จัดสร้าง “พิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่า” อนุรักษ์สมบัติชาติไทยที่ยิ่งใหญ่

จัดสร้าง “พิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่า” อนุรักษ์สมบัติชาติไทยที่ยิ่งใหญ่

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันนี้ (22 ส.ค.) สืบเนื่อง รัฐบาลเตรียมจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่า เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งอยู่ในเนื้อที่ 79 ไร่ 2 งาน 60.9 ตารางวา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ ที่กองทัพบกได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยรัฐบาลตั้งใจจัดสร้างขึ้นเพื่อจัดแสดงสมบัติของชาติ แสดงองค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าของประเทศไทย ให้ประชาชนเกิดความรัก หวงแหนในทรัพยากรป่าไม้ เกิดจิตสำนึกร่วมกันในการพิทักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของชาติ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ในการจัดแสดงงานศิลปะ ด้านประติมากรรม จิตรกรรม งานฝีมือต่างๆ ของช่างไทย

รวมทั้งใช้เป็นอาคารรับรองแขกของรัฐบาลเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ทางศิลปะของประเทศไทยด้วยไม้มีค่าดังกล่าว จะเป็นไม้ของกลางที่คดีสิ้นสุดแล้ว ซึ่งตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินแล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หลักๆ จะนำไม้ของกลางมาจาก 3 หน่วยงานหลัก คือ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ล่าสุด นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้จัดประชุมคณะกรรมการฝ่ายโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งมีความคืบหน้าในการพิจารณาแบบการก่อสร้างที่มีการปรับปรุงจากกรมศิลปากร วงเงินงบประมาณใหม่สำหรับการก่อสร้างที่มีการปรับลดลง โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้กรมศิลปากร กรมยุทธโยธาทหารบก สำนักงบประมาณ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันจัดทำรายละเอียดแผนการดำเนินการก่อสร้างและรายละเอียดงบประมาณ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป เพื่อให้โครงการสามารถจัดทำคำของบประมาณได้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และสามารถดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จภายในปี 2570 

ด้าน นายชีวภาพ ชีวะธรรม รองอธิบดีกรมป่าไม้ เผยว่า ไม้มีค่าที่ใช้ในพิพิธภัณฑ์เป็นไม้มีค่า 6 ชนิด ได้แก่ ไม้พะยูง ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่าโมง และไม้สัก ซึ่งเป็นไม้มีค่าที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองป่าเมืองไทยมาช้านาน มีความนิยมสูงจึงทำให้มีการลักลอบตัดไม้เหล่านี้ โดยเจ้าหน้าที่สามารถยึดไม้ของกลางเป็นจำนวนมาก เมื่อคดีสิ้นสุดไม้ของกลางจะตกเป็นของแผ่นดิน ภายใต้การกำกับของ ปลัด ทส. จึงได้มอบหมายให้กรมป่าไม้ ทำหน้าที่ประสาน ตรวจสอบข้อมูล และรวบรวมไม้ของกลางขนย้ายไปยังองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เพื่อนำไปแปรรูปจัดเตรียมการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า โดยไม้ของกลางล็อตที่ใหญ่ที่สุด คือ คดีไม้สาละวิน เป็นไม้สักทั้งหมด อยู่ในจ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่ติดกับประเทศเมียนมา มีการยึดจับกุมเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จนขณะนี้คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้มีไม้ของกลางตกเป็นของแผ่นดินกว่า 15,000 ท่อน มูลค่าหลายพันล้านบาท

ทาง ปลัด ทส. จึงมีความเห็นให้กรมป่าไม้นำไม้ของกลางที่ปัจจุบันถูกดูแลรักษาโดยกองพันทหารม้าที่ 22 ค่ายอดิศร จ.สระบุรี ซึ่งไม้ของกลางทั้งหมดถูกแช่น้ำไว้ในบ่อ ถือเป็นภูมิปัญญาอิงวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันไม่ให้มอด แมลงต่างๆ มาทำลายได้ ซึ่งขณะนี้กรมป่าไม้ได้ทยอยนำไม้ของกลางเหล่านี้นำส่งโรงเลื่อยของ อ.อ.ป. วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในการขนส่งจะมีรถนำขบวน ทีมเฉพาะกิจพยัคฆ์ไพรตามประกบ ติดจีพีเอสรถบรรทุก เนื่องจากมูลค่าไม้ของกลางมีมูลค่าสูง แค่ไม้ท่อนหนึ่งมีมูลค่าเป็นแสนบาท ดังนั้นขนส่งรอบหนึ่งมูลค่าก็เป็นล้านบาท จึงต้องมีทีมดูแลการขนส่งอย่างเข้มข้น ซึ่งคาดว่าก่อนปลายปี 2564 จะสามารถขนส่งไม้ของกลางแล้วเสร็จทั้งหมด

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพ.ค. 58 – เม.ย. 64 ทาง อ.อ.ป. ได้รับไม้ของกลางที่คดีถึงที่สุดแล้วจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมศุลกากร 237,898 ท่อน/แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 9,899.886 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยสามารถแปรรูปได้ 2,018.096 ลบ.ม. แบ่งเป็นไม้พะยูง 864.037 ลบ.ม. ไม้สัก 701.812 ลบ.ม. ไม้แดง 81.725 ลบ.ม. ไม้ประดู่ 234.406 ลบ.ม. ไม้มะค่าโมง 62.601 ลบ.ม. และไม้ชิงชัน 73.515 ลบ.ม.

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะใช้ไม้มีค่าในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ประมาณ 25,000 คิวฟุต ขณะที่ไม้มีค้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมกันมีไม่ต่ำกว่า 120,000 คิวฟุต จึงน่าจะมีไม้มีค่าเพียงพอต่อการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แล้ว โดยจะนำส่ง อ.อ.ป. เพื่อแปรรูปไม้ตามที่กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบไว้ โดยมีการเลือกไม้ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ ส่วนไม้มีค่าของกลางที่เหลือจากการก่อสร้าง อาจมีการพิจารณาให้หน่วยงานราชการอื่นๆ นำไปใช้ได้ตามความจำเป็นและตามความเหมาะสมต่อไป

“พิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่า เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ จะมีโครงสร้างหลักเป็นปูนเสริมหลัก โดยใช้ไม้มีค่าตกแต่งภายใน เพดาน ทำเป็นศาลาเรือนไทย และอื่นๆ ตามที่กรมศิลปากรออกแบบ ซึ่งจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยที่สร้างโดยคนไทยเอง มีความยิ่งใหญ่อลังการ ถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้ไม้มีค่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” นายชีวภาพ รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวย้ำ