อว. ร่วม สกสว. หารือนักวิจัย "การแพทย์และสาธารณสุข" ปลดล็อกข้อจำกัด 

อว. ร่วม สกสว. หารือนักวิจัย "การแพทย์และสาธารณสุข" ปลดล็อกข้อจำกัด 

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Prichas

  • *****
  • 2104
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมการประชุมหารือกับนักวิจัยกลุ่มแพทย์และสาธารณสุข นำโดยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะนักวิจัย ร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID) ปลดล็อกข้อจำกัดเพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและทันต่อสถานการณ์



โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า การประชุมหารือในครั้งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ สกสว. กับนักวิจัยกลุ่มต่าง ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือถึงแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำเสนอความคืบหน้าของการวิจัยในวันนี้ ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่างานวิจัยสำคัญต่อประเทศ ถือเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศในระยะยาว อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบวิจัยของประเทศร่วมกับ สกสว. ในการปลดล็อกระเบียบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการเงิน โดยวันนี้ได้รับฟังปัญหาและอุปสรรคในการทำงานจากนักวิจัยโดยตรง เพื่อให้ภาคนโยบายนั้นสามารถนำไปทำงานเพื่อปลดล็อกข้อจำกัดต่าง ๆ ในโอกาสต่อไป ในส่วนตัวเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ



ทางด้าน ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอภาพรวมงานวิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID) รวมถึงมีการเสนอแนวทางแก้ไขข้อจำกัดในการบริหารจัดการงานวิจัย ระบุว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีพื้นฐานด้านการวิจัย ซึ่งมีประสบการณ์ในการศึกษาวิจัยโรคระบาดในอดีตที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นมีความแตกต่างจากโรคระบาดอื่น ๆ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นได้ว่าในระยะแรกของการแพร่ระบาดยังขาดการใช้ข้อมูลทางด้านการแพทย์เพื่อประกอบการตัดสินใจด้านนโยบายบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ จากนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการการศึกษาวิจัยด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น โดยการทำงานร่วมกับหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (PMU) แต่ด้วยสถานการณ์เร่งด่วน ทำให้ในบางครั้งอาจจะมีข้อจำกัดในระเบียบด้านงบประมาณ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จึงมีแนวคิดเสนอการทำ Sandbox ด้านการแพทย์โดยเฉพาะการรับมือกับโควิด-19 เพื่อปลดล็อกระเบียบต่าง ๆ ทำให้นักวิจัยสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอการทดลองทางคลินิกของวัคซีนโควิด (Clinical Trials of Covid Vaccines) เผยความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 2 ปัจจุบันมีอาสาสมัครจำนวน 210 คน ซึ่งได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว 205 คน ส่วนใหญ่ไม่มีความกังวล โดยผลการทดสอบเบื้องต้นพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพ สร้างภูมิต้านทานมากกว่า 4 เท่าเกินกว่าร้อยละ 90 ของอาสาสมัคร 100 คน ยืนยันวัคซีนมีความปลอดภัย ซึ่งการทดลองในระยะที่ 2 นี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม จากนั้นจะเข้าสู่การทดลองในระยะที่ 3 ต่อไป



นอกจากนี้ การประชุมในวันนี้ยังมีการนำเสนอในหัวข้ออื่นๆ อาทิ Antigen Test Kit (ATK) for Covid and Infectious Diseases, บทบาทของเครือข่ายศูนย์วิจัยทางคลินิก ในการทดสอบ ยาและวัคซีน สำหรับการรักษาโควิด-19 และ Covid Consortium and Emerging Infectious Disease (EID) ซึ่งทีมนักวิจัยยังได้มีโอกาสในการสื่อสารปัญหาในการทำงานวิจัยถึงภาคนโยบาย ซึ่งต่อจากนี้ที่ประชุมจะได้ร่วมกันหาทางออกเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การพัฒนาประเทศ และแก้ปัญหาอันเป็นวาระเร่งด่วนของประเทศต่อไป