“สุริยะ” ปลื้มเอกชนจ่อคิวลงทุนอุตฯ ชีวภาพเฉียด 1.5 แสนล้าน

“สุริยะ” ปลื้มเอกชนจ่อคิวลงทุนอุตฯ ชีวภาพเฉียด 1.5 แสนล้าน

  • 0 ตอบ
  • 82 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ครม.เมื่อ 17 ส.ค. 2564 ได้รับทราบข้อมูลความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี 2561-2570 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG Model (Bio, Circula, Green Economy) ซึ่งพบว่าภาคเอกชนยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการลงทุนให้เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนแม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยคาดว่าจะมีการลงทุนเบื้องต้นกว่า 149,000 ล้านบาทซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย เพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร สร้างงานและรายได้ให้คนในพื้นที่ และนำไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพในอาเซียน Bio Hub of ASEAN ภายในปี 2570

สำหรับโครงการที่สำคัญประกอบด้วย โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ของบริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด (GKBI) ที่ล่าสุดได้ร่วมลงทุนกับบริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชียแปซิฟิก จำกัด (NatureWorks) จากสหรัฐอเมริกา เพื่อผลิตพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดโพลีแลคติก แอซิด (PLA) กำลังการผลิตถึงประมาณ 75,000 ตันต่อปี โดยโครงการฯ ระยะที่ 2 มีมูลค่าลงทุน 21,430 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลไทยแล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงต้นปี 2565 และสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ภายในปี 2567

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน เช่น โครงการไบโอ ฮับ เอเซีย ของบริษัท อิมเพรส กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ที่ฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุน 57,600 ล้านบาท ซึ่งมีนักลงทุนหลายรายจากต่างประเทศที่สนใจร่วมลงทุนในโครงการ เช่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี สหราชอาณาจักร จีน ฝรั่งเศส และมีแผนลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากกัญชาเกรดทางการแพทย์ (Medical grade)

โครงการลพบุรีไบโอคอมเพล็กซ์ ของบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลชาวไร่ จำกัด ที่จังหวัดลพบุรี มูลค่าลงทุน 32,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบโครงการและเจรจากับนักลงทุนที่สนใจ รวมถึงจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการนิคมอุตสาหกรรม Bioeconomy ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ที่จังหวัดขอนแก่น มูลค่าลงทุน 29,705 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบทางด้านพันธุ์สัตว์ในพื้นที่รอบโครงการ และศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูง เช่น น้ำตาลแคลอรีต่ำ เบกกิ้งยีสต์ (Baking yeast) จากกากน้ำตาล โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ของบริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด มูลค่าลงทุน 8,400 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA และพิจารณาแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี โดยโครงการฯ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นพร้อมสร้างการรับรู้กับชุมชนที่อยู่โดยรอบโครงการแล้ว

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐได้มีการออกระเบียบต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงการส่งเสริมความต้องการผลิตภัณฑ์ในประเทศเพิ่มขึ้นโดยการออกใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ผ่านหลักเกณฑ์แก่ผู้ผลิต (Converter) เพื่อให้ผู้ซื้อคนแรกที่ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามประเภทที่กรมสรรพากรกำหนดนำไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 1.25 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ในช่วงปี 2562-กรกฎาคม 2564 ซึ่ง สศอ.ได้ออกใบรับรองแล้วทั้งสิ้น 48 ผลิตภัณฑ์ จากผู้ผลิตรวม 4 ราย

“ขณะนี้ สศอ. และกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาขยายระยะเวลามาตรการกระตุ้นการใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Green Tax Expense) ออกไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการว่ามีตลาดรองรับเพียงพออย่างแน่นอน และจูงใจให้ห้างร้านต่างๆ เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพทดแทนปีละไม่ต่ำกว่า 10% ของปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดสิ้นเปลืองทั้งหมด” นายทองชัยกล่าว