เหมืองแร่อัฟกานิสถานแหล่งรายได้'ตาลีบัน'

เหมืองแร่อัฟกานิสถานแหล่งรายได้'ตาลีบัน'

  • 0 ตอบ
  • 84 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chanapot

  • *****
  • 3237
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




การเข้ายึดอัฟกานิสถานของกลุ่มตาลีบัน ไม่ได้เป็นเพียงแค่การครอบครองอำนาจทางการเมืองเท่านั้น แต่เป็นการครอบครองแหล่งรายได้ที่ไม่อาจประเมินค่าได้ด้วยในฐานะที่อัฟกานิสถานเป็นแหล่งแร่ขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ของโลก

แม้ว่าอัฟกานิสถานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีฐานะยากจนที่สุดในโลกแต่ในปี 2553 เจ้าหน้าที่ในกองทัพของสหรัฐและบรรดานักธรณีวิทยาเปิดเผยว่าอัฟกานิสถานซึ่งตั้งอยู่บนเส้นตัดผ่านของเอเชียกลางและเอเชียใต้เป็นแหล่งแร่ขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ที่อาจจะช่วยเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจของประเทศนี้แบบพลิกฝ่ามือเลยก็เป็นได้

ปริมาณแร่ในอัฟกานิสถานที่รวมถึง แร่เหล็ก แร่ทองแดง และทองคำกระจัดกระจายไปทั่วจังหวัดต่างๆ และยังมีแร่หายากที่ถือว่าเป็นแร่ที่กำลังเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมในขณะนี้เพื่อนำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรีลิเธียม แบตเตอรีในรถยนต์ไฟฟ้า ในยุคที่ทั่วโลกกำลังลดการพึ่งพาพลังงานจากถ่านหินด้วยการหันมาใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“อัฟกานิสถานเป็นหนึ่งในประเทศที่อุดมไปด้วยโลหะมีค่าที่เป็นที่ต้องการสำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในศตวรรษที่21 ”ร็อด ชูโนเวอร์ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงซึ่งก่อตั้งอีโคโลจิคัล ฟิวเจอร์ส์ กรุ๊ป กล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัฟกานิสถานจะมีแร่และแร่หายากจำนวนมาก แต่ความไม่มั่นคงทางการเมืองตลอดช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้แร่จำนวนมากในประเทศยังไม่ได้ถูกนำมาใช้

สำนักงานธรณีวิทยาของสหรัฐ(ยูเอสจีเอส)เคยทำการสำรวจแร่ในอัฟกานิสถาน พบว่า มีแร่เหล็กปริมาณมากถึง 2,000 ล้านตัน มีแร่ทองแดงไม่น้อยกว่า 60 ล้านตัน และมีแร่หายากไม่น้อยกว่า 1,400 ล้านตัน


นอกจากแร่ทั่วไปแล้ว แร่หายากในอัฟกานิสถานก็มีมากเช่นกันและแร่ชนิดนี้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตชิป ผลิตคอมพิวเตอร์ และผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีไฮเทคจำนวนมากที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งแร่หายากในอัฟกานิสถาน ทำให้สหรัฐเรียกขานอัฟกานิสถานว่าเป็น“ซาอุดีอาระเบียแห่งลิเธียม”มานานกว่า10ปี ส่วนอัฟกานิสถานเองก็ตั้งกระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียม ขึ้นมากำกับดูแลเหมืองแร่โดยเฉพาะ

ความท้าทายด้านความมั่นคง การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานและภัยแล้งรุนแรงที่ยืดเยื้อยาวนานทำให้การขุดเหมืองแร่มีค่าที่สุดในอัฟกานิสถานชะงักงันไปในช่วงที่ผ่านมาและมีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะไม่เปลี่ยนแปลงไปในทันทีที่กลุ่มตาลีบันเข้ามาปกครองอัฟกานิสถาน ทั้งยังมีประเทศต่างๆยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งรัฐบาล รวมถึงจีน ปากีสถาน และอินเดีย

แม้ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐจะประกาศถอนทหารอเมริกันออกจากอัฟกานิสถานในปีนี้แนวโน้มเศรษฐกิจของอัฟกานิสถานก็ยังคงมืดมน โดยข้อมูลของสำนักงานวิจัยของสภาคองเกรสสหรัฐ (ซีอาร์เอส) ระบุว่า นับจนถึงปี 2563 ตัวเลขประมาณการบ่งชี้ว่า 90% ของชาวอัฟกันยังคงดำเนินชีวิตต่่ำกว่าระดับความยากจนที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่วันละ 2 ดอลลาร์ ส่วนธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)ระบุว่า เศรษฐกิจของอัฟกานิสถานยังคงเปราะบางและต้องพึ่งพาความช่วยเหลือ

“การพัฒนาของภาคเอกชนและควมหลากหลายทางเศรษฐกิจยังคงถูกจำกัดจากปัญหาความมั่นคง ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง สถาบันที่อ่อนแอ โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ การคอร์รัปชันที่แพร่กระจายไปทั่ว และบรรยากาศการดำเนินธุรกิจที่ยากลำบาก”ข้อมูลของซีอาร์เอส ระบุ

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ) ระบุเมื่อเดือนพ.ค.ว่า ปริมาณลิเธียม ทองแดง นิกเกิล โค.ท์ และแร่หายากทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีสามประเทศคือ จีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและออสเตรเลียที่ครองสัดส่วน75% ของผลผลิตลิเธียม โค.ท์และแร่หายากทั่วโลก

ไออีเอ ระบุด้วยว่า โดยเฉลี่ยแล้ว รถไฟฟ้าต้องใช้แร่ในปริมาณที่มากกว่ารถทั่วไปถึง6เท่า ขณะที่ลิเธียม นิกเกิล และโค.ท์เป็นแร่สำคัญในกระบวนการผลิตแบตเตอรี

ส่วนการติดตั้งเครือข่ายระบบไฟฟ้าต้องการใช้แร่ทองแดงและอลูมิเนียมในปริมาณมาก ขณะที่แร่หายากก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตกังหันลม

รัฐบาลสหรัฐประเมินว่าแหล่งแร่ลิเธียมในอัฟกานิสถานอาจจะเทียบเท่ากับประเทศคู่แข่งอย่างโบลิเวีย ที่เป็นแหล่งแร่ที่ใหญ่ที่สุดของโลก