วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ทะเลไทยเหลือแค่ 261 ตัว

วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ทะเลไทยเหลือแค่ 261 ตัว

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันนี้ (17 สิงหาคม 2564) นอกจากเป็นวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ยังเป็นวันครบรอบ 2 ปี ที่พวกเราคนไทยได้สูญเสียน้อง "มาเรียม" พะยูนน้อยขวัญใจคนไทย ไปจากขยะพลาสติกครับ จากการสูญเสียครั้งนั้น ผมได้มอบแนวคิดในการทำงานอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายากอย่างเป็นระบบ ภายใต้ชื่อ “มาเรียมโปรเจกต์” เพื่อสะท้อนความสำคัญและปัญหาด้านการจัดการสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายาก

นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างได้เร่งกำหนดแนวทางและมาตรการกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง หนึ่งในแผนสำคัญ คือการเสนอแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติแล้ว โดยตั้งเป้าหมายว่า ประเทศไทยจะต้องมีพะยูนไม่น้อยกว่า 280 ตัว ในปี 2565 ซึ่งปัจจุบัน ปี 2564 นี้ เราสำรวจพบพะยูนในทะเลไทยได้ 261 ตัวครับ



2 ปีที่ผ่านมา เราได้เร่งขับเคลื่อนโครงการ ภายใต้แผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ กว่า 7 โครงการสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านวิชาการ การกำหนดมาตรการจัดการเครื่องมือประมง การพัฒนาองค์ความรู้และประชาสัมพันธ์ การทำแผนระดับพื้นที่ และการเพิ่มกำลังในการลาดตระเวน รวมถึงบทเรียนสำคัญที่เราได้เรียนรู้จากการตายของน้องมาเรียม คือ ปัญหาขยะทะเล ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้ประกาศ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573 โดยเร่งขับเคลื่อนการจัดการขยะทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางก่อนลงสู่ทะเล

สำหรับแนวทางและมาตรการในการดูแลสัตว์ทะเลหายากรวมถึงการคุ้มครองพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เตรียมประกาศมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน อำเภอหาดสำราญ อำเภอย่านตาขาว อำเภอกันตัง และอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อประกาศบังคับใช้ต่อไปครับ

“การไม่ทิ้งขยะลงสู่ทะเล นอกจากจะเป็นการช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเล รวมถึงระบบนิเวศทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์อย่างที่ควรจะเป็นแล้ว ยังเป็นการสร้างทัศนียภาพทางทะเลให้กลับมางดงามดังเดิมอีกครั้งหนึ่งด้วยนะครับ”

พะยูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และเป็นสัตว์น้ำชนิดแรกของประเทศไทยที่ได้รับการกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon

ถือเป็นหนึ่งในสัตว์หายาก และนับวันยิ่งมีจำนวนน้อยลง เพราะเสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การเพิ่มประชากรพะยูน การดูแลพื้นที่อาศัยของพะยูน การจัดการท่องเที่ยว การประมงเพื่อลดการรบกวนพะยูน การจัดตั้งศูนย์ช่วยชีวิต การสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์หายากและศูนย์เรียนรู้ฯ รวมไปถึงการรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์พะยูน จึงถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการอนุรักษ์พะยูนให้คงอยู่คู่ทะเลไทยสืบไป

ข้อมูลอ้างอิง TOP Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา