BGC วางงบ 3 พันล้าน เพิ่มกำลังการผลิต-ปั้นธุรกิจบรรจุภัณฑ์

BGC วางงบ 3 พันล้าน เพิ่มกำลังการผลิต-ปั้นธุรกิจบรรจุภัณฑ์

  • 0 ตอบ
  • 84 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC เปิดเผยว่า บริษัทตั้งงบลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิตของธุรกิจขวดแก้ว ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้แก่บริษัท รวมถึงเพื่อใช้ในการลงทุนธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ที่บริษัทมุ่งเติบโตในระยะต่อจากนี้แบ่งเป็นการก่อสร้างเตาหลอมแก้วแห่งใหม่ภายในโรงงานจังหวัดราชบุรี มูลค่าราว 1,600-1,800 ล้านบาท และ การขยายกำลังการผลิตในโรงงานจังหวัดปราจีนบุรี มูลค่าราว 700 ล้านบาท

โดยคาดว่าทั้ง 2 โรงงานจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565 ก่อนจะเริ่มเดินเครื่องในช่วงต้นปี 2566 ซึ่งจะหนุนให้กำลังการผลิตขวดแก้วของบริษัทเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3,935 ตันต่อวัน จากปัจจุบันที่ 3,495 ตันต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นราว 12% ส่วนงบลงทุนอีกราว 180 ล้านบาท จะใช้ในการขยายกำลังการผลิตถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน กำลังการสูงสุด 50 ล้านเมตรต่อปี ผ่านบริษัท บีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (BGP) ที่เป็นบริษัทย่อย โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างวันที่ 1 ม.ค.2565 ก่อนจะเริ่มเดินเครื่องทดสอบช่วงปลายปี และเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในเดือน เม.ย.2566

ทั้งนี้ การลงทุนในธุรกิจบรรจุภัณฑ์เป็นการต่อยอดจากที่บริษัทเข้าซื้อ BGP ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก และขวด PET หลอดพรีฟอร์ม รวมถึงเข้าซื้อ บริษัท บางกอกบรรจุภัณฑ์ จำกัด (BVP) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กระดาษ โดยเริ่มรับรู้รายได้ครั้งแรกในเดือน เม.ย.2564 ที่ผ่านมา และเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายระยะ 5 ปีของบริษัท (2564-2568) ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนรายได้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ให้มาอยู่ที่ 50% จากปัจจุบันรายได้ธุรกิจแก้วอยู่ที่ 83.1% บรรจุภัณฑ์อื่นๆ 12.8% และพลังงาน 4.1%

สำหรับแผนการดำเนินในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 บริษัทตั้งเป้าหมายขยายการส่งออกให้เพิ่มขึ้นแตะ 10% ของยอดขายภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ 7% ลดลงจากในอดีต โดยเป็นผลจากสถานการณ์โควิด-19 ที่กดดันความต้องการใช้ในตลาดต่างประเทศ และสถานการณ์การเมืองในเมียนมา อย่างไรก็ดี บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ผ่านการกระตุ้นยอดขายในสหรัฐเพิ่มเติม ซึ่งเป็นตลาดที่มีอัตรากำไรขั้นต้น (มาร์จิ้น) จากการสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติที่ 15-16%

ทั้งนี้ ปัจจุบันตลาดที่ส่งออกสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ กลุ่มประเทศรอบบ้าน (CLMV) 62% ประเทศสหรัฐ 28% กลุ่มประเทศยุโรป 5% และกลุ่มประเทศโอเชียเนีย 4%


ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 คาดว่าจะเติบโตประมาณ 11% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับครึ่งแรกของปี 2564 ภายใต้เงื่อนไขที่สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันไม่มีความรุนแรงไปมากกว่านี้ และตั้งเป้าหมายรายได้ปี 2564 แตะ 1.35 หมื่นล้านบาท โดยมาจากธุรกิจขวดแก้ว 1.1-1.2 หมื่นล้านบาท กลับไปอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2562 ก่อนเกิดโควิด-19 ส่วนที่เหลือมาจากการรับรู้รายได้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และคาดว่ากำไรจะเติบโตใกล้เคียงกับปีก่อน เพราะถูกกดดันจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น

นายศิลปรัตน์ กล่าวว่า บริษัทยังเดินหน้าศึกษาการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) อย่างต่อเนื่อง โดยมีการพูดคุยในไปป์ไลน์อยู่หลายราย ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่สามารถต่อยอดกับขวดแก้วของบริษัทได้ เพื่อสร้างโซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรแก่ลูกค้า อย่างไรก็ดี คาดดีลการซื้อขายแรกจะยังไม่แล้วเสร็จภายในปี 2564 เนื่องจากมีอุปสรรคจากการระบาของโควิด-19