ไทยร่วมมืออาเซียนขับเคลื่อนพลังงานสะอาด เพิ่มการผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ

ไทยร่วมมืออาเซียนขับเคลื่อนพลังงานสะอาด เพิ่มการผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ

  • 0 ตอบ
  • 86 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




รองโฆษกรัฐบาล เผย ไทยพร้อมร่วมมืออาเซียนขับเคลื่อนพลังงานสะอาด เพิ่มการผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ-หนุนยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งเป้าผลิต 30% ภายในปี 68

วันนี้ (10 ส.ค.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ว่า ครม.รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ซึ่งอาเซียนมีความมุ่งหมายร่วมกันในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน ในระยะที่ 2 ที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านพลังงานของภูมิภาคอาเซียนให้มีความสะอาด ยืดหยุ่น และเหมาะสมกับสภาวะด้านพลังงานของโลก โดยประเทศไทยมีแนวทางดำเนินการดังนี้

1. ปรับแผนกลยุทธ์ระยะยาวและแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านนโยบายที่สำคัญ

2. เพิ่มการผลิตไฟฟ้าแบบคาร์บอนต่ำ โดยการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งได้ประกาศนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular Green Economy Model: BCG model) เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

3. พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายในปี 2568 ไทยจะมีสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ร้อยละ 30 จากสัดส่วนการผลิตรถยนต์ทั้งหมด รวมทั้งการสนับสนุนการปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด

4. สนับสนุนแผนเร่งด่วนในการปลูกป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับคาร์บอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดคาร์บอนไดออกไซด์และสอดรับกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้แสดงเจตจำนงร่วมกันในการส่งเสริมนโยบายการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในอาเซียนผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูล และความเชี่ยวชาญระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในด้านการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดต่างๆ อาทิ เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บและการใช้ประโยชน์จากคาร์บอน (CCUS) เป็นต้น