เอกชนชี้เปิดธุรกิจ 1 ก.ย.นี้ ย้ำต้องใช้ Digital Health Pass

เอกชนชี้เปิดธุรกิจ 1 ก.ย.นี้ ย้ำต้องใช้ Digital Health Pass

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวว่า จากมาตรการผ่อนปรม ศบค.ชุดใหญ่ที่ออกมาผ่อนคลายให้บางธุรกิจเปิดกิจการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้เป็นต้นไป ถือว่าจะทำให้ภาคธุรกิจการค้าการขายกลับมาดีขึ้นได้ในช่วงเวลาที่เหลือปีนี้ แต่ทุกอย่างจะต้องช่วยกันดูแลป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อโควิดเพิ่มเติมกลับมาได้อีก โดยหอการค้าไทย และคณะทำงานกลุ่มมาตรการสำหรับการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ (Business Resume) ภายใต้คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยได้มีข้อเสนอเปิดเมืองปลอดภัย เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยต้องดำเนินกิจกรรมต่างๆให้ปลอดภัย และควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ในระดับที่ความสามารถทางสาธารณสุขรองรับได้

ทั้งนี้เอกชนเห็นตรงกันการผ่อนคลายให้กิจการและธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการ ควรพิจารณาจากความพร้อมของพื้นที่และลักษณะของกิจการ โดยต้องประเมินและจัดลำดับความเสี่ยงของกิจกรรม เอกชนพร้อมที่จะเข้าไปจัดทำมาตรฐาน กระบวนการป้องกัน และกระบวนการรักษาความสะอาด เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้ รวมทั้งให้ธุรกิจเดินหน้าได้ โดยใช้ Digital Health Pass มาช่วยดำเนินการควบคุมการเปิดดำเนินการและการใช้บริการ

สำหรับระบบ Digital Health Pass เพื่อตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีน หรือผลการทดสอบ Rapid Test ของประชาชน ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ โดยเชื่อมข้อมูลกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยืนยันและคัดแยกว่าประชาชนไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบที่มีอยู่ โดยระบบจะตรวจสอบข้อมูลจาก Centralized Portal ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1.ผู้ออกเอกสารรับรอง (Issuers) เป็นข้อมูลจากส่วนกลางที่ระบุข้อมูล ทั้งข้อมูลการฉีดวัคซีน หรือผลการตรวจ ATK ที่จะเชื่อมโยงกับระบบปัจจุบันที่มีอยู่ได้ ซึ่งฐานข้อมูลสามารถแยกกันเก็บได้

2.ผู้ตรวจสอบคุณสมบัติในการเข้าสถานที่ (Verifiers) เจ้าของสถานประกอบการที่เป็นคนตรวจสอบก่อนให้เข้ามาในสถานประกอบการ โดยต้องกำหนดมาตรการและเงื่อนไขการเข้าสถานที่ เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ โดยภาครัฐควรออกแนวปฏิบัติที่ชัดแจนออกมา

3.ประชาชนหรือบุคคลที่ขอเข้ารับบริการจากสถานที่ (Individual) ข้อมูลของแต่ละคน ที่จะต้องนำระบบ SMART PHONE หรือ QR CODE ซึ่งสามารถสั่งพิมพ์ออกมาได้ และเชื่อมข้อมูลไปยัง Issuers ว่าเป็นบุคคลนั้นๆ โดยจะแสดงข้อมูลเฉพาะว่า ผ่านหรือไม่ผ่านเท่านั้นเป็นต้น

โดยทุกมาตรการที่ภาครัฐออกมาโดยภาคเอกชนจะต้องร่วมมือกันเพื่อให้ทุกแนวทางเดินหน้าและป้องกันการแพร่เชื้อ แม้ว่าโควิด-19 ยังจะอยู่ไปอีกนาน ดังนั้นทุกแนวทางจะต้องทำเป็นแบบแผนและต่อเนื่องเพื่อให้ภาครัฐผ่อนคลายในกิจการอื่นที่ยังไม่ได้เปิดในรอบนี้ได้โดยเร็ว เพราะหากตามแผนงานของรัฐบาลประกาศไว้ในช่วงที่เหลือปีนี้จะมีวัคซีนเข้ามาฉีดให้กับประชาชนอีกจำนวนมาก เชื่อว่าเมื่อคนไทยทั้งประเทศมีภูมิป้องกันโควิด-19 ได้ โอกาสการเปิดเมืองและอีกหลายกิจการเพิ่มเติมจะเป็นสูง จะทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาดีขึ้น

“มองว่าจีดีพีไทยจะไม่ติดลบน่าจะเป็นบวก แต่จะแค่ไหนขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายจะร่วมมือกัน และภาคเอกชนอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือแม้จะให้บางธุรกิจเปิดดำเนินการแต่อยู่ภายใต้จะต้องตรวจเชื้อทุกสัปดาห์โดยผ่านชุดตรวจ ATK นั้นเห็นว่าตรงนี้เป็นต้นทุนของเอกชน จึงอยากให้ภาครัฐจัดหาชุดตรวจในราคาถูกหรือให้นำค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปหักลดหย่อนภาษีได้”