เปิดภารกิจ ‘ดนันท์ สุภัทรพันธุ์’ 100 วันบนเก้าอี้กจญ.ไปรษณีย์ไทย

เปิดภารกิจ ‘ดนันท์ สุภัทรพันธุ์’ 100 วันบนเก้าอี้กจญ.ไปรษณีย์ไทย

  • 0 ตอบ
  • 90 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ส่องภารกิจ ‘ดนันท์ สุภัทรพันธุ์’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท)คนใหม่ นับตั้งแต่วันรับตำแหน่ง เมื่อ 17 พ.ค.2564 กับความท้าทายท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่ต้องบริหารงานให้สามารถทำงานได้แบบไม่สะดุดเพื่อบริการทั้งประชาชนและตอบสนองการทำงานกับหน่วยงานรัฐในฐานะรัฐวิสาหกิจของไทยรวมถึงโรดแมปในการบริหารงานเพื่อนำพาไปรษณีย์ไทยก้าวสู่องค์กรดิจิทัล

***ก้าวไปพร้อมกันกับพนักงานและสหภาพฯ
​แม้ว่าก่อนการเข้ารับตำแหน่งของ ‘ดนันท์ สุภัทรพันธุ์’ นั้นเขาได้รับแรงต้านจากพนักงานและสหภาพแรงงานบ้างไม่มากก็น้อยในข้อสงสัยถึงตัวผู้บริหารที่มาจากคนนอก ทั้งที่จริงแล้วเขาเองไม่ได้ข้ามห้วยมาจากที่อื่นแต่อย่างใด หากเขาเป็นผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดจากบริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด (มหาชน) ซึ่งล่าสุดได้ควบรวมกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)เป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT จึงนับว่าเขาเป็นผู้บริหารที่อยู่ใกล้ชิดกับไปรษณีย์มานาน และไม่ใช่คนอื่นไกลแต่อย่างใด

​‘ผมกับสหภาพฯและพนักงานทำงานและมีความเข้าใจกันอย่างดี’ ดนันท์ อธิบายพร้อมกล่าวเสริมว่า มีการสื่อสารกับคนไปรษณีย์ไทยผ่านช่องทางการสื่อสารภายใน ทั้งสื่อออฟไลน์และออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการดำเนินงานขององค์กร เพื่อสร้างการรับรู้ ทำความเข้าใจร่วมกันและพร้อมก้าวเดินไปพร้อมกัน

​รวมทั้งเปิดกว้างในการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่สุด มีการพูดคุยแบบ Liveสด ผ่านช่องทาง Facebook ภายใน โดยเฉพาะกับสหภาพฯนั้น มีการทำงานร่วมกันตลอดทุกหัวข้อ อาทิ ระบบงานการให้บริการ การพัฒนาระบบไอที การดูแลสวัสดิการและขวัญกำลังใจของบุคลากรโดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมมือกันในการขับเคลื่อนงานให้มีประสิทธิภาพสนับสนุนการเติบโตก้าวหน้าของไปรษณีย์ไทย
***การบริหารความท้าทายช่วงโควิด-19 สู่ความเป็นที่ 1 



​‘ดนันท์’ ยอมรับว่าในช่วงเวลา 100 วันนับจากที่เขาได้รับตำแหน่งนั้น มีความท้าทายที่ต้องเผชิญเฉกเช่นกับองค์กรอื่นๆ นั่นคือ การบริหารงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากไปรษณีย์ไทยเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ดังนั้นในฐานะหน่วยงานการสื่อสารและขนส่งของชาติ จึงต้องมีแผนงานการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการกับลูกค้าและประชาชนได้อย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ โดยไปรษณีย์ไทยมุ่งเน้นดูแลลูกค้าและสนับสนุนให้สังคมไทยได้เติบโตขึ้นได้ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นปัจจุบัน จึงได้พยายามพัฒนาบริการต่างๆให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมและดีที่สุดซึ่งหากทำสำเร็จ รายได้การเติบโตรวมถึงการเป็นอันดับหนึ่งในตลาดจะตามมาเอง

​ดังนั้น สิ่งที่ไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกคือความปลอดภัยของคนไปรษณีย์ เพราะนั่นคือความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้บริการด้วย หากที่ทำการไปรษณีย์ใดพบเจ้าหน้าที่ติดเชื้อ จะพิจารณาปิดบริการชั่วคราวตามความจำเป็นเพื่อทำความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานและจัดเจ้าหน้าที่ชุดใหม่มาปฏิบัติงานแทนพร้อมทั้งกำชับให้เจ้าหน้าที่เว้นระยะห่างแยกกันรับประทานอาหาร ห้ามจับกลุ่มคุยกันอย่างใกล้ชิด

​นอกจากนี้ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งจะให้บริการเจลล้างมือแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่าง เคาน์เตอร์มีการทำความสะอาดจุดสัมผัสทุก 20 นาทีเจ้าหน้าที่ต้องสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ตลอดเวลาระหว่างให้บริการ ศูนย์ไปรษณีย์มีการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนรถขนส่งและพัสดุทุกชิ้น และสำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการลงนามรับสิ่งของ สามารถแจ้งให้บุรุษไปรษณีย์บันทึกชื่อ-นามสกุล แทนการลงนามได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ

*** เปิดผลงาน 3 เดือน มุ่งบริการสังคม



สำหรับผลงาน 3 เดือนหลังเข้ารับตำแหน่งนั้นเพราะในช่วงโควิด-19 จึงได้เห็นผลงานในการช่วยเหลือสังคมเป็นหลักได้แก่ 1.การลดค่าส่ง EMSเพื่อลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ พิกัดน้ำหนักตั้งแต่เกิน 2 กิโลกรัมขึ้นไป 2.ส่งผลไม้ราคาเหมาเพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ส่งผลไม้สดถึงบ้านในราคาเหมาด้วยบริการ EMS เริ่มที่น้ำหนักไม่เกิน 3 กิโลกรัมในราคา 50 บาทสูงสุดได้ถึง 20 กิโลกรัม 3.การส่งเสริมให้สินค้าชุมชนและผลไม้ขายออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ให้วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และพ่อค้าแม่ค้าทั่วไปผ่านเว็บไซต์ thailandpostmart.com ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ รวบรวมสินค้าเกษตรและวิสาหกิจชุมชนที่ใหญ่ที่สุด มีสินค้ามากกว่า 17,000 รายการจากทุกภูมิภาคมีผู้ประกอบการกว่า 6,500 รายที่เข้าร่วมขายสินค้า

​4. การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของสินค้าและบริการโดยร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ยกระดับคุณภาพบรรจุภัณฑ์ตอบโจทย์ยุคโควิด-19 ลดความเสี่ยงในการเกิดความเสื่อมสภาพของสิ่งของที่บรรจุอยู่ภายในด้วยราคาที่คุ้มค่า คุ้มต้นทุน ช่วยให้ธุรกิจของผู้ประกอบการSMEs ร้านค้าออนไลน์ได้เติบโตขึ้น 5.การผนึกกับ Amazon เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ ผ่านโครงการ ‘เคียงคู่ผู้ลงมือทำ 2021’เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้กับผู้ประกอบการทุกธุรกิจ โดยนำความแข็งแกร่งด้านการขนส่งระดับชาติ มาผนึกกำลังกับแพลตฟอร์มการซื้อขายระดับโลกที่พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยอย่างAmazon Global Selling Thailand เริ่มต้นจากกิจกรรมการสัมมนาในหัวข้อ ‘Made in Thailand สร้างแบรนด์ไทย ส่งไกล ทั่วโลก’ เพื่อเพิ่มทักษะให้ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้สามารถเติบโตได้ในระดับโลกมากขึ้น และเตรียมขยายกิจกรรมเพิ่มเติมอื่นๆ ในระยะยาวต่อไป

​6.การต่อยอดธุรกิจด้วยเครือข่ายให้บริการที่เข้าถึงทุกครัวเรือน ร่วมกับบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)หรือ AIS ในการเพิ่มช่องทางให้บริการและอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถเติมเงินได้ถึงหน้าบ้านผ่านเครือข่ายบุรุษไปรษณีย์ เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือออกไปในพื้นที่ชุมชนได้และ 7.การร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการช่วยเหลือสังคม จัดตั้ง ‘ศูนย์พักคอย’ รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่เขตหลักสี่กรุงเทพมหานครเพื่อลดวิกฤตเตียงขาดแคลนจากปัญหาผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นจนโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามไม่สามารถรองรับได้ทัน อีกทั้งยังสนับสนุนการขนส่งสิ่งของจำเป็นทางการแพทย์ให้กับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

***กะเทาะโรดแมปการทำงานกจญ.คนใหม่



​ส่วนโรดแมปหรือแผนการทำงานของกจญ.คนใหม่นี้ ‘ดนันท์’ เล่าว่า จะเน้นการนำไปรษณีย์ไทยไปสู่รูปแบบดิจิทัล(Tech Post)โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานให้มากขึ้นซึ่งจะสามารถลดเวลาของงานที่ไม่จำเป็นออกไปได้ระบบไอทีจะช่วยสนับสนุนการทำงานต่างๆ เพื่อรวมรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการศึกษา พัฒนา และสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าประทับใจ มีการบอกต่อในทางที่ดี ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกับองค์กรต่อไป

​สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนไปรษณีย์ไทยคือ การยึดหลัก Customer Centric หมายถึงความเข้าใจลูกค้า พัฒนาการให้บริการช่องทางและสินค้าต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงความต้องการและพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภคเป็นสำคัญอีกทั้งยังต้องรักษาคุณภาพบริการให้ดีอย่างสม่ำเสมอ หากสามารถส่งมอบบริการที่ดีได้จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ เกิดการใช้ซ้ำและบอกต่อบริการของไปรษณีย์ไทย

​นอกจากนี้ไปรษณีย์ไทยได้เตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงช่องทางการส่งเอกสารที่สะดวกรวดเร็วซึ่งจะมาทดแทนการใช้บริการไปรษณีย์แบบดั้งเดิมจาก Physical mail ไปสู่ Digital Mail โดยมีการพัฒนาระบบ TDH (Total Document Handling - TDH) โดยไปรษณีย์ไทยจะเป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชนที่เป็นมาตรฐานมีระบบพิสูจน์ยืนยันตัวตน เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นอีเมลตัวจริงและสามารถกำหนดที่อยู่ที่ต้องการให้จัดส่งเอกสารได้

​รวมถึงการให้บริการ Pick-up service อำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ต้องการส่งสิ่งของโดยไปรับถึงบ้านผ่านทางไลน์ออฟฟิเชียล@ThailandPostโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขณะเดียวกันก็ยังมีการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ thailandpostmart อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ให้วิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร และแผนงานอีกชิ้นที่สำคัญคือการบริหารคลังสินค้าให้ครบวงจรตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า การหยิบและแพ็กสินค้า การจัดส่งและเก็บเงินปลายทาง(COD)ซึ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ ปัจจุบันได้เปิดคลังสินค้าครบวงจรในพื้นที่ภูมิภาคแล้ว 2 แห่งในพื้นที่อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และราชบุรีโดยมีแผนจะเปิดให้ครบทั้ง7แห่งภายในปี 2564

***จับมือเอกชนตั้งบริษัทรุกขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ

​อีกแผนงานหนึ่งที่สำคัญคือการหาพันธมิตรเพื่อมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งได้เริ่มต้นดำเนินการแล้วคือการลงนามร่วมกับ บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด(มหาชน)และบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัดเปิดบริการ ‘ฟิ้วซ์โพสต์’ (FUZE POST) เพื่อรุกธุรกิจขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิแบบด่วน (Cold Chain Express) ซึ่งตลาดนี้มีมูลค่าตลาดในปี2564 ประมาณ 34,000 ล้านบาทเติบโตปีละ 8% หรือคิดเป็นสัดส่วน 5% ของตลาดโลจิสติกส์ทั้งหมดและคาดการณ์ว่าการเติบโตของธุรกิจขนส่งรูปแบบนี้จะมีการเติบโตถึง 8-10% ในปี 2565จึงนับเป็นตลาดที่น่าสนใจไม่น้อย

​สำหรับบริการนี้พร้อมให้บริการ 1 ก.ย. 2564 โดยในระยะแรกจะเน้นให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและ 6 เส้นทางภูมิภาคคือ หนองคาย เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ตราด และบางละมุงเป็นหลักก่อนเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้ารูปแบบ B2B B2CและC2C ที่เป็นกลุ่มลูกค้าเดิมของทั้ง 3 บริษัทอยู่แล้วสำหรับลูกค้าใหม่จะเน้นการให้บริการแบบ Direct Pick-up เป็นหลักโดยเรียกใช้บริการผ่าน www.fuzepost.co.th และมีแผนจะเปิดให้บริการจุดรับฝาก (Drop off) ขยายเส้นทางขนส่งระหว่างภูมิภาคในเดือนมกราคม 2565 ด้วยการทำงานในรูปแบบบริษัทร่วมทุนกันของทั้ง 3 บริษัทในสัดส่วนถือหุ้นเท่าๆกันซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างแผนธุรกิจจึงยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ โดยเป้าหมายสำคัญในการทำงานร่วมกันนอกจากการรุกตลาดในประเทศไทยแล้วก็จะรุกตลาดประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ด้วย