อสังหาฯเร่งตั้งทีมโฮม ไอโซเลชั่น ดูแลลูกบ้านกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวแก้เตียงขาด

อสังหาฯเร่งตั้งทีมโฮม ไอโซเลชั่น ดูแลลูกบ้านกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวแก้เตียงขาด

  • 0 ตอบ
  • 85 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ข้อมูลศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ระบุว่า ผู้ป่วยโควิดในกรุงเทพฯ ที่อยู่ในกลุ่มสีเขียวที่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ ซึ่งให้สามารถแยกกักตัวเองที่บ้าน (Home isolation) มีจำนวนกว่า 1 แสนคน แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน เกินกว่าจำนวนเตียงในโรงพยาบาลที่มีอยู่จำกัด แม้แต่โรงพยาบาลสนาม จึงจำเป็นต้องให้การรักษาที่บ้าน หรือ ศูนย์พักคอย (Community Isolation) มากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งต้องกักตัวอยู่ในคอนโด หรือหมู่บ้านที่ตนเองอาศัยอยู่

“จตุพร วิไลแก้ว” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด ในเครือบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวบางส่วนมีความจำเป็นต้องเข้าระบบรักษาแบบแยกกักตัวภายในที่อยู่อาศัยของตนเอง บริษัทจึงได้ร่วมกับบริษัท ออริจิ้น เฮลท์แคร์ จำกัด ในเครือออริจิ้น ยกระดับการดูแลคุณภาพชีวิตของลูกบ้าน ผ่านโครงการ Origin Health Buddy “เราคือเพื่อนคุณ” เพื่ออำนวยความสะดวกในการรักษาและเฝ้าระวังอาการให้แก่ผู้ติดเชื้อโควิดตามมาตรฐานอย่างปลอดภัย

“เราตระหนักถึงความกังวลใจของลูกบ้านทุกคน จึงวางมาตรการป้องกันสูงสุด ควบคู่กับการเฝ้าติดตามสถานการณ์และประกาศจากภาครัฐอย่างใกล้ชิด ตลอดจนตั้งทีม Origin Health Buddy ที่จะเป็นเสมือนผู้ช่วยคนสำคัญสำหรับลูกบ้านระหว่างโฮม ไอโซเลชั่น ให้ได้รับความปลอดภัยและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง”

สำหรับ Origin Health Buddy จะเป็นโครงการอำนวยความสะดวกและเป็นสื่อกลางในการประสานความช่วยเหลือแก่ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ทุกคนภายในโครงการที่อยู่อาศัยเครือออริจิ้น ที่จำเป็นต้องเข้าระบบการรักษาแบบโฮม ไอโซเลชั่น โดยทีมนิติบุคคลและเจ้าหน้าที่จะให้ความช่วยเหลือจัดเตรียมกล่องยังชีพและอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ยาสามัญประจำบ้าน ที่วัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว พร้อมคู่มือแนะนำในการปฏิบัติตัว และเบอร์โทรติดต่อฉุกเฉิน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการจัดส่งอาหารให้กับผู้ป่วยและลูกบ้าน และสอบถามติดตามอาการผ่านทางโทรศัพท์ทุกวัน

นอกจากนี้ บริษัทได้จัดตั้งทีมฉุกเฉิน พร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชม. ตลอดระยะเวลาการรักษา 14 วัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย และช่วยประสานไปยังทีมแพทย์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาเตียง กรณีที่ผู้ป่วยเข้าสู่อาการระดับสีเหลืองถึงสีแดงในระหว่าง โฮม ไอโซเลชั่น ให้เข้าถึงการรักษาโดยเร็วที่สุด


ทั้งนี้ ลูกบ้านเครือออริจิ้น ที่เข้าระบบรักษาแบบแยกกักตัวที่บ้าน โฮม ไอโซเลชั่นและมีความประสงค์รับอุปกรณ์และบริการอำนวยความสะดวก สามารถลงทะเบียนผ่านฟีเจอร์ใหม่ในแอปพลิเคชัน Primo Plus ทั้งใน App Store และ Play Store ได้ตั้งแต่วันนี้ทั้งระบบ iOS และ Android โดยภายในฟีเจอร์ดังกล่าว จะมีหลากหลายฟังก์ชันย่อยให้ผู้รับบริการสามารถใช้ได้ประกอบการทำโฮม ไอโซเลชั่น

ด้านบริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SMART) ธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ ในเครือเอพี ไทยแลนด์ ระบุว่า ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ในครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง บริษัทได้จัดตั้งทีมพิเศษ ‘Smart Home Isolation’ ที่พนักงานทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตลูกบ้านในคอมมูนิตี้เครือเอพีกว่า 270 โครงการ รวมกว่า 70,000 ครัวเรือน

ด้วยการให้คำแนะนำลูกบ้านที่ต้องกักตัวและรักษาตัวเองที่บ้านพร้อมจัดทำ “ถุงห่วงใยจากใจสมาร์ท” มอบเสริมให้กับลูกบ้านที่ดูแลตนเองในรูปแบบ โฮม ไอโซเลชั่น รวมถึงการอัพเดทสถานการณ์และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน SMART WORLD ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างสมาร์ทและลูกบ้าน ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการพบปะกับเจ้าหน้าที่นิติบุคคล ในขณะที่ธุรกรรมเรื่องบ้านและการอยู่อาศัยยังคงสามารถดำเนินได้ตามปกติ และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแบ่งเบาภาระบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้


“สมศรี เตชะไกรศรี” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด ในเครือแอล.พี.เอ็น กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อรวมในประเทศเฉลี่ย 2 หมื่นคน/วัน และสถานการณ์จำนวนเตียง อุปกรณ์การแพทย์ รถพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย LPP ในฐานะผู้บริหารนิติบุคคลอาคารชุดได้จัดตั้งโครงการ “Livable Community Isolation” รองรับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่ทวีจำนวนยิ่งขึ้น โดยให้ความดูแลและช่วยเหลือลูกบ้านในโครงการที่ LPP ดูแลกว่า 1.2 แสนครัวเรือน ใน 200 โครงการ ทั้งโครงการที่พัฒนาโดยบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) และโครงการภายนอก หรือ Non-LPN ให้ก้าวผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปพร้อมกัน

ทั้งนี้ การจัดเตรียมโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ในรูปแบบการแยกกักตัวรักษาที่บ้านสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการรุนแรงหรือเป็นผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียวนี้ LPP ได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลความรู้และหลักปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยแบบโฮม ไอโซเลชั่น จาก พญ.นาฏ ฟองสมุทร ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย และกรรมการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยการจัดสัมมนาออนไลน์ให้คณะกรรมการทุกนิติฯ รวมถึงเจ้าหน้าที่และบุคลากรของ LPP เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในแนวทางดำเนินการของ “Livable Community Isolation” และเพื่อให้บุคลากรในทุกชุมชนมีความพร้อมสูงสุด

สำหรับมาตรการดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยที่ LPP จัดเตรียมให้ลูกบ้านผู้พักอาศัยภายในโครงการในรูปแบบการแยกกักตัวภายในห้องพักอาศัยนั้น จะมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยสถานพยาบาลต่างๆ ให้ผู้ป่วยสามารถเข้าระบบการรักษาของรัฐตามโครงการ “โฮม ไอโซเลชั่น” และจะติดตามดูแลรวมถึงให้การสนับสนุนช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ จนกว่าผู้ป่วยจะได้รับความปลอดภัย อุ่นใจ และพบว่าผลตรวจเป็นลบ (Negative)

โดยมีเจ้าหน้าที่ของแต่ละนิติฯ คอยดูแลและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากหรือไม่แสดงอาการ (ผู้ป่วยสีเขียว) ภายใต้หลักการสำคัญ คือ การอำนวยความสะดวกแก่ลูกบ้านในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำไทม์ไลน์ของผู้ป่วยย้อนหลัง 7-14 วันเพื่อแจ้งเจ้าของร่วมหรือผู้พักอาศัยทุกท่านให้สังเกตอาการของตนเอง จัดส่งอาหาร ยา รวมทั้งสิ่งของที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการจัดเตรียมแม่บ้านคอยจัดเก็บขยะเศษอาหาร ขยะติดเชื้อตามเวลาที่กำหนดทุกวันด้วยมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง พร้อมช่วยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหากผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือ

“เรายังอำนวยความสะดวกหากผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์หรือหากผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงของโรคจากผู้ป่วยสีเขียวเป็นสีเหลือง ฝ่ายจัดการจะประสานงานกับโรงพยาบาลเจ้าของไข้เพื่อให้เข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งผู้ป่วยและผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก” สมศรีกล่าว