ไมโครซอฟท์ฉลุยปี 65 แม้รายได้ ‘ไลเซนส์’ หดตัวต่อเนื่อง (Cyber Weekend)

ไมโครซอฟท์ฉลุยปี 65 แม้รายได้ ‘ไลเซนส์’ หดตัวต่อเนื่อง (Cyber Weekend)

  • 0 ตอบ
  • 69 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย (Microsoft) เคยระบุว่าปี 63 เป็นปีที่บริษัทเริ่มต้นโมเดลธุรกิจใหม่โดยไม่รอการขายไลเซนส์ซอฟต์แวร์ผ่านเวนเดอร์-ดิสทริบิวเตอร์แบบเดิม ทำให้สามารถเปิดตลาดสตาร์ทอัปรวมถึงบริษัทรายย่อยได้แบบไม่ต้องใช้แบรนด์ไมโครซอฟท์ออกหน้า วิธีนี้ออกผลงอกงามจนทำให้ไมโครซอฟท์พร้อมเดินหน้าต่อ ร่วมกับอีกหลายกลยุทธ์ที่เตรียมไว้สำหรับปีการเงิน 2565 ซึ่งเป็นปีที่รายได้การขายไลเซนส์ซอฟต์แวร์ยังคงลดลงอีก 

ในขณะที่ไม่สามารถเปิดเผยสัดส่วนรายได้ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์รายงานผลประกอบการทั่วโลกสำหรับไตรมาสล่าสุด (สิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 64) ซึ่งเป็นไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 64 ว่ามีรายรับโดยรวมอยู่ที่ 46,150 ล้านเหรียญสหรัฐ เบ็ดเสร็จแล้วมีรายได้เพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบกับช่วงปีที่แล้ว แหล่งรายได้หลักมาจากธุรกิจลูกค้าองค์กร ‘Productivity and Business Processes’ (14,690 ล้านเหรียญ) ธุรกิจที่ใหญ่รองลงมาคือกลุ่ม ‘More Personal Computing’ (14,090 ล้านเหรียญ) ซึ่งรวมรายได้จากระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) ฮาร์ดแวร์ เกม และโฆษณาบนเครือข่ายเสิร์ชเอนจิ้น ในขณะเดียวกัน รายได้จากการขายลิขสิทธิ์วินโดวส์ให้กับผู้ผลิตโออีเอ็ม (OEM) สำหรับติดตั้งล่วงหน้าบนคอมพิวเตอร์นั้นลดลง 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว

การลดลงนี้ไม่มีผลอะไรกับไมโครซอฟท์ ที่ยังสามารถดันรายได้ซอฟต์แวร์สร้างงานเอกสาร ‘ออฟฟิศ’ (Microsoft Office) ให้เพิ่มขึ้นอีก 19% ในขณะที่ชุดโปรแกรมสำหรับองค์กรหรือ Business Suite ทำรายได้เพิ่มขึ้นอีก 20% จุดนี้พบว่าสมาชิกบริการ Microsoft 365 มีจำนวนรวม 51.9 ล้านรายในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 22%

ดาวเด่นของไมโครซอฟท์อยู่ที่รายได้จากธุรกิจคลาวด์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 34% โดยเฉพาะบริการ Azure ทำเงินเพิ่มขึ้น 51% และรายรับจากบริการคลาวด์เซอร์วิสเซสอื่นของไมโครซอฟท์เพิ่มขึ้น 53% เบ็ดเสร็จแล้ว บริการคลาวด์เชิงพาณิชย์ของไมโครซอฟท์มีรายได้ต่อปีมากกว่า 69,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 34% ซึ่งยอดขายมากกว่า 50% มาจากนอกสหรัฐอเมริกา

สำหรับประเทศไทย ‘ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์’ เปิดเผยกลยุทธ์ที่เตรียมไว้สำหรับปี 2565 ซึ่งเป็นปีที่ 4 ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ว่าไมโครซอฟท์จะเดินหน้าไปเป็นเบื้องหลังเพื่อให้ธุรกิจรายย่อยของไทยทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นหรือเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม SMB ที่มีพนักงาน 300 คนขึ้นไปซึ่งธนวัฒน์พบว่าเป็นกลุ่มที่กระตือรือร้นมาก ตรงกันข้ามกับกลุ่มที่มีพนักงานต่ำกว่า 200 คนซึ่งยังเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง

***บุกหนักช่วงโควิด

ธนวัฒน์ระบุว่าปี 65 ไมโครซอฟท์มีกลยุทธ์เต็มร้อยเพื่อร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนให้สามารถทรานสฟอร์มธุรกิจ โดยยอมรับว่าช่วงที่โควิด-19 ระบาด เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการบุกตลาด

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ เผยว่าในช่วง 4 ปีที่รับตำแหน่ง MD ปีนี้คือปีที่ไมโครซอฟท์ประเทศไทยเปิดรับพนักงานใหม่มากที่สุด
ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ เผยว่าในช่วง 4 ปีที่รับตำแหน่ง MD ปีนี้คือปีที่ไมโครซอฟท์ประเทศไทยเปิดรับพนักงานใหม่มากที่สุด

ในส่วนตลาดไทย ธนวัฒน์เผยว่ารายได้จากค่าไลเซนส์ใช้งานซอฟต์แวร์นั้นลดลงมหาศาล สวนทางกับธุรกิจที่ไมโครซอฟท์ทำได้ดีขึ้นมากในปีที่ผ่านมา นั่นคือ ‘ทีมส์’ (Microsoft Teams) ที่มีอัตราเติบโตเป็นเลข 4 หลัก เกิน 10 เท่าตัว ขณะที่ Azure เติบโตดีเป็นเลข 3 หลักมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นหลายร้อยรายในไทย ทั้งกลุ่มธุรกิจใหญ่ กลาง และเล็ก

‘ยืนยันว่าวันนี้ทุกองค์กรมาคลาวด์กันหมดแล้ว และการที่รายได้จากไลเซนซ์น้อยลงนั้นเป็นเรื่องเข้าใจได้ ไมโครซอฟท์จึงต้องการสร้างความมั่นใจมากขึ้น’

ไมโครซอฟท์สามารถสร้างความมั่นใจได้ล้นหลามในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา นอกจากจะมีส่วนร่วมช่วยเหลือด้วยการเปิดให้ใช้งานบริการ 365 ฟรี 6 เดือนไม่คิดเงิน หรือการเปิดให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการกว่า 6 ล้านคนใช้ Teams เรียนออนไลน์ได้ รวมถึงการมอบ Surface ไปให้ภาคเอกชนไทยรวมถึงโรงพยาบาลจุฬาที่ต้องใช้ลงทะเบียนจัดการงานโควิด-19 และการนำแชทบอทไปใช้ในระบบ call center สายด่วนเพื่อแก้ปัญหารับสายไม่ทัน ไมโครซอฟท์ยังเปิดความร่วมมือกับสตาร์ทอัปเอกชนและหน่วยงานไทยมากมายหลายโครงการในช่วงที่ผ่านมา

หนึ่งในโครงการที่สะท้อนว่าไมโครซอฟท์เข้าถึงสตาร์ทอัปไทยได้ดี คือการมีส่วนร่วมในโครงการ HackVac Korat ซึ่งสตาร์ทอัปดาวรุ่งอย่าง ‘คลาสคาเฟ่’ (Class Cafe') และเหล่าพันธมิตรได้นำเอาระบบวิเคราะห์โลจิสติกส์มาใช้กับระบบฉีดวัคซีนจนทำให้ประชาชนไม่ต้องรอนาน จุดนี้มีการนำ AI ของไมโครซอฟท์ไปวิเคราะห์พื้นที่ผู้คนหนาแน่น ทำให้สามารถกระจายทราฟิกไปสู่พื้นที่ที่เบาบางกว่า เพิ่มความปลอดภัยและความรวดเร็วโดยมีไมโครซอฟท์เข้าไปสนับสนุน

‘ในปีที่ผ่านมาธุรกิจที่เติบโตที่สุดของไมโครซอฟท์ คือ Teams และ Office 365 อัตราเติบโตเกิน 100% ทั้งกลุ่มเด็กนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรการศึกษา และยิ่งเมื่อ Windows 11 พร้อมลงตลาดช่วงปลายปี จะทำให้ผู้ใช้สามารถกดเข้า Teams เพื่อประชุมทางไกลได้สะดวกขึ้น ก็เชื่อว่าจะทำให้จำนวนการใช้งาน Teams ยิ่งเพิ่มขึ้นไปอีก’

เซกเมนต์ไทยที่ใช้งาน Teams มากที่สุดคือกลุ่มภาคการศึกษา ธนวัฒน์ระบุว่าตลาดการศึกษาของประเทศไทยมีขนาดใหญ่มาก ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ทำโครงการสอนครูไทย 420,000 คนในเวลา 10 วัน โดยวันแรกมีครูเข้ามาลงทะเบียนเกิน 70,000 คน ถือเป็นสัญญาณแสดงความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ของครูไทย

การอบรมนี้ครอบคลุมการสอนใช้ไวท์บอร์ดบน Teams รวมถึงการสอบบน Teams ด้วย หากครูคนใดไม่สามารถเข้าเรียนในช่วง 10 วันนี้ หรืออยากเรียนซ้ำก็สามารถเรียนออนดีมานด์ จุดนี้ไมโครซอฟท์ลงมือทำสื่อการสอนแบบออนดีมานด์เต็มรูปแบบ ทั้งหมดเป็นโครงการ CSR ซึ่งฟรี และมีการนำองค์ความรู้บนระบบ Linkedin Learning มาเผยแพร่ด้วย
การพาครูและเด็กไทยมาใช้ Teams มีผลผลักดันต่อสถิติผู้ใช้ในระดับโลก สถิติล่าสุดพบว่าจากที่ Teams มีผู้ใช้งาน 145 ล้านคนต่อวันในเดือนเมษายน 64 ล่าสุด Microsoft Teams มีฐานผู้ใช้งานมากถึง 250 ล้านคนต่อเดือน

หนึ่งในธุรกิจที่เติบโตที่สุดของไมโครซอฟท์ คือ Teams
หนึ่งในธุรกิจที่เติบโตที่สุดของไมโครซอฟท์ คือ Teams

นอกจาก Teams ธุรกิจกลุ่มข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (Data & AI) เป็นอีกกลุ่มที่เติบโตมาก ผลจากพฤติกรรมขององค์กรที่ต้องการสร้างโครงข่ายที่สามารถเปิดใช้งานได้เร็วที่สุด ขณะเดียวกัน อีกพื้นที่ที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกันคือระบบซีเคียวริตี้ (Security) ซึ่งองค์กรต้องใส่ใจมากขึ้น

***เศรษฐกิจโตได้

ไมโครซอฟท์ย้ำว่าเป้าหมายของบริษัทในช่วง 1 ปีถัดจากนี้คือการสร้างความสามารถใหม่เพื่อให้ไทยแข่งขันได้ทางเศรษฐกิจ โดยบริษัทต้องการพัฒนาทักษะคนไทยให้ได้ 10 ล้านคน บนความเชื่อว่าสตาร์ทอัปจะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างอิมแพคทางบริการด้านสุขภาพ รวมถึงช่วยดันเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น

แม้จะมีพิษเศรษฐกิจและลูกค้าบางรายได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่เทรนด์ที่ไมโครซอฟท์พบขณะนี้คือทั้งองค์กรใหญ่ กลาง และเล็กยังไม่คิดจะลดการลงทุนเทคโนโลยี แต่ส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มศักยภาพระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ บริษัทจึงมั่นใจว่าการเติบโตของไมโครซอฟท์จะดีกว่าที่การ์ทเนอร์ประเมินไว้มาก

การ์ทเนอร์นั้นประเมินว่ามูลค่าการใช้จ่ายไอทีไทยปี 64 จะเพิ่มขึ้น 4.9% ซึ่งถือว่าดีกว่าปี 63 ที่ติดลบ 4.5% ภาพรวมเม็ดเงินวงการไอทีดีขึ้นเพราะคลาวด์สาธารณะมีการใช้งานในไทยเพิ่มขึ้น 31.7% เป็นตัวเลขที่ยืนยันว่าการใช้คลาวด์ในไทยเติบโตเร็วมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น 23.1%

อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์มองว่ายังต้องการกฎหมายไทยที่ระบุขอบเขตความเป็นส่วนตัวของข้อมูลให้ชัดเจน โดยย้ำว่าไทยควรมีกฎหมายกำหนดให้ ‘ข้อมูลลูกค้าเป็นของลูกค้า’ กฎหมายนี้จะทำให้ผู้ที่ต้องการข้อมูล ต้องไปดำเนินการขอข้อมูลที่ลูกค้า ไม่ใช่มาขอที่ไมโครซอฟท์ ซึ่งจะช่วยให้บริการคลาวด์มีความโปร่งใสมากขึ้นในตลาดไทย

ในฐานะผู้นำ ธนวัฒน์ยกความดีของการเติบโตทั้งหมดให้ทีมงาน ซึ่งต้องประชุมงานทุกสัปดาห์ บนโฟกัสหลักคือการเน้นให้พนักงานและครอบครัวปลอดภัยจากโรคโควิด-19 รวมถึงมีเครื่องจ่ายออกซิเจนให้ใช้งานในกรณีฉุกเฉิน

‘ในช่วง 4 ปีที่รับตำแหน่งมา ปีนี้คือปีที่เราเปิดรับพนักงานใหม่มากที่สุด ปีนี้เป็นปีที่ผมจะเปลี่ยนคนในองค์กร ให้ผ่านขีดที่เคยรับผิดชอบอยู่ ให้หันมาทำในด้านใหม่’

เป็นการมอบหมายบทบาทใหม่ ซึ่งจะทำให้ไมโครซอฟท์ฉลุยยิ่งขึ้นในปี 65.