แนวคิดของดาร์พา กับระบบให้ทุนแบบดึงหิ้งลงสู่ห้าง

แนวคิดของดาร์พา กับระบบให้ทุนแบบดึงหิ้งลงสู่ห้าง

  • 0 ตอบ
  • 80 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โจ ไบเดน ประกาศว่าหลังจากที่สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ควบคุมได้แล้ว เป้าหมายต่อไปของสหรัฐอเมริกาคือจะทำทุกวิถีทางที่จะอวสานโรคมะเร็งให้ได้

เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องส่วนตัวอยู่บ้าง เพราะลูกชายของเขา บิว ไบเดน (Beau Biden) ก็เสียชีวิตลงไปด้วยโรคมะเร็งร้ายตั้งแต่อายุเพียงแค่ 46 ปี

ไบเดนตั้ง ดร. อีริค แลนเดอร์ (Eric Lander) ศาสตราจารย์ทางด้านพันธุศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากเอ็มไอที หนึ่งในผู้บุกเบิกโครงการจีโนมมนุษย์ ขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาหลักทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อผลักดันนโยบายวิจัยให้ตอบโจทย์นี้ให้ได้

แม้ว่าสหรัฐจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบนิเวศน์ที่สนับสนุนการผลักดันงานวิจัยออกไปสู่ธุรกิจนวัตกรรมออกมาได้อย่างน่าประทับใจจนหลายคนมองว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนแห่งโอกาส ​แต่ทว่าในมุมมองของนักบริหาร การผลักดันงานวิจัยจากห้องทดลองสู่การใช้งานจริงนั้นยังเกิดขึ้นน้อยกว่าที่คาดหวังไปมาก ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการให้ทุนแบบระมัดระวังเกินไป จนนวัตกรรมแบบไอเดียพลิกโลกนั้นแทบจะไม่มีโอกาสได้เกิดขึ้นมา

ไบเดนให้ความสนใจเป็นพิเศษกับแนวคิดในเรื่องการให้ทุนของสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงด้านกลาโหม (Defense Advance Research Projects Agency, DARPA) หรือที่หลายๆ คนเรียกกันติดปากว่าดาร์พา

ดาร์พาตั้งขึ้นเมื่อปี 1958 หลังจากที่สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 (sputnik1) ขึ้นไปสู่วงโคจรของโลกได้เป็นผลสำเร็จ โดยมีจุดมุ่งหมายคือเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสหรัฐอเมริกาจะยังคงฐานะเป็นผู้นำโลกทางด้านเทคโนโลยีอยู่


เพราะระบบการให้ทุนที่ไม่เหมือนใครของดาร์พาที่เน้นโครงการเสี่ยงสูง กำไงาม​ (high risk high rewards) จึงทำให้โครงการประหลาดๆ ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมแบบสุดโต่งที่เปลี่ยนภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีไปอย่ามหาศาล ตั้งแต่อินเตอร์เน็ต จีพีเอส โดรน ไปจนถึงวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ

โดยปกติแล้วกลไกการให้ทุนของแหล่งทุนทั่วๆ ไปคือจะจัดตั้งทีมผู้ทรงคุณวุฒิมานั่งอ่านแบบเสนอโครงการ ถามคำถาม ให้ความเห็นว่าจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนแล้วจบ อย่างมากก็อาจจะมีกลับมาอ่านอีกรอบเพื่อประเมินความก้าวหน้ารายปีแค่นั้น แต่ดาร์พาจะมีกลไกที่ต่างออกไป โดยทางดาร์พาเองจะไปยืมเอาตัวผู้เชี่ยวชาญศักยภาพสูงนับร้อยคนมาจากมหาวิทยาลัยหรือภาคอุตสาหกรรมมาเป็นผู้จัดการโครงการส่วนใหญ่ก็ระยะเวลาสามถึงห้าปี ผู้จัดการโครงการแต่ละคนจะต้องเกาะติดเรียกว่าเเทบจะเป็นหนึ่งในทีมวิจัยเลยก็ว่าได้ ทั้งต้องช่วยประสานงาน ขจัดอุปสรรคที่อาจจะมาขัดขวางการทำงาน ​กำหนดเดดไลน์และเข้าไปติดตามความก้าวหน้าของงานอยู่ตลอดเพื่อประเมินความก้าวหน้าและความเสี่ยงว่ามีโอกาสสำเร็จมากเพียงไร และควรจะให้การสนับสนุนต่อไปหรือไม่ โดยมีไกด์ไลน์ในการประเมินที่ชัดเจนที่เขียนขึ้นมาโดยอดีตผู้อำนวยการดาร์พา จอร์จ เฮลเมเออร์ เรียกว่า “ชุดคำถามของเฮลเมเออร์​ (Heilmeier Catechism)”

เนื่องจากทุนของดาร์พาส่วนใหญ่เป็นแบบเสี่ยงสูง ประเด็นสำคัญคือผู้จัดการโครงการจะต้องมีช่องให้ล้มเหลว เพราะเมื่อไรที่ทุกคนกลัวว่าโครงการจะไปไม่รอด โครงการแบบเสี่ยงสูงแต่ให้ผลพลิกโลกจะไม่มีโอกาสได้เกิด โครงการที่บางทีดูล้ำจนหลายๆ คนอาจจะมองว่าเป็นไปได้ยาก จนแหล่งทุนทั่วไปไม่กล้าให้เงิน ก็ยังอาจจะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากดาร์พาได้

จินตนาการ คือ มีผู้บริหารโครงการที่รู้จริงและเข้าใจมาช่วยตรวจสอบและผลักดันโครงการให้เป็นไปตามที่จะเป็น โอกาสที่จะดึงเอางานวิจัยขึ้นหิ้งให้ลงมาสู่ห้างก็อาจจะเป็นไปได้ และถ้ามีผู้จัดการโครงการที่เก่งและมีวิสัยทัศน์สูงๆ รู้ว่าเทคโนโลยีนี้จะตอบโจทย์เอกชนยังไงและใครจะเป็นพาร์ทเนอร์ในเชิงธุรกิจ งานวิจัยจะไม่จบแค่องค์ความรู้พื้นฐาน แต่จะถูกผลักดันให้กลายมาเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน หรือแม้แต่ออกมาสู้กับวิกฤตต่างๆ ได้

ไบเดนมีแผนจะตั้งอาร์พา-เอช (ARPA-H) เพื่องานวิจัยด้านสุขภาพ ภายใต้ร่มของสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institute of Health, NIH) เพราะมีพันธกิจตรงกันคือ “เพื่อค้นหาองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของระบบชีวิตและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้นั้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เพิ่มอายุขัย และลดการเจ็บป่วยและพิการ” โดยในปี 2022 นี้จะมีแผนการจะสนับสนุนงบประมาณจำนวน 6.5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ เกือบๆ สองแสนสองหมื่นล้านบาทเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์แบบล้ำยุค อย่างวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอต้านมะเร็ง อุปกรณ์สวมใส่(wearable) เพื่อติดตามอาการโรคเบาหวานและอัลไซเมอร์แบบเรียลไทม์ ระบบพัฒนาวัคซีนภายใน 100 วัน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งก็คงต้องลุ้นต่อไปว่าจะแนวคิดการบริหารจัดการโครงการวิจัยแบบนี้จะไปได้ไกลถึงฝั่งฝันอย่างทีดาร์พาเคยทำไว้ได้หรือเปล่า

“การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในช่วงสิบปีข้างหน้าจะเห็นได้ชัดเจนกว่าที่เคยพบเจอมาในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมารวมกันเสียอีก เห็นได้จากความไวในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และอีกหลายๆ เทคโนโลยี” ไบเดน กล่าว “ผมไม่เห็นการลงทุนอะไรที่จะคุ้มค่ามากไปกว่านี้ และผมก็นึกไม่ออกว่าจะมีอะไรที่ทุกฝ่ายจะเห็นชอบร่วมกันได้แบบนี้อีก และมันอยู่ในขอบข่ายที่เราจะทำได้”

นอกจากอาร์พา-เอช เพื่อสุขภาพแล้ว สหรัฐยังมีโครงการอาร์พา-อี (ARPA-E) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน และอาร์พา-ซี (ARPA-C) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งที่ผ่านมาก็เริ่มต้นได้อย่างสวยงามและดูมีอนาคตไกล แต่จะไปได้ไกลแค่ไหน แล้วจะมีอุปสรรคอะไร อย่างไรบ้าง คงต้องติดตามดูต่อไป

ในเวลานี้ หลายประเทศได้ริเริ่มองค์กรให้ทุนเพื่อสร้างระบบนิเวศน์งานวิจัยใหม่แนวๆ เสี่ยงสูง กำไรงามแบบเดียวกับดาร์พากันบ้างเเล้ว เช่นสำนักงานวิจัยและประดิษฐ์ขั้นสูง (Advanced Research and Invention Agency) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าเอเรีย (ARIA) ในสหราชอาณาจักร โครงการมูนช๊อต (moonshot) ของญี่ปุ่น และโครงการ SPRIN-D ของเยอรมนี

นี่อาจจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจในการผลักดันเทคโนโลยีดีปเทคให้ไปได้ไกลกว่าที่เคยทำมา การสร้างระบบนิเวศน์วิจัยและวิชาการที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการผลักดันงานวิจัยนวัตกรรมให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีใหม่อุตสาหกรรม