลตาได้ทำการประเมินประสิทธิผลวัคซีนต่อเนื่องพบว่าการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ได้ผลดีขึ้นกว่าเดิม 3 เท่า

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ส่วนการฉีดวัคซีนไขว้ ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนสูตรหลักของประเทศไทย ณ ขณะนี้ ซึ่งผลการศึกษาของไทยที่ผ่านมากรณีการฉีดวัคซีนไขว้เข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค และเข็มที่ 2 แอสตร้าเซนเนก้า พบว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูงขึ้น โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา อีกทั้ง การฉีดวัคซีนไขว้ ยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูงและเร็วกว่าฉีดซิโนแวค 2 เข็ม หรือแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มถึง 3 เท่า และใช้เวลาฉีดครบทั้ง 2 เข็มเพียง 3 สัปดาห์ ทำให้การฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรได้เร็วขึ้น ดังนั้น วัคซีนซิโนแวค จึงมีประสิทธิภาพ และเมื่อนำมาฉีดร่วมกับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นสูตรไขว้ ก็พบว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเช่นกัน