เป็น 'หนี้' ต้องรู้! 'ทวงหนี้' แบบไหนถือเป็นการละเมิด 'สิทธิลูกหนี้' บ้าง ?

เป็น 'หนี้' ต้องรู้! 'ทวงหนี้' แบบไหนถือเป็นการละเมิด 'สิทธิลูกหนี้' บ้าง ?

  • 0 ตอบ
  • 83 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เช็คลิสต์ "สิทธิ์ลูกหนี้" ที่คนเป็น "หนี้" ต้องรู้ "ทวงหนี้" แบบไหนถือเป็นการละเมิด "สิทธิ์ลูกหนี้" และควรจัดการอย่างไร ?

"โควิด-19" ระบาดหนักในประเทศส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เศรษฐกิจ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายคนประสบปัญหาทางการเงิน และเป็นจุดเริ่มต้นของการชำระหนี้ไม่ตรงเวลา โดยสิ่งที่ตามมากับการผิดนัดชำระคือการ "ทวงหนี้" จาก "เจ้าหนี้" ที่บางคนอาจกำลังประสบกับการทวงถามหนี้ที่ละเมิดลูกหนี้ หรือไม่เป็นธรรมอยู่

บทความ ​กฎหมายคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ที่ถูกทวงหนี้เพียงใด? จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบายถึง "สิทธิ์ของลูกหนี้" ในกรณีต่างๆ ที่ลูกหนี้ทุกคนพึงได้รับ และควรรู้เพื่อปกป้องสิทธิ์ของตัวเองในฐานะของ "ลูกหนี้" ดังนี้

  

 ช่องทางการ "ทวงหนี้" 

ช่องทาง: ติดต่อผ่าน บุคคล หรือไปรษณีย์ หรือสามารถทวงหนี้โดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

สถานที่: ต้องเป็นสถานที่ที่ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้ หากลูกหนี้ไม่ได้แจ้ง สามารถติดต่อตามภูมิลำเนา/ถิ่นที่อยู่/ที่ทำงาน (ตามที่คณะกรรมการทวงถามหนี้ประกาศกำหนด)

วันเวลา: วันจันทร์-ศุกร์ (08.00-20.00 น.) วันหยุดราชการ (08.00 น.-18.00 น.)

ความถี่ในการทวงหนี้: ทวงได้ ไม่เกิน 1 ครั้ง/วัน (ยกเว้น เพื่อนทวงเพื่อน ทวงได้เกิน 1 ครั้ง/วัน) 


 แบบไหนไม่นับว่า "ทวงหนี้" 
- แชทไปแต่ไม่ได้เปิดอ่าน 

- โทรหาไม่รับ 

- โทรคุย ทักทาย แต่ยังไม่ทันได้พูดเรื่องหนี้ชัดเจน 

สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย

 ทวงหนี้แบบไหนผิดกฎหมาย ? 

- ห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่คนที่ลูกหนี้ระบุไว้

- ห้ามบอกความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้ผู้อื่นรู้ ยกเว้น เป็นคนในครอบครัวลูกหนี้ เช่น สามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน และคนอื่นถามเจ้าหนี้ว่า "มาติดต่อเพราะสาเหตุอะไร"

- ไม่ให้ประจานหรือทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียง 

- ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจ บนซองจดหมาย หนังสือหรือสื่อใดๆ ให้(บุคคลอื่น) เข้าใจว่า ติดต่อเพื่อทวงหนี้ 

- ห้ามติดต่อ หรือทำให้ผู้ติดต่อด้วยเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อของลูกหนี้

- ห้ามข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง ทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น หากฝ่าฝืนมีมีความผิด ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 และอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

- ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น 

- ห้ามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นๆ (ตามคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้)

 เจ้าหนี้ ทวงหนี้ไม่เป็นธรรม ควรทำอย่างไร ? 

สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม หรือเข้าข่ายละเมิดสิทธิลูกหนี้ตามข้อมูลข้างต้นสามารถร้องเรียนไปที่ "คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้" หรือ "ที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจ" ในท้องที่ เพื่อแจ้งการกระทำความผิด

เมื่อมีการรับแจ้งว่าเจ้าหนี้ละเมิดสิทธิ์ลูกหนี้ คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้จะมีคำสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าว และหากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ 

นอกจากนี้ถ้าเจ้าหนี้ "ทวงถามหนี้" ที่เป็นเท็จ (มาตรา 12) หรือทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม (มาตรา 13) จะได้รับโทษที่หนักขึ้นด้วย 


ที่มา: บทความ​กฎหมายคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ที่ถูกทวงหนี้เพียงใด ธนาคารแห่งประเทศไทย