“ภาคอุตสาหกรรม” แนะเร่งสร้างความเชื่อมั่นการลงทุน

“ภาคอุตสาหกรรม” แนะเร่งสร้างความเชื่อมั่นการลงทุน

  • 0 ตอบ
  • 83 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

dsmol19

  • *****
  • 2466
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในช่วงก่อนหน้านี้ มีการกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นที่ต้องประกาศล็อกดาวน์พื้นที่ ป้องกันการแพร่ระบาด ส่งผลให้ประชาชนลำบากในการใช้ชีวิต บริษัท ห้างร้าน โรงงาน ต้องปิดกิจการ คนงานตกงานขาดรายได้

แต่ ณ เวลานี้ ตัวเลขของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ดูจะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งมาจากการที่ประชาชนมีโอกาสได้รับการฉีดวัคซีนมากขึ้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจให้กับภาคการลงทุนมากขึ้น

โดยในมุมมองตัวแทนภาคอุตสาหกรรม “นายสุพันธุ์ มงคลสุธี” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การะบาดของโรคเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศ กำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤติและส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วนของประเทศ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเกิดการติดเชื้อในโรงงานเป็นจำนวนมากเช่นกัน สภาอุตสาหกรรมฯ ในฐานะองค์กรหลักภาคเอกชนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ได้จัดทำ "มาตรการควบคุมโควิดในภาคอุตสาหกรรม" เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและอาการรุนแรง พร้อมรักษากำลังการผลิตให้มากที่สุด ซึ่งโรงงานที่ดำเนินการอย่างถูกต้อง จะไม่ถูกปิด หากยังสามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่แพร่กระจายเชื้อสู่ภายนอก ภายใต้คอนเซ็ปต์ "ติดโควิดไม่ต้องปิดโรงงาน" แบ่งออกเป็น 4 ข้อดังนี้

1.มาตรการ Bubble and Seal สำหรับภาคอุตสาหกรรมต้องมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและเป็นไปในแนวทางเดียวกันทุกพื้นที่ โดยให้สุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK สม่ำเสมอ 10% ของจำนวนพนักงานทุก 14 วัน โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่าย และให้พนักงานผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำสามารถกลับเข้ามาทำงานใน Bubble ในโรงงานตามปกติ

2.สถานประกอบการที่มีพนักงาน 300 คนขึ้นไป เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้ง Factory Quarantine และ Factory Accommodation Isolation โดยให้มีจำนวนเตียงๆไม่น้อยกว่า 5% ของจำนวนพนักงาน และเสนอให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งโรงพยาบาลแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่ประกันสังคม เพื่อให้บริการโรงงานในพื้นที่ ณ จุดเดียว ตั้งแต่การตรวจหาเชื้อไปจนถึงส่งต่อผู้ป่วยเข้าไปในระบบการรักษา เพื่อลดขั้นตอนในการหาโรงพยาบาล

3.สำหรับสถานประกอบการที่มีพนักงานต่ำกว่า 300 คน ขอให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมจัดตั้ง Community Quarantine (CQ), Community Isolation (CI) (ศูนย์พักคอยและแยกกักตัว) ให้เพียงพอกับแรงงาน โดยให้มีจำนวนเตียงไม่น้อยกว่า 5% ของจำนวนพนักงานในพื้นที่

4.จัดสรรวัคซีนตามเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต โดยจัดสรรตามลำดับความสำคัญทางสาธารณสุข การป้องกันโรค และเศรษฐกิจใน 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่อายุ 40-59 ปี กลุ่มพนักงานในสถานประกอบการที่มีติดเชื้อมากกว่า 50% จนต้องปิดกิจการ และกลุ่มพนักงานในอุตสาหกรรมสำคัญยิ่งยวด

ขณะที่มุมมองของ “รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ” อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง นำเสนอแง่คิดที่น่าสนใจว่า รัฐบาลควรเดินหน้าคลายล็อกดาวน์ในทุกพื้นที่ในบางกิจกรรม หากตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่ำกว่าผู้ได้รับการรักษาหายป่วยมากพอ และสามารถทำให้ผู้ป่วยที่ต้องรักษาในระบบสาธารณสุขลดลงมาเหลือต่ำกว่า 100,000 ราย จากปัจจุบันอยู่ที่ 200,339 ราย

ระบบสาธารณสุข ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ควรต้องจัดการความเสี่ยงด้านอุปทานเพิ่มขึ้นโดยจัดสรรงบประมาณให้โรงพยาบาลของรัฐตามความเสี่ยงของประชากรที่ขึ้นทะเบียนกับโรงพยาบาลต่างๆ นั่นคือ ผู้ให้บริการในพื้นที่เสี่ยงสูง และต้องดูแลประชากรที่มีความเสี่ยงสูงควรจะเหมาจ่ายต่อหัวสูงกว่าผู้ให้บริการ หรือโรงพยาบาลที่ดูแลประชากรที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ,ไม่ควรกำหนดการเหมาจ่ายแบบคงที่ทั่วทั้งประเทศ โดยงบประมาณต้องจัดสรรไปตามภาระและแผนงานกิจกรรมที่ต้องทำ และไม่ควรรวมศูนย์การตัดสินใจเพราะจะทำให้แก้ปัญหาล่าช้า และไม่ทันการ

อย่างไรก็ตามหากมีความจำเป็นต้องขยายล็อกดาวน์ เพราะตัวเลขติดเชื้อไม่ลดลง และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจต้องล็อกดาวน์ไปอีกอย่างน้อยจนถึงปลายปี ในขณะที่ประชาชนยังรอฉีดวัคซีนกันอยู่ รัฐบาลต้องเตรียมงบประมาณจ่ายเยียวยาให้ภาคธุรกิจ และประชาชนเพิ่มเติม หากต้องขยายล็อกดาวน์ และควรประกาศล่วงหน้า และเยียวยาทันทีก่อนสั่งปิดพื้นที่ หรือกิจกรรมเพื่อไม่ให้ความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจรุนแรงไปกว่าระดับวิกฤติในขณะนี้ และควรเตรียมเงินงบประมาณไม่ต่ำกว่าอีก 300,000 ล้านบาท หากต้องล็อกดาวน์ถึงปลายปี

การรับฟังข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ จากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เป็นเรื่องที่ไม่เสียหายอะไร!!!