สื่อนอกห่วง ยอดติดเชื้อไวรัสของ ‘ไทย-อินโดนีเซีย’ จะดีดกลับขึ้นมาอีก

สื่อนอกห่วง ยอดติดเชื้อไวรัสของ ‘ไทย-อินโดนีเซีย’ จะดีดกลับขึ้นมาอีก

  • 0 ตอบ
  • 81 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 





ผู้เชี่ยวชาญเตือนการเริ่มปลดล็อกมาตรการเข้มงวด อาจทำให้ยอดผู้ติดเชื้อของไทยและอินโดนีเซียดีดกลับ เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนยังต่ำ ซ้ำเจอตัวกลายพันธุ์ที่ระบาดรวดเร็วอย่าง “เดลตา” ด้านอิสราเอลเดินหน้านโยบาย “อยู่กับโควิด” ด้วยการเปิดโรงเรียนวันแรกเมื่อวันพุธ (1 ก.ย.) ภายใต้ข้อกำหนดใหมให้นักเรียนต้องสวมหน้ากากป้องกัน และแสดงหลักฐานยืนยันผลตรวจเป็นลบ กรณีที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

หลังจากควบคุมการระบาดได้ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ ของโลกเมื่อปีที่แล้ว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับกลายเป็นศูนย์กลางการระบาดของโลกในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ จากการมาเยือนของตัวกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา

กระนั้น แม้จำนวนผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ ทว่า อินโดนีเซียและไทยกลับเริ่มผ่อนคลายคำสั่งห้ามรับประทานอาหารในร้านและยอมให้เปิดห้างสรรพสินค้าเพื่อผ่อนคลายผลกระทบทางเศรษฐกิจจากมาตรการล็อกดาวน์

ในวันอังคาร (31 ส.ค.) อินโดนีเซียรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ 10,534 คน ลดลงจากสถิติสูงสุดในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 5 เท่า ขณะที่ไทยรายงานตัวเลขอยู่ที่ 14,802 คนในวันพุธ (1) ลดลง 37% จากช่วงที่โควิด-19 ระบาดรุนแรงที่สุดกลางเดือนสิงหาคม

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายรายระบุว่า การผ่อนคลายมาตรการจำกัดเข้มงวด ทำให้เกิดความเสี่ยง เนื่องจากระดับการฉีดวัคซีนของทั้งสองประเทศยังต่ำ และขาดแคลนชุดทดสอบ รวมทั้งผลการตรวจที่เป็นบวกยังสูงกว่า 5% ตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ

อบิเชริก ริมาล ผู้ประสานงานด้านสุขภาพฉุกเฉินประจำเอเชีย-แปซิฟิกของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ แสดงความกังวลกับการผ่อนคลายมาตรการจำกัด ทั้งที่ 2 ประเทศยังมีคุณสมบัติไม่ตรงตามเกณฑ์ที่ WHO เสนอ และสำทับว่า จากการระบาดของสายพันธุ์เดลตาขณะนี้ ประกอบกับอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ อาจทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อกลับมาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วัน

ทั้งนี้สัดส่วนผู้ป่วยที่ให้ผลทดสอบเป็นบวกของอินโดนีเซียล่าสุดอยู่ที่ 12% ส่วนไทย 34%

อินโดนีเซียมีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 4 ล้านคน และเสียชีวิตรวมกว่า 133,000 คนนับจากโควิดเริ่มระบาด สำหรับไทยมีผู้ติดเชื้อสะสม 1.2 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 11,841 คน

ทั้งสองประเทศมีอัตราการฉีดวัคซีนเข็มแรกอยู่ที่ราว 30% ของจำนวนประชากร โดยอินโดนีเซียมีผู้ได้รับวัคซีนครบโดส 17% และ 11% สำหรับไทย

เดล ฟิชเชอร์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านโรคติดเชื้อของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ กล่าวว่า ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการระบาดเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ทว่า ประเทศที่ต้องการคลายล็อกต้องเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชน

ในอีกด้านหนึ่ง อิสราเอลอนุญาตให้นักเรียนกลับไปเรียนตามปกติเป็นครั้งแรกเมื่อวันพุธ โดยบังคับให้สวมหน้ากากป้องกันและมีผลตรวจโควิด-19 ยืนยัน ทั้งนี้ เพื่อควบคุมการระบาดระลอกใหม่ที่กำลังบ่อนทำลายแผนเปิดประเทศของอิสราเอลซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่โครงการฉีดวัคซีนประสบความสำเร็จมากที่สุด

ทว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกังวลว่า การเริ่มภาคเรียนใหม่โดยที่นักเรียนส่วนใหญ่กลับเข้าห้องเรียนตามปกติจะทำให้การระบาดยิ่งรุนแรงก่อนเทศกาลวันหยุดของชาวยิวในเดือนนี้ ซึ่งอาจทำให้รัฐบาลต้องล็อกดาวน์ทั่วประเทศอีกรอบ

จำนวนผู้ติดเชื้อในอิสราเอลกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งจากสายพันธุ์เดลตา และทำสถิติสูงสุดในวันอังคารที่ 10,947 คน จากประชากรทั้งหมด 9.3 ล้านคน

การเปิดโรงเรียนภายใต้นโยบาย “อยู่ร่วมกับโควิด” ของนายกรัฐมนตรีนาฟตาลี เบนเน็ตต์ ซึ่งส่วนหนึ่งประกอบด้วยการเร่งฉีดวัคซีนกระตุ้นให้ประชาชนนั้น กำหนดให้นักเรียนและครูที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนต้องตรวจโควิด

อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลประกาศมาตรการใหม่ก่อนเปิดเทอมเพียงไม่กี่วัน ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่พอใจเนื่องจากมีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก

ภายใต้มาตรการใหม่ นักเรียนอายุ 12 ปี ซึ่งเป็นเกณฑ์อายุต่ำสุดในการเข้ารับการฉีดวัคซีน ต้องแสดงบันทึกของผู้ปกครองเพื่อยืนยันว่า ได้ตรวจโควิดเองที่บ้านและมีผลเป็นลบ อย่างไรก็ดี ทางการยกเว้นการตรวจในวันเปิดเทอมวันแรก แต่จะต้องตรวจก่อนและหลังเทศกาลวันหยุดซึ่งครอบครัวขนาดใหญ่มักใช้เวลาอยู่ร่วมกัน โดยเทศกาลวันหยุดวันแรกคือวันที่ 6 และวันสุดท้ายคือวันที่ 30 เดือนนี้

สำหรับในพื้นที่ที่มีการระบาดสูง โรงเรียนที่มีนักเรียนได้รับการฉีดวัคซีนไม่ถึง 70% ต้องเรียนออนไลน์แทน ทั้งนี้ เว็บไซต์ข่าววายเน็ตรายงานว่า ในวันพุธมีนักเรียนอิสราเอลเพียง 10% ที่เรียนออนไลน์

(ที่มา: รอยเตอร์, เอเอฟพี)