เบื้องลึก “ธุรกิจนวด-สปา” 3 หมื่นล้านล่มสลาย “เลิกทน” เดินหน้าฟ้องรัฐบาล 3 ลุง 200 ล้าน

เบื้องลึก “ธุรกิจนวด-สปา” 3 หมื่นล้านล่มสลาย “เลิกทน” เดินหน้าฟ้องรัฐบาล 3 ลุง 200 ล้าน

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Beer625

  • *****
  • 3030
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




กลุ่มธุรกิจร้านนวดแผนไทยและร้านสปา ยื่นฟ้องดำเนินคดีรัฐเรียกร้องค่าเสียหายชดเชย 200 ล้าน สืบเนื่องจากคำสั่งปิดกิจการตามนโยบายบริหารจัดการโควิด-19 แต่กลับไร้ซึ่งการเยียวยาจากรัฐ นำสู่การฟ้องแพ่งแบบรวมกลุ่ม (Class Action) เรียกร้องให้รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของประชาชน และความเสียหายที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการ เป็นตัวอย่างสร้างบรรทัดฐานแก่ภาคธุรกิจอื่นๆ

อ้างอิงข้อมูลของ “สมาคมสปาไทย” พบว่า ตลาดสปาและนวดแผนไทยมีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรก ซ้ำเติมความเสียหายด้วยระลอกใหม่อย่างต่อเนื่อง จากเดิมปิดชั่วคราวปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจสปาและนวดแผนไทยปิดตัวถาวรแล้วกว่า 80% ส่งผลให้พนักงานตกงานมากกว่า 2 แสนคน โดยส่วนใหญ่ไม่เงินทุนหมุนเวียน เพราะรายได้หายไป 100% เพราะต้องปิดให้บริการตามประกาศของรัฐ อีกทั้งยังต้องแบกรับรายจ่าย ค่าเช่าที่ ค่าน้ำค่าไฟ เงินเดือนพนักงาน ฯลฯ

ทั้งนี้ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา เป็นหนึ่งในกิจการที่ถูกสั่งปิดทุกครั้งที่เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ตามคำสั่งของรัฐ แต่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐ นายพิทักษ์ โยธานายกสมาคมจารวีเพื่ออนุรักษ์นวดแผนไทย กล่าวว่ากลุ่มผู้ประกอบการร้านนวดได้รับผลกระทบจากนโยบายสั่งปิดกิจการร้านนวดตั้งแต่ปี 2563 และถูกสั่งปิดต่อเนื่องทุกครั้งของการล็อกดาวน์

“คำสั่งของรัฐ ทำให้เรามีภาระหนี้สิน สิ้นเนื้อประดาตัว เราอดทนมาพอแล้ว” นายพิทักษ์ โยธา นายกสมาคมจารวีเพื่ออนุรักษ์นวดแผนไทย กล่าว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเยียวยา ชดเชยการสูญเสียรายได้ การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค การลดหย่อนหรือยกเว้นการจ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงการกำหนดมาตรการที่เอื้อประโยชน์ เพื่อให้กิจการนวดสปาสามารถเปิดดำเนินกิจการต่อไปได้ ทว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่รับการเยียวยาจากภาครัฐ เป็นเหตุผลให้ผู้ประกอบการรวมตัวฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายจากภาครัฐกว่า 200 ล้านบาท

การฟ้องร้องครั้งนี้นำโดย น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะเป็นตัวกลางยื่นฟ้อง พร้อมกับ นายพิทักษ์ โยธานายกสมาคมจารวีเพื่ออนุรักษ์นวดแผนไทย และ น.ส.อักษิกา จันทรวินิจ ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการร้านนวดและสปาในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มรวม 157 คน เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายให้ผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อน จากการถูกสั่งปิดสถานประกอบการร้านนวดตามคำสั่งของรัฐบาล

นับเป็นการดำเนินการฟ้องแพ่งแบบรวมกลุ่มหรือ Class Action ครั้งแรก ซึ่งถือเป็นคดีแรกและเป็นคดีในประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลจะตัองรับผิดชอบต่อชีวิตของประชาชน และความเสียหายที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการ ทั้งๆ ที่เป็นมาตรการที่รัฐบาลสั่ง แต่ไม่มีมาตรการที่จะมารองรับความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยผ่านมากว่าหนึ่งปีแล้วที่ผู้ประกอบการร้านนวดเหล่านี้ยังไม่เคยได้รับการเยียวยาจากภาครัฐ

ดังนั้น การบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ที่ผิดพลาด ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับประชาชน ซึ่งนับเป็นการฟ้องร้องคดีแรกของการฟ้องรวมกลุ่มของกลุ่มผู้ประกอบการร้านนวด โดยจะขยายไปยังกลุ่มผู้ประกอบการอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร และผับ บาร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบกิจการร้านนวดเพื่อสุขภาพและตัวแทนของสมาชิกกลุ่มประกอบกิจการร้านนวดเพื่อสุขภาพซึ่งมีสมาชิกกลุ่มรวม 157 คน ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร ต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ พ3782/2564 โดยขออนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม อันสรุปคำฟ้องได้ใจความว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ปล่อยปละละเลย จงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดต้นเหตุของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวแบบกลุ่มก้อนหลายครั้ง

พลเอกประยุทธ์ และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวผิดพลาดทำให้ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าวและไม่สามารถบริหารจัดการวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤติด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจจนสูญเสียโอกาสในการฟื้นตัวสู่สภาวะปกติ เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวบานปลายจนกระทั่งไม่สามารถควบคุมได้

นอกจากนี้ พลเอกประยุทธ์ได้ออกข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้ปิดสถานประกอบกิจการร้านนวดหรือนวดแผนไทยทั่วราชอาณาจักรหลายครั้ง ทำให้โจทก์ทั้งสองและสมาชิกกลุ่มร้านนวดเพื่อสุขภาพไม่สามารถประกอบกิจการได้โดยสิ้นเชิง ทั้งยังปล่อยปละละเลยไม่สั่งการหรือดำเนินการเพื่อออกมาตรการรองรับหรือเยียวยาให้แก่โจทก์ทั้งสองและสมาชิกกลุ่มร้านนวดเพื่อสุขภาพที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกสั่งปิดกิจการ ทำให้โจทก์ทั้งสองและสมาชิกกลุ่มร้านนวดเพื่อสุขภาพได้รับความเสียหาย

โดยขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 7,199,262.42 บาท โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 3,597,666.52 บาท และให้แก่สมาชิกกลุ่มสถานประกอบการร้านนวดเพื่อสุขภาพและสปาตามวิธีการคำนวนค่าเสียหายของแต่ละบุคคล พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

อนึ่ง ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ พ3782/2564 ได้พิจารณาคำร้องและคำฟ้องดังกล่าวแล้วมีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มวันที่ 21 กันยายน 2564

ด้าน น.ส.มณลภัส ไทยเจริญ เจ้าของร้านสปาเดวาย่านสุขุมวิท 101/1 บอกว่า ร้านของตนถูกปิดมานานกว่า 8-9 เดือนแล้ว มีหนี้สินอยู่หลายแสน แถมยังได้จดหมายทวงหนี้จากรัฐ เรียกเก็บภาษีโรงเรือนภาษีป้าย นอกจากนี้ ผู้เช่ายังต้องเสียค่าเช่าให้กับผู้ให้เช่าอีกเดือนละ 30,000 บาท ถึงตอนนี้ยังต้องจ่าย คิดว่าต่อไปนี้คงเลิกทำอาชีพนี้แล้ว เพราะจ่ายไม่ไหวแล้ว

จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในงานเขียนเรื่อง สปาและนวดแผนไทย…จะไปอย่างไรต่อ?ของ “สุพริศร์ สุวรรณิก” แห่งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์” พบว่า อุตสาหกรรมสปาและนวดแผนไทยแบ่งลักษณะกิจการออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) กิจการประเภทสปา เน้นการให้บริการบำบัดดูแลสุขภาพและความงามแบบองค์รวม และ 2) กิจการประเภทนวดเพื่อสุขภาพ เน้นเรื่องการบำบัดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยวิธีการนวดเพียงอย่างเดียว โดยปัจจุบันกิจการทั้งหลายอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ อุตสาหกรรมมีความเกี่ยวข้องกับแรงงานไทยเป็นจำนวนมาก โดยมีข้อมูลในงานเสวนา Industry transformation ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อหาข้อเสนอแนะแนวทางช่วยเหลือและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมคาดว่ามีการจ้างงานจากทั้งในและนอกระบบสูงถึงกว่า 6.5 แสนราย

เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรก ผู้ประกอบการทุกขนาดในอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก แม้จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐและสถาบันการเงินไปบางส่วนแล้ว เช่น มาตรการ 2/3 ชดเชยรายได้ 5,000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งบรรเทาความเดือดร้อนได้ในระดับหนึ่ง ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เน้นให้บริการลูกค้าชาวต่างชาติ เป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด ขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กที่มีสายป่านยาวพอ ยังสามารถประคับประคองธุรกิจอยู่ได้บ้าง ทั้งนี้ ธุรกิจปรับตัวโดยกิจการขนาดใหญ่หลายแห่งลดจำนวนสาขาย่อยลงเพื่อควบคุมต้นทุน ขณะที่ผู้ประกอบการรายเล็กมีความพยายามปรับตัวที่หลากหลาย เช่น การให้บริการนวดตามบ้าน เป็นต้น

หนึ่งในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตคือ การเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกอุตสาหกรรมสปาและนวดแผนไทยจำนวนมาก โดยกว่าครึ่งได้เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น ๆ แทน อาทิ พนักงานขนส่งเดลิเวอรี่ และบางส่ วนได้ ย้ายกลับไปภูมิลำเนาเดิม และทำการเกษตร อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมสปาและนวดแผนไทย เป็นส่วนหนึ่งของ health & wellness อันเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ของรัฐ จึงควรให้ความสำคัญ และสามารถยกระดับศักยภาพได้

สำหรับการฟ้องร้องดำเนินคดีครั้งนี้ ถือเป็นประเด็นที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง เพราะคดีดังกล่าวจะเป็นบรรทัดฐานแก่ภาคธุรกิจอื่นๆ ในการฟ้องร้องต่อไปด้วยความเสียหายที่เกิดขึ้นมาจากคำสั่งรัฐ ดังนั้นจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้