ครม.ผ่านร่าง กม.ล้มละลาย-ฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ SMEs เพิ่มยอด 50 ล้าน ตัดเงื่อนไขเป็นอุปสรรค

ครม.ผ่านร่าง กม.ล้มละลาย-ฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ SMEs เพิ่มยอด 50 ล้าน ตัดเงื่อนไขเป็นอุปสรรค

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Thetaiso

  • *****
  • 2964
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันนี้ (10 ส.ค.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ว่า สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ในส่วนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หมวด 3/2 ยังไม่สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังมีข้อจำกัดในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ เช่น 1) จำนวนหนี้ที่ขอฟื้นฟูกิจการไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน 2) ลูกหนี้ที่สามารถยื่นฟืนฟูกิจการได้ จำกัดเฉพาะลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็น SMEs ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หรือจดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐเท่านั้น 3) เงื่อนไขการยื่นขอฟื้นฟูกิจการมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพและไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย ครม.จึงมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ในส่วนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยผลักดันให้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิรูปในระยะเร่งด่วน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีหลักการสำคัญในการสร้างกลไกให้ลูกหนี้ที่เป็น SMEs สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้เช่นเดียวกับการฟื้นฟูกิจการปกติ ลดขั้นตอนและใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่า โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. เพิ่มเติมจำนวนหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ที่สามารถร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการได้ จาก “จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท” เป็น “ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท” เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งการเพิ่มจำนวนหนี้อ้างอิงจากข้อมูลเชิงสถิติระหว่างปี 2560-2563 คดีที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอลูกหนี้มีจำนวนหนี้มากกว่า 50 ล้านบาท กว่าร้อยละ 90 ของคดีทั้งหมด

2. กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็น SMEs ดังนี้ (1) ยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ลูกหนี้ที่เป็น SMEs ต้องขึ้นทะเบียนกับ สสว. หรือที่จดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐ จึงจะสามารถร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการได้ (2)กำหนดให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ โดยที่ยังไม่ต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเสนอศาลเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้มีการพักชำระหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการได้

3. กำหนดให้มีกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัด ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ ลูกหนี้ที่เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และลูกหนี้ที่เป็น SMEs สามารถเลือกยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัดได้ โดยแนบแผนพร้อมหลักฐานแสดงว่าเจ้าหนี้ได้มีมติยอมรับแผนแล้ว (prepackaged plans) ต่อศาล โดยให้ศาลพิจารณาคำร้องขอดังกล่าวเป็นการด่วน แต่หากศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอเพราะแผนไม่เข้าหลักเกณฑ์ ลูกหนี้อาจยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการอีกได้ โดยไม่ติดเงื่อนไขข้อห้ามเรื่องระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ศาลยกคำร้องขอกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัด

นางสาวรัชดา กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ จะเป็นเครื่องทางกฎหมายที่สำคัญในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินได้รับโอกาสฟื้นฟูกิจการและไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย อันจะเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และรัฐบาลจะผลักดันให้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน