'เนปาล' ไฟเขียว 'จีน' ทดลองวัคซีนโควิด mRNA ในประเทศ

'เนปาล' ไฟเขียว 'จีน' ทดลองวัคซีนโควิด mRNA ในประเทศ

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นับเป็นครั้งแรก รัฐบาลเนปาล อนุมัติการทดลองทางคลินิกในประเทศให้กับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 "เออาร์โควี" (ARCoV) ร่วมพัฒนาโดยซูโจว อ้ายโป๋ ไบโอไซเอนซ์ (AbogenBio), สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AMMS) สังกัดสถาบันวิทยาการทหาร และบริษัท วาลแว็กซ์ ไบโอเทคโนโลยี จำกัด (Walvax Biotechnology)

ดร. ประดิป เกียนวาลี หัวหน้าผู้บริหารสภาวิจัยสุขภาพเนปาลเปิดเผยกับสำนักข่าวซินหัวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันพฤหัสบดี (26 ส.ค.) อนุญาตให้ บริษัทจีน (วาลแว็กซ์ ไบโอเทคโนโลยี) และพันธมิตรในท้องถิ่นอย่างบริษัท เดียราลี-จันตา ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (Deurali-Janta Pharmaceutical) ดำเนินการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีนดังกล่าวในเนปาล"สภาวิจัยสุขภาพเนปาลได้รับเอกสารเกี่ยวกับข้อเสนอในการทดลองทางคลินิกจากบริษัทจีนเมื่อราวหนึ่งเดือนก่อน โดยหลังจากตรวจสอบแล้วว่าวัคซีนดังกล่าวปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ก็ได้ส่งเอกสารต่อไปยังกระทรวงสาธารณสุขและคณะรัฐมนตรีที่ให้การอนุมัติแล้ว" เกียนวาลีกล่าว

"หลังจากบริษัทจีนได้รับใบอนุญาตจากกรมควบคุมยา (DDA) เราจะออกจดหมายอนุญาตให้ทำการทดลองระยะที่ 3 ของวัคซีนดังกล่าว" นามิตา กีเมอร์ (Namita Ghimire) สมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบจริยธรรมกล่าวกับสำนักข่าวซินหัวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (27 ส.ค.)

เกียนวาลีระบุว่า วาลแว็กซ์ ไบโอเทคโนโลยี และพันธมิตรสัญชาติเนปาลได้เสนอการทดลองทางคลินิกกับประชาชน 3,000 คนที่สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพบีพี คอยราลาของรัฐบาลเนปาล ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองดารันทางตะวันออกของประเทศ

เนปาลได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสอง และต้องอาศัยวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จากภายนอกเพื่อฉีดให้กับประชากรที่มีอยู่ 30 ล้านคน โดยปัจจุบันมีประชาชนชาวเนปาลได้รับวัคซีนโดสแรกแล้ว 4.98 ล้านคน ซึ่งเป็นผู้รับวัคซีนครบสองโดส 3.9 ล้านคน

ช่วงต้นเดือนส.ค.นี้ รัฐบาลเนปาลประกาศมาตรการจูงใจให้บริษัทในประเทศ และต่างประเทศดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนในเนปาลเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และโรคติดเชื้ออื่นๆ ซึ่งเกียนวาลีกล่าวถึงประเด็นนี้ว่าจะช่วยให้เนปาลเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ได้ง่ายยิ่งขึ้น