กรมควบคุมโรค หนุน “ธนาคาร”ทั่วไทย เพิ่มระบบจองคิวเบิก-ถอนล่วงหน้า

กรมควบคุมโรค หนุน “ธนาคาร”ทั่วไทย เพิ่มระบบจองคิวเบิก-ถอนล่วงหน้า

  • 0 ตอบ
  • 91 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Beer625

  • *****
  • 3030
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




กรมควบคุมโรค แนะธนาคารทั่วประเทศ ยึดหลักปฏิบัติ 6 ประการเพื่อป้องกันโควิด-19 ทั้งพนักงานและกลุ่มลูกค้าที่มีหลากหลาย เช่น ผู้สูงอายุ ชาวต่างชาติ และมีแหล่งที่อาจสะสมเชื้อโรค เช่น ธนบัตร เหรียญ ควรมีฉากใสกั้นที่เคาน์เตอร์บริการ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการสัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระยะประชิด ระบุหากธนาคารสามารถเพิ่มระบบให้ลูกค้าจองคิวเบิก-ถอนล่วงหน้าจะเป็นการดีมาก เพื่อช่วยลดความแออัดในสถานที่

วันนี้ (24 ส.ค.) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ธนาคารเป็นสถานที่ที่มีความจำเป็นในการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชน แม้ว่าขณะนี้ส่วนใหญ่จะเปิดให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์หรืออี-แบงค์กิง (E-banking) แล้วก็ตาม แต่ยังมีลูกค้าบางส่วนเดินทางเข้าไปรับบริการที่สำนักงานสาขา ซึ่งกลุ่มลูกค้ามีหลากหลาย เช่น ผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน ชาวต่างชาติ รวมทั้งฝ่ายของผู้ปฏิบัติงาน เช่น พนักงานธนาคาร เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและยังมีแหล่งที่อาจสะสมเชื้อไวรัสโควิด 19 เช่น ธนบัตร เหรียญต่างๆ อาจเป็นตัวกลางทั้งการรับเชื้อและการแพร่เชื้อโควิด 19 ในขณะเดียวกันได้ จากการเก็บข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2564 จนถึงปัจจุบัน พบว่าสาเหตุการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่วนหนึ่งมาจากการสัมผัส โดยเฉพาะการใช้สิ่งของร่วมกัน

“ธนาคาร จัดเป็นสถานที่ประเภทพื้นที่ปิดและมีเครื่องปรับอากาศ การสร้างความปลอดภัยทั้งลูกค้าและพนักงานของธนาคารทุกแห่งทั้งที่อยู่ในพื้นที่ระบาดควบคุมเข้มงวดสูงสุด 29 จังหวัด และจังหวัดอื่นๆ หากสามารถเพิ่มระบบการลงทะเบียนเพื่อให้ลูกค้า จองคิวบริการเบิก-ถอนล่วงหน้า จะเป็นการดีมาก เนื่องจากสามารถจัดบริการลูกค้าในแต่ละช่วงเวลาอย่างเหมาะสม มีเวลาเหลื่อมกัน จะลดช่วงเวลาการสัมผัสระหว่างที่นั่งรอคิวร่วมกันได้มาก” นายแพทย์โอภาสกล่าว

อย่างไรก็ตาม มาตรการความปลอดภัยจากโรคโควิด 19 ของธนาคารทุกแห่ง ยังคงต้องเข้มงวดสูงสุดเช่นกัน โดยกรมควบคุมโรค มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติ 6 ประการดังต่อไปนี้

1. ธนาคารควรจัดให้มีการคัดกรองอุณหภูมิเบื้องต้นของทั้งพนักงานและลูกค้า

2. ทำความสะอาดวัสดุ อุปกรณ์ พื้นที่ที่มีการสัมผัสร่วมอย่างสม่ำเสมอ เช่น เคาน์เตอร์ ที่นั่ง ที่กดบัตรคิว

3. กำหนดบริเวณสำหรับให้ลูกค้ากดบัตรคิวและรอคิว จำกัดจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการในสำนักงานแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้แออัดจนเกินไป

4. จัดแถวที่รอคอยเพื่อไม่ให้ลูกค้ายืนหรือนั่งชิดกันเกินไป โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร และควรมีฉากใสกั้นระหว่างลูกค้าและพนักงานธนาคารที่เคาน์เตอร์บริการทุกจุด เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการสัมผัสละอองฝอยน้ำลายที่มาจากการพูด หรือจากการหายใจทั้ง 2 ฝ่าย ในระดับประชิดคือไม่เกิน 2 เมตร

5. เจ้าหน้าที่ธนาคารทุกคน ทั้งพนักงานธนาคาร เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ต้องสวมหน้ากากอนามัย 100% ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ 70% ก่อนและหลังให้บริการลูกค้า ธนาคารมีระบบการรายงานติดตามสุขภาพของพนักงานทุกวัน หากพบว่ามีพนักงานธนาคารยืนยันติดเชื้อหรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าสถานที่ธนาคารเป็นจุดแพร่เชื้อ ขอให้ผู้จัดการธนาคาร ดำเนินการตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

6. ในส่วนประชาชนที่เข้าไปใช้บริการ ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างสูงสุด คือ สวมหน้ากากอนามัย 100% และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ 70% ก่อนและหลังใช้บริการ การเว้นระยะห่างกับผู้อื่นระหว่างนั่งรอคิวอย่างน้อย 1-2 เมตร

ทั้งนี้ ในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิดขณะนี้ แนะนำให้ประชาชนเตรียมปากกาของตนเองไปให้พร้อมในการทำธุรกรรมการเงิน เพื่อลดการสัมผัสกับปากกาส่วนกลางที่ใช้ร่วมกับคนอื่น พร้อมทั้งขอความร่วมมืองดสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ภายในธนาคาร เพื่อลดการปนเปื้อนและการแพ่รกระจายเชื้อโรค เนื่องจากขณะนี้พบว่าผู้ติดเชื้อโควิด 19 บางรายไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่แพร่เชื้อสู่คนรอบข้างที่ใกล้ชิดได้ตลอดเวลา นายแพทย์โอภาสกล่าว