“เคทีซี” ช่วยสังคมรับวิถีโควิด-19 ปรับใช้ช่องทางออนไลน์ ผนึกร่วมมือสมาชิก

“เคทีซี” ช่วยสังคมรับวิถีโควิด-19 ปรับใช้ช่องทางออนไลน์ ผนึกร่วมมือสมาชิก

  • 0 ตอบ
  • 76 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เคทีซีปรับแผนธุรกิจหมวดบริจาครับวิถีใหม่ วางตัวเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีและพันธมิตรองค์กรการกุศลกว่า 60 แห่ง เพื่อร่วมกันช่วยเหลือสังคมในหลากหลายมิติ พร้อมเร่งพัฒนาแพลตฟอร์มช่องทางการบริจาค ออฟไลน์ ออนไลน์ และโมบายแอปพลิเคชั่น “KTC Mobile”

ล่าสุดเปิดรับบริจาคด้วยบัตรเครดิตผ่าน QR Pay และแลกคะแนนผ่าน QR Point ทางแอปฯ KTC Mobile เพื่อให้สมาชิกเข้าถึงการบริจาคได้ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงการเดินทางและลดการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด-19”



นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช ผู้อำนวยการ – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เคทีซีเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยหวังว่าจะมีส่วนช่วยสร้างสังคมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยได้ดำเนินการช่วยเหลือสังคมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการร่วมเป็นจิตอาสา หรือการสบทบทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เคทีซีได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์สนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่างๆ ระหว่างมูลนิธิกับสมาชิก พร้อมทั้งเปิดช่องทางรับบริจาคผ่านบัตรเครดิตให้กับสมาชิกเคทีซี เพื่อส่งต่อให้กับมูลนิธิหรือองค์กรการกุศลต่างๆ กว่า 60 แห่ง โดยปี 2563 มียอดบริจาคผ่านบัตรเครดิตเคทีซีด้วยคะแนน KTC FOREVER กว่า 50 ล้านคะแนน ยอดเงินบริจาครวม 300 ล้านบาท”

“สำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ที่รุนแรงและขยายวงกว้างขณะนี้ ภารกิจสำคัญที่สุดที่เคทีซีต้องดำเนินการ คือให้ความร่วมมือกับมูลนิธิต่างๆ ด้วยความกระตือรือร้นและรวดเร็ว เพื่อให้เข้าถึงผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในหลากหลายรูปแบบได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้กักกันตน โรงพยาบาลที่ขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือการสร้างศูนย์พักคอยรองรับผู้ป่วยสีเขียวในต่างจังหวัด โดยถือเป็นภาระเร่งด่วนที่สุดในการประสานกับมูลนิธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเปิดช่องทางให้สมาชิกเคทีซีสามารถเข้าถึง เพื่อเสริมแรงสนับสนุน และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม”



ดร. บรรจงเศก ทรัพย์โสภา ผู้อำนวยการมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชนฯ กล่าวว่า “มูลนิธิได้ทำงานช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในประเทศไทยมา 64 ปี ใน 3 รูปแบบ คือ 1. พัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2. พัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเพื่อเป็นอนาคตของประเทศ 3. เน้นทำงานควบคู่กับเครือข่ายภาคี เช่น เคทีซี ภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรการกุศล 4. ปรับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น โควิด-19”

“ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้มูลนิธิต้องปรับตัวหลายด้าน ทั้งการทำงานที่ต้องปรับเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมมาใช้รูปแบบออนไลน์มากขึ้น เช่น การเยี่ยมเด็ก และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้นำชุมชน หรือโรงเรียน เพื่อรักษาระยะห่าง ที่ผ่านมามูลนิธิได้รับความช่วยเหลือจากสมาชิกเคทีซีค่อนข้างมาก ในรูปแบบของเงินบริจาคผ่านบัตรเครดิต และการบริจาคผ่านการแลกคะแนน และในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ มูลนิธิฯ อยากผลักดันการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆ และอาสาสมัครเพื่อร่วมกันบรรเทาผลกระทบของการแพร่ระบาดครั้งนี้ มูลนิธิฯ ซี.ซี.เอฟ. ฯ ได้จัดตั้งศูนย์พักคอยชุมชนและแยกกักกันในต่างจังหวัดเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะส่วนใหญ่ศูนย์พักคอยมักจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือในเขตเมือง ปัจจุบันเรามีศูนย์ฯ ที่สนับสนุนอยู่ในต่างจังหวัดทั้งหมด 37 แห่ง และกำลังจะสนับสนุนเพิ่ม 16 แห่ง แต่ยังขาดแคลนด้าน เวชภัณฑ์ อาหาร และสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยมาก”

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “สภากาชาดไทยเป็นองค์กรสาธารณกุศล เพื่อบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยากในสังคม ซึ่งจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 สภากาชาดไทยก็ได้รับผลกระทบในหลายด้านเช่นกัน ได้แก่ 1.บริการทางการแพทย์ บุคลากรและอุปกรณ์การแพทย์ไม่เพียงพอ กับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการเข้ามารักษาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มสูงขึ้น 2. บริการโลหิต เกิดภาวะวิกฤตประชาชนไม่มั่นใจที่จะมาบริจาคเพราะห่วงความปลอดภัย 3. การหารายได้เข้ามูลนิธิ เพื่อใช้บริหารความช่วยเหลือไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจากประชาชนมีกําลังในการบริจาคลดลง ซึ่งการที่เคทีซีเป็นพันธมิตรในการเผยแพร่ข่าวสารและจัดแคมเปญต่างๆ เพื่อเพิ่มยอดรับบริจาคผ่านช่องทางของเคทีซี ถือเป็นการขยายโอกาสให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการแบ่งปันและการช่วยเหลืออย่างมาก ซึ่งรายได้จากการบริจาคจะนําไปใช้ช่วยเหลือประชาชนตามภารกิจต่างๆ ทั้งการรักษาพยาบาล บรรเทาทุกข์ ผู้ประสบภัย บริการโลหิต และการส่งเสริมคุณภาพชีวิต รวมไปถึงสถานการณ์เร่งด่วนในขณะนี้คือ การช่วยเหลือและเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19”

“ปัจจุบันสภากาชาดไทยยังมีโครงการจัดครัวเคลื่อนที่ ทําอาหารปรุงสุกให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การแจกชุดธารน้ำใจให้ผู้กักตน ผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้ติดเชื้อโควิด และดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ โควิดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึง Hospitel และ Home Isolation เฉลี่ยวันละ 800-900 ราย รวมถึงสร้างหอผู้ป่วยสนามเร่งด่วนและจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด ทั้งนี้สมาชิกเคทีซีสามารถร่วมบริจาคด้วยการแลกคะแนนสะสมเป็นเงินบริจาค นอกเหนือจากการบริจาคด้วยบัตรเครดิต เพื่อร่วมสมทบทุนเข้าโครงการต่างๆ ของสภากาชาดไทย โดยสามารถติดตามข่าวสารของสภากาชาดไทยผ่านเคทีซีในทุกๆ ช่องทางได้อีกด้วย”



นางสาวจุฑารัตน์ วิบูลสมัย ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแหล่งทุน มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม กล่าวว่า “มูลนิธิเป็นองค์กรการกุศลทางการแพทย์ที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในพ.ศ. 2525 และก่อตั้งในไทยเมื่อพ.ศ. 2540 มีภารกิจหลักในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงแผลจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก นิ้วติด นิ้วเกิน หรือใบหน้าที่ผิดรูป โดยมูลนิธิได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเคทีซี ในการรับบริจาคผ่านบัตรเครดิตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2557 รวมทั้งพนักงานเคทีซียังได้ร่วมเป็นจิตอาสาประกอบแฟ้มผู้ป่วย เพื่อใช้เก็บประวัติข้อมูลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่จะเข้ารับการผ่าตัด”

“ในช่วงสถานการณ์โควิดทำให้มูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้การผ่าตัดที่ต่างจังหวัดได้ ซึ่งโดยปกติปีหนึ่งจะมีการวางแผนออกหน่วย 4 ครั้งต่อปี ใน 4 จังหวัด ครั้งหนึ่งประมาณ 7 วัน โดยไปทำการผ่าตัดให้ผู้ป่วยเด็กเฉลี่ย 80 - 100 คน อย่างไรก็ตาม มูลนิธิฯ ยังดำเนินการ “โครงการผ่าตัดแบบต่อเนื่อง” โดยให้งบสนับสนุนกับโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆ ที่มีศัลยแพทย์ จึงยังคงสามารถผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ได้ต่อเนื่อง ซึ่งการรักษาเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ต้องได้รับการผ่าตัดมากกว่า 1 ครั้ง บางคนต้องผ่าตัด 3 - 5 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีโครงการ “Smile Box” กล่องแห่งรอยยิ้ม ซึ่งบรรจุผ้าอ้อมเด็ก นมผง หน้ากากอนามัย อุปกรณ์การเรียน แผ่นพับที่ให้ความรู้ในการดูแลเด็ก และขวดนมที่มีลักษณะยาวพิเศษสำหรับเด็ก ปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อส่งให้กับผู้ป่วยเด็กที่เราเคยผ่าตัดไปแล้ว กับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด โดยส่งไปแล้วประมาณ 200 กล่อง และสำหรับแผนงานในปีหน้า เมื่อสถานการณ์โควิดดีขึ้น ทางมูลนิธิหวังว่าจะสามารถออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดที่ต่างจังหวัดได้ตามเดิม”

นางสาวอรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชน UNHCR กล่าวว่า “สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติก่อตั้งมายาวนานถึง 70 ปี โดยมีบทบาทให้ความช่วยเหลือ ผู้ลี้ภัยที่มีเหตุการณ์ในประเทศ เช่น สงคราม หรือความขัดแย้งทำให้ไม่สามารถอยู่ในประเทศตนเองได้ ซึ่งตอนนี้มีจำนวนถึง 82.4 ล้านคนทั่วโลก ปัจจุบันเราทำงานใน 135 ประเทศ และร่วมงานกับประเทศไทยมานาน 46 ปี”

“ไวรัสโควิด-19 พิสูจน์แล้วว่าไวรัสไม่ได้แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา หรือกลุ่มคน กลุ่มผู้ลี้ภัยก็มีการแพร่ระบาดของไวรัสเช่นกัน และอยู่ในความเสี่ยงสูงมากจากข้อจำกัดต่างๆ UNHCR ได้ระดมกำลังเพื่อเข้าช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและบุคคลในความห่วงใยทั้งในและนอกค่ายทั่วโลกให้ได้รับความเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ เพิ่มจุดแจกจ่ายน้ำให้มากขึ้น จุดล้างมือ จุดแจกจ่ายสบู่ หรือหน้ากากอนามัย และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การอบรมให้ทราบถึงการเว้นระยะห่าง การรักษาพยาบาลเพิ่มเติม กรณีมีเคสผู้ป่วย กลุ่มแพทย์และพยาบาลต้องรับรู้เคสและสามารถรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ รวมทั้งสร้างพื้นที่ในการคัดแยกผู้ป่วยอีกด้วย”

“ความช่วยเหลือจากทุกๆ ฝ่ายเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับ UNHCR มีผู้บริจาคที่มีคุณภาพผ่านบัตรเครดิตแบบต่อเนื่องค่อนข้างมาก จากสถิติผู้ลี้ภัยตกอยู่ในสถานะนี้โดยเฉลี่ยถึง 17 ปี ดังนั้นการบริจาคต่อเนื่องจะช่วยให้เรามีงบประมาณในการช่วยชีวิตผู้ลี้ภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเรามุ่งเน้นช่วยกลุ่มที่เปราะบางเพราะ 80% ของผู้ลี้ภัยคือ ผู้หญิงและเด็ก ช่องทางการบริจาคผ่านบัตรเครดิตเคทีซีเป็นวิธีที่ง่าย แต่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน ในอนาคตจะมีโครงการมอบทุนให้กับผู้ลี้ภัยทั่วโลก เพราะผู้ลี้ภัยเพียง 3% ที่ได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงวิกฤติด้านมนุษยธรรมล่าสุดในอัฟกานิสถาน เราจึงอยากมอบโอกาสและอนาคตที่ดีให้กับผู้ลี้ภัยด้วยกัน”

นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช ผู้อำนวยการ – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” กล่าวทิ้งท้าย “ยุคที่ต้องเว้นระยะห่างและหลีกเลี่ยงการเดินทาง เพื่อลดการติดเชื้อโควิด-19 นั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มูลนิธิและองค์กรการกุศลต่างๆ ต้องเผชิญกับภาวะที่ได้รับการสนับสนุนจากสังคมลดน้อยลง ดังนั้นเคทีซีจึงตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์มช่องทางการบริจาค ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ และโมบายแอปพลิเคชั่น โดยล่าสุดได้พัฒนาช่องทางออนไลน์ ด้วยฟังก์ชันการบริจาคผ่านบัตรเครดิตด้วย QR Pay การบริจาคด้วยคะแนนผ่าน QR Point โดยแลกคะแนนผ่านแอปฯ “KTC Mobile” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกเคทีซีสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมได้ง่ายขึ้น”