ทางออกของ “ทีวีไทย” เพิ่มเม็ดเงินโฆษณา! ด้วยการสำรวจเรตติ้ง

ทางออกของ “ทีวีไทย” เพิ่มเม็ดเงินโฆษณา! ด้วยการสำรวจเรตติ้ง

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




อย่างที่รู้กันอยู่ว่าทุกวันนี้การสำรวจเรตติ้งในประเทศเรานั้น ที่ได้ยินกันบ่อยๆ และมักจะเอามาอ้างอิงในศึกชิงความเป็นหนึ่งในสมรภูมิหน้าจอทีวีนั้น มักจะอ้างอิงตัวเลขมาจาก “นีลเส็น (Nielsen)” บริษัทวัดเรตติ้งเพื่อการตลาด ซึ่งตัวเลขเหล่านั้นก็จะส่งผลให้เอเจนซี่สามารถนำไปตัดสินใจว่าจะเทเม็ดเงินโฆษณานั้นลงไปให้กับช่องใดบ้าง เพราะถ้าพูดถึงว่าเรตติ้งดีเท่าไหร่ งบโฆษณาในแต่ละไตรมาสก็จะเทมามากเท่านั้น จึงไม่แปลกใจว่าทำไมช่อง 7HD ถึงยืนหนึ่งในเรื่องเรตติ้ง

แต่หลังจากพฤติกรรมคนดูในบ้านเราได้เปลี่ยนไป แม้ทีวีจะยังเป็นสื่อหลักในการเข้าถึงทุกบ้าน แต่ “สื่อออนไลน์” ก็เติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นกัน เลยทำให้ผู้ชมบางส่วนดูผ่านออนไลน์ตามแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งก็มีให้เลือกสรรตามความชอบและความพึ่งพอใจของแต่ละบุคคล จึงทำให้หลายช่องก่อนหน้านี้ ลงทุนให้ “นีสเส็น” จัดตั้งโครงการวัดเรตติ้งทางออนไลน์ซึ่งไม่รวมกับการวัดเรตติ้งจากจอทีวี โดยเริ่มตั้งแต่ต้นปี 60 ซึ่งมีทีวีดิจิตอลช่องต่างๆ เข้าร่วมอาทิ ช่อง 7, เวิร์คพอยท์ ทีวี, ไทยรัฐทีวี, ช่อง 3

ล่าสุด “สมาคมทีวีดิจิตอล” ได้ยื่นเสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณ 288.8 ล้านบาท จาก กสทช.ก็ผ่านการพิจารณาอนุมัติและเซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจร่วมกันแล้ว โดยมี “นีลเส็น (Nielsen)” เป็นผู้รับจ้างสมาคมฯ ทำการสำรวจแบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross Platform) เพื่อให้ได้ผลความนิยมทั้งจากการรับชมแบบเดิมผ่านหน้าจอทีวีและการรับชมแบบใหม่ผ่านจอออนไลน์ ในกรอบระยะเวลา 4 ปี โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป และแปลตามความเข้าใจแบบชาวบ้านง่ายๆ คือครั้งนี้จะเป็นการวัดเรตติ้งจากแพลตฟอร์มที่เป็นออนไลน์เกือบทั้งหมด เพราะนอกจากจะวัดผลจากหน้าจอทีวีแล้ว ในส่วนของหน้าจอออนไลน์ที่ออกอากาศแบบ streaming สดพร้อมกัน (ไม่นับการดูย้อนหลังแบบ VOD video on demand ) เพื่อรายงานผลเรตติ้งแบบ total rating เป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการอีกด้วย โดยในครั้งนี้จะเป็นการวัดทุกช่อง ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะทำไปพร้อมๆ กันทั้งอุตสาหกรรมทีวีบ้านเรา

โดย “สุภาพ คลี่ขจาย” นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล(ประเทศไทย) ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของโครงการนี้ว่า “เป็นโครงการที่สมาคมฯ ผลักดันอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่าสองปี นับตั้งแต่มีประกาศตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2562 (ม.44) ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของผลการสำรวจความนิยมของผู้ชมเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาคุณภาพรายการของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลซึ่งเป็นสื่อหลักของชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้ชมทั้งผ่านจอทีวีและจอออนไลน์ โดยโจทย์สำคัญคือ จะทำอย่างไร ? ให้เกิดความน่าเชื่อถือ แม่นยำ และสามารถตรวจสอบความโปร่งใสในที่มาของกลุ่มตัวอย่างและระเบียบวิธีวิจัยในมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปพัฒนารูปแบบรายการ และมีเดียเอเจนซีผู้นำไปใช้ประโยชน์วางแผนในการซื้อสื่อโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งสาระสำคัญในการสำรวจความนิยมโทรทัศน์แบบใหม่นี้ จะขยายหน่วยตัวอย่างที่ใช้เป็นพื้นฐานพัฒนาเรตติ้งรายการ จากเดิม 9,000 ตัวอย่าง เป็น 13,000 ตัวอย่าง ควบคู่กับการพัฒนาโปรแกรมการสำรวจ (Software) ระบบใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การวัดความนิยมของรายการโทรทัศน์แบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross Platform) ทั้งจากหน้าจอทีวีภาคพื้นดินและหน้าจอของแพลตฟอร์มออนไลน์ การสำรวจความนิยมรายการโทรทัศน์แบบข้ามแพลตฟอร์มนี้ เป็นเทคโนโลยีระบบการวิจัยล่าสุดที่ นีลเส็น ได้พัฒนาและเริ่มใช้แล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก ล่าสุดได้ทำการติดตั้งระบบที่ประเทศเดนมาร์ก และซาอุดิอาระเบีย ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะใช้ระบบการวัดทีวีเรตติ้งแบบใหม่นี้”

และการวัดเรตติ้งในครั้งนี้ทั้งทางหน้าจอทีวี และทางแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างนั้นๆ จะถือได้ว่าเป็นทางการ โดยตัวเลขที่ได้มานอกจากจะการันตีให้รายการในช่องต่างๆ แล้ว แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้เอเจนซี่ใช้ไปประกอบการตัดสินใจในการซื้อโฆษณา โดยอาจจะซื้อโฆษณาแบบเป็นแพ็กเกจพร้อมกันทั้งหน้าจอทีวี แพลตฟอร์มออนไลน์ นี่ก็ถือได้ว่าจะทำให้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมทีวีบ้านเราเติบโตคักคักอีกครั้ง หลังจากต้องเผชิญปัญหาโควิดอยู่ ณ ตอนนี้