ส่องสูตร(ไม่)ลับ 'เอสแอนด์พี' พลิกโกย "กำไร" ทุบสถิติขาย ฝ่าวิกฤติ

ส่องสูตร(ไม่)ลับ 'เอสแอนด์พี' พลิกโกย "กำไร" ทุบสถิติขาย ฝ่าวิกฤติ

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เมื่อต้องดำเนินธุรกิจภายใต้สถานการณ์วิกฤติโรคระบาด การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง “เอส แอนด์ พี” ร้านอาหารและเบเกอรี่ชั้นนำ ป็นอีกองค์กรที่ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี ฮึดสู้และพลิกหลายกระบวนท่า จนนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี

วิทูร ศิลาอ่อน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด(มหาชน) ฉายภาพว่า ปี 2563 เป็นปีที่บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมาก ทั้งโรงงานผลิตสินค้า บริหารกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดและผู้บริโภค การดูแลแรงงานทั้งหน้าร้าน บาร์น้ำ เดลิเวอรี่ เพิ่มประสิทธิภาพหรือโปรดักทิวิตี้ ในการทำงานมากขึ้น ส่วนร้านที่มีสาขาในห้างค้าปลีก มีการเจรจากับเจ้าของหางหรือแลนด์ลอร์ดในการลดค่าเช่าพื้นที่ เป็นต้น 

ส่วนปี 2564 บริษัทเน้นการปรับตัวเร็วและแรงหรือ Agile มากขึ้น และต้องทำตลอดเวลา เพื่อให้เอสแอนด์พี มีความแข็งแรงมากขึ้น ไม่ว่าบริษัทจะเจอกับสถานการณ์หนักเบาเพียงใด หรือการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นตลอดเวลาก็ตาม 

“เรายังมุ่นมั่นดำเนินธุรกิจหลักให้แกร่ง แต่การที่ธุรกิจะมีความยั่งยืน วิธีการคิดหรือมายด์เซ็ทต้องเข้มแข็ง มุ่งมั่น เอสแอนด์พี เราต้องพร้อมจะเปลี่ยนเร็วและแรงเพื่อใหองค์กรอยู่รอดอย่างดี ด้านวิสัยทัศน์ระยะยาวต้องชัด มีการดิสรัปวิธีคิดใหม่ๆ อย่าให้ความคุ้นเคยเก่าๆ วิธีการทำงานเดิมๆทำให้บริษัทเชื่องช้า การมุ่งเรื่องฟิตและลีนต้องทำต่อเนื่อง เพื่อให้ผลประกอบการและกำไรเป็นไปตามเป้าหมาย และยังสานภารกิจสร้างสรรค์สินค้าและบริการตอบสนองให้ลูกค้ามีความสุข” 

ทั้งนี้ วิกฤติโควิดเปรียบเหมือนเสียงปลุก(Wake up call)ครั้งใหญ่ ทำให้รู้ว่าหนทางการต่อสู้ยังอีกยาวไกล บริษัทจึงต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆมาผลักดันการเติบโต โดยแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจครึ่งปีหลัง ลุย 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ตอบโจทย์ความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค ด้วยการขยายร้านเดลต้าอีก 20 สาขา เพื่อให้สิ้นปีมีร้านครบ 31 สาขา รองรับบริการเดลิเวอรี่ และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ่้น 2.การผลักดันยอดขายเดลิเวอรี่ให้แตะ 3 ล้านบาทต่อวัน 


3.ปรับกลยุทธ์สินค้าที่จำหน่ายช่วงเทศกาล มาเป็นสินค้าขายทุกวัน เช่น คุกกี้จากขายช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองเดือนพฤศจิกายน ธันคาคม มาขายทุกวัน ขนมไหว้พระจันทร์ลด 20% ทุกวัน ไม่ต้องรอวันพุธ รังสรรค์เค้กที่ทานได้ทุกวัน มีเค้กรวมรสเพิ่มความหลากหลาย การสั่งเค้กต้องได้เค้ก คือลูกค้าต้องการเค้กแบบไหน เอสแอนด์พีต้องทำได้ตามสั่งทุกอย่าง ฯ  พร้อมทั้งผลักดันชุดอาหารไทยซึ่งสินคา “ฮีโร่”ต้องประกอบอาหารให้เร็ว เพื่อเสิร์ฟถึงมือลูกค้าเร็วขึ้น และ 4.การบริหารจัดการต้นทุน ทั้งโรงงาน พนักงาน ค่าเช่า การผนึกกำลังแบรนด์ในเครือทำตลาดเพื่อไม่ให้ขาดทุน เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ไมเซน ฯ 

ปี 2564 บริษัทยังเดินหน้าขยายร้านเอสแอนด์พี มาร์ท ให้เป็น 10 สาขา จากปัจจุบันมีร้านต้นแบบ 1 แห่งที่อาคารอิตัลไทย โดยร้านดังกล่าวมีคอนเซปต์ช้อปสนุก จ่ายเงินเร็ว ขณะเดียวกันบริษัทจะปรับปรุง(Revamp)กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า(ซีอาร์เอ็ม) ให้สอดคล้องกับดิจิทัลแพลตฟอร์มมากขึ้น รวมถึงเน้นสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าครบครันความอร่อย ร้อน เร็ว 

“เรายังมุ่งมั่นการเป็นร้านอาหารไทยและเบเกอรีร้านโปรดของคนไทย เช่น เบเกอรีต้องย้ำจุดแข็งเบอร์ 1 เค้กวันเกิด ทำให้ลูกค้าไม่ต้องนึกถึงแบรนด์อื่น  รีเทลปีนี้จะร่วมมือกับพันธมิตรนำสินค้าที่โดดเด่นไปเสนอขายผ่านช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น ส่วนฟู้ดเซอร์วิส ต้องเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ๆต่อเนื่อง”   



อรรถ ประคุณหังสิต ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการธุรกิจ บริษัท เอส แอนด์ พี บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจเดลิเวอรี่เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากขยายจุดจำหน่ายได้มากขึ้นทั้งแปลงร้านเบเกอรี 323 จุดทั่วประเทศ ขยายร้านเดลต้ามากขึ้น และการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ผ่าน snp1344.com ง่าย สะดวกขึ้น รวมถึงพัฒนาเมนูป้อนเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ 

การปรับตัวตลอดดเวลา ทำให้บริษัทสร้างสถิติยอดขายมากมาย เช่น 12 สิงหาคม เดลิเวอรี่ทำนิวไฮ 4.4 ล้านบาท เค้กวันแม่ยอดขาย 14,000 จาน ข้าวแช่โกยยอด 26 ล้านบท หรือ 1.54 แสนชุด โต 3 เท่าจากปีก่อนขาย 4 หมื่นชุด การปิดบริการนั่งทานในร้าน แต่ออกโปรโมชั่น 1 แถม 1 ทำยอดขาย 61 ล้านบาท ประเดิมปรับกลยุทธ์ขายคุกกี้ทุกวันได้ 7 ล้านบาท จากขายเฉพาะเทศกาลกว่า 200 ล้านบาท  กาแฟบลูคัพหั่นราคาเริ่มที่ 69 บาท ยอดขาย 4 ล้านบาท หรือ 6 หมื่นแก้วต่อเดือน จากเดิม 4 หมื่นแก้วต่อเดือน ใช้พื้นที่นั่งทานอาหารในร้านปรับเป็น  “เอสแอนด์พีมาร์เก็ตเพลส” เดือนกรกฎาคมทำยอดขาย 100 ล้านบาท เป็นต้น 

เจาะกลยุทธ์ "เอสแอนด์พีมาร์เก็ตเพลส"

“เดลิเวอรี่ทำยอดขายเติบโตอย่างแข็งแกร่ง 28% อีกพระเอกคือกับข้าวไทย ครึ่งปีหลังจะออก 50 เมนูใหม่ ตอกย้ำช่องทางเดลิเวอรี่ รวมถึงเปิดตัวอาหารว่างหรือสแน็คบ็อกซ์ทำตลาดเพิม ที่ขาดไม่ได้คือการซีนเนอร์ยีร้านอาหารในเครือทั้งไมเซน อุเมะโนะฮานะ ออกโปรโมชั่นใหม่ๆ ตอบสนองและขยายฐานลูกคา”  

สำหรับภาพรวมครึ่งปีแรก บริษัททำรายได้รวม 2,214 ล้านบาท ลดลง 9% คิดเป็น 219 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 123 ล้านบาท เติบโต 258% หรือเพิ่มขึ้น 201 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ “ขาดทุน” 78 ล้านบาท เฉพาะไตรมาส 2 ทำกำไร 44 ล้านบาท เติมโต 185% หรือเพิ่มขึ้น 95 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขาดทุน 51 ล้านบาท