'ธนกร' เผย 'บิ๊กตู่' สั่งเร่งเยียวยา โอนช่วย ม.33 อีก 13 จังหวัดพร้อม ม.39-40

'ธนกร' เผย 'บิ๊กตู่' สั่งเร่งเยียวยา โอนช่วย ม.33 อีก 13 จังหวัดพร้อม ม.39-40

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม. 33 ม. 39 และ ม. 40 ว่า เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้โอนเงินเยียวยานายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตน ม. 33 ในพื้นที่ 13 จังหวัดไปแล้ว แบ่งเป็นลูกจ้าง 2,399,459 ราย เป็นเงิน 5,998.65 ล้านบาท และทำการโอนให้นายจ้างไปแล้ว 12,711 กิจการ เป็นเงิน 594.12 ล้านบาท รวมยอดเงินที่ทำการโอนไปแล้วจำนวน 6,592.77 ล้านบาท โดยจะดำเนินการทยอยโอนให้ลูกจ้างและนายจ้าง ม. 33 พื้นที่ 16 จังหวัดที่ลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ต่อไป พร้อมกับโอนเงินให้ผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ใน 29 จังหวัด กลุ่มแรกวันที่ 24 สิงหาคมนี้ เช่นกัน ซึ่งจะทยอยโอนวันละ 1 ล้านราย โดยผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

นายธนกร กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้ามาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครองและนักเรียนนักศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประจำปีการศึกษา 1/2564 ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะนี้ อยู่ระหว่างการยืนยันตรวจสอบสิทธิ์การได้รับความช่วยเหลือ โดยเบื้องต้นกระทรวงศึกษาธิการ จะโอนเงินช่วยเหลือให้นักเรียนและผู้ปกครองในอัตรา 2,000 บาทต่อคน ในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ ทั้งนี้ สำหรับผู้ได้รับเงินเยียวยาในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการมีประมาณ 11 ล้านคน วงเงินรวมประมาณ 21,600 ล้านบาท

โฆษก ศบศ. กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 เพิ่มกำลังซื้อในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษนั้น ยอดการใช้จ่ายของแต่ละโครงการ ผู้ใช้สิทธิสะสมรวม 38 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสมรวม 62,967.7 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 23.49 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 56,339.7 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายสะสม 28,588.2 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 27,751.5 ล้านบาท 2.โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 66,101 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 1,161 ล้านบาท และยอดใช้จ่ายด้วย e-voucher สะสม 31 ล้านบาท 3.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 13.48 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 5,110.8 ล้านบาท และ 4.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 979,821 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 325.2 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลยังเร่งพิจารณาเชื่อมต่อแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่เพื่อให้สามารถเชื่อมกับโครงการ “คนละครึ่ง” ด้วย คาดว่าจะดำเนินการเชื่อมระบบเสร็จสิ้นและพร้อมใช้งานได้ในเดือนตุลาคม 2564 นี้ เพื่อให้ทันกับการรองรับการโอนเงิน “คนละครึ่ง” รอบ 2 อีก 1,500 บาท ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเร่งเยียวยาประชาชนทุกกลุ่ม