อสังหาฯรุกธุรกิจให้เช่า 'โรงงาน-คลังสินค้า' ขุมทรัพย์ใหม่!!

อสังหาฯรุกธุรกิจให้เช่า 'โรงงาน-คลังสินค้า' ขุมทรัพย์ใหม่!!

  • 0 ตอบ
  • 83 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kaidee20

  • *****
  • 2826
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ในสถานการณ์ที่ส่อเค้า 'เลวร้าย' แสนสิริ และออริจิ้น 'ยักษ์ใหญ่' ในวงการอสังหาฯ ที่มีฐานะการเงินมั่นคงและมั่งคั่ง ที่มีเป้าหมายขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มองเห็น 'โอกาสลงทุนใหม่' ในธุรกิจให้เช่าโรงงาน-คลังสินค้า

โดย แสนสิริ ได้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่ กับ พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาพื้นที่และประกอบธุรกิจประเภทกิจการคลังสินค้าและอาคารโรงงานให้เช่าในพื้นที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา บนที่ดินทั้งหมด 145 ไร่ ประมาณ 110,000 ตร.ม.ตั้งอยู่ในทำเลอันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของภาคอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ไม่ไกลจากนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงโครงการเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ อีอีซี โดยจะเริ่มก่อสร้างช่วงปลายปีพ.ศ. 2564 และจะสามารถส่งมอบพื้นที่เฟสแรกภายในช่วงต้นปีพ.ศ. 2566

ขณะที่ ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ได้ร่วมมือกับบริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) เตรียมเปิดตัวธุรกิจเพื่อการอุตสาหกรรมพร้อมบริการครบวงจร เนื่องจากโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จทางเศรษฐกิจในยุคนิวนอร์มอลพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนมาซื้อสินค้าและบริการผ่านออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจกระจายสินค้ามีบทบาทเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจให้เช่า“โรงงาน-คลังสินค้า”เป็นธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรงสวนกระแสโควิด-19 มาตั้งแต่ปี2563 เพราะได้รับผลกระทบ“เชิงบวก”จากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมอร์ซที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น4แสนล้านบาท


“ภัทรชัย ทวีวงศ์ ”ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและการสื่อสารคอลลิเออร์ส ประเทศไทย ระบุว่า ภาพรวมธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานให้เช่าในช่วงครึ่งหลังปี2564 ยังสามารถเติบโตได้ดี เพราะมีความต้องการเช่าพื้นที่คลังสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละราย(Built-to-Suit)และ Warehouse Farm ซึ่งเป็นโครงการที่ให้บริการทั้งในรูปแบบ Built-to-Suit และแบบสำเร็จรูป (General Warehouse) ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการต่างชาติยังมีความสนใจจะลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย ประกอบกับความต้องการในภาคการส่งออกสินค้าหลายกลุ่ม เช่น ธุรกิจแปรรูปอาหาร ธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์และเวชภัณฑ์ ธุรกิจออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยสำคัญจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาซื้อขายทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจทั้งซัพพลายเชนไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซ ระบบโลจิสติกส์ โรงงานและคลังสินค้าเติบโตตามไปด้วย แม้ว่าการระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยจะยังคงมีแน้วโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา แต่ธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานยังสามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดี


ภัทรชัย กล่าวว่า ภาพรวมซัพพลายคลังสินค้าและโรงงานครึ่งปีแรกเปิดบริการใหม่ยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 1.16% จากในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา จากการเปิดตัวคลังสินค้าและโรงงานใหม่ของ ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น ที่เปิดตัวโครงการดับบลิวเอชเอ เมกกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ แหลมฉบัง แห่งที่ 2 บนพื้นที่รวมทั้งหมดกว่า 50,000 ตร.ม.มีผู้เช่าหลักเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มโลจิสติกส์เพื่อใช้เป็นศูนย์กระจายสินค้าสำหรับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน , ไวส์ โลจิสติกส์ เปิดตัวคลังสินค้าแห่งใหม่ ถ.บางนา–ตราด กม.18 ด้วยพื้นที่ทั้งหมด 10,000 ตร.ม.มีลูกค้าเข้าใช้บริการแล้ว 60%

ขณะที่เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล เปิดตัวเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ บางพลี 7โลจิสติกส์เซ็นเตอร์บนทำเลย่านบางพลี โดยโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วยศูนย์กระจายสินค้า 3 อาคาร มีพื้นที่อาคารรวม 74,000 ตร.ม. มีลงนามเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ไปแล้วกว่า60% ก่อนเปิดตัวคลังสินค้าอาคารแรกอย่างเป็นทางการ และอยู่ระหว่างการการพัฒนาคลังสินค้าแบบสร้างตามความต้องการแห่งใหม่ พื้นที่กว่า 34,000 ตร.ม. ตั้งอยู่ใน เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (วังน้อย 2) จ.พระนครศรีอยุธยาให้กับไทยเบฟเวอเรจ และยังมีแผนการพัฒนาพัฒนาพื้นที่ใหม่เพื่อเสริมสร้างพอร์ตโฟลิโออีกกว่า 1 ล้าน ตร.ม.ในอีก 5 ปีข้างหน้า

จากข้อมูลพบว่า ซัพพลายสะสมพื้นที่คลังสินค้าและโรงงานในพื้นที่จ.สมุทรปราการยังคงสูงสุด คิดเป็น 38.00% หรือ 2,691,6022 ตร.ม. ตามมาด้วยในพื้นที่อีอีซี คิดเป็น 32.00 % หรือ 2,255,517 ตร.ม. และยังคงพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ยังคงพยายามขยายธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานให้เช่าอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่า ทั้งปี2564 จะมีคลังสินค้าและโรงงานให้เช่าเปิดบริการใหม่อีกกว่า 200,000 ตร.ม. โดยเฉพาะในพื้นที่จ.สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา และในพื้นที่อีอีซี(จ.ระยอง ชลบุรีและฉะเชิงเทรา)

ครึ่งแรกของปี2564 มีพื้นที่คลังสินค้าและโรงงานในประเทศไทยถูกใช้ไปแล้วทั้งหมด 6.099 ล้านตร.ม.จากพื้นที่ทั้งหมด 6.963 ล้านตร.ม. ซึ่งคิดเป็น 87.60% ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.10% จากในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่กรุงเทพฯ ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเช่าสูงสุดอยู่ที่91.70% ของพื้นที่คลังสินค้าและโรงงานทั้งหมด รองลงมาคือในพื้นที่จ.สมุทรปราการซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการทางด้านโลจิสติกส์ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีการเชื่อมต่อกับศูนย์กลางการผลิตและการกระจายสินค้า โดยพบว่ามีอัตราการเช่าอยู่ที่91.00% ตามด้วยพื้นที่อีอีซี ที่มีอัตราการเช่าอยู่ที่ 77.80%

ส่วนราคาค่าเช่าเฉลี่ยสำหรับพื้นที่คลังสินค้าและโรงงานทุกพื้นที่ในช่วงครึ่งแรกของปี2564 ที่ผ่านมาปรับตัวมาอยู่ที่ 155 บาทต่อตร.ม.เพิ่มขึ้นจากในช่วงครึ่งหลังของปีก่อนหน้า 3 บาท หรือคิดเป็น 1.97% ผู้พัฒนาส่วนใหญ่ปรับราคาค่าเช่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย พื้นที่กรุงเทพฯยังคงเป็นพื้นที่ที่มีราคาค่าเช่าเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 180 บาทต่อตร.ม. ซึ่งคลังสินค้าให้เช่าบางแห่งในพื้นที่กรุงเทพฯ มีราคาเสนอเช่าสูงกว่า 200 บาท สัญญาเช่า 3 ปี ตามด้วยค่าเช่าในพื้นที่จ.สมุทรปราการอยู่ที่ 156 บาทต่อตร.ม. และในพื้นที่อีอีซี 153 บาทต่อตร.ม.