ซัพพลายคอนโดใหม่ 64วูบ 25-30% หันรุก ราคาเข้าถึงง่าย เร่งตัดสินใจซื้อ

ซัพพลายคอนโดใหม่ 64วูบ 25-30% หันรุก ราคาเข้าถึงง่าย เร่งตัดสินใจซื้อ

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Cindy700

  • *****
  • 3330
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นีรนุช กนกวิไลรัตน์ ผู้จัดการด้านงานวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท เอ็ดมันด์ ไต แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โควิดระลอกแรกผู้ประกอบการ “ปิดสำนักงานขาย” พร้อมกับชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่! หลังจากนั้นไตรมาสสามปี 2563 เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ดีเวลลอปเปอร์ปรับกลยุทธ์การตลาดรุกผ่านช่องทางออนไลน์ หรือโซเชียลคอมเมิร์ซมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไทยชอปปิงออนไลน์สูงถึง 83% และทำการซื้อสินค้าผ่านมือถือถึง 71% และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย


“ปัจจุบันลูกค้าสามารถจองคอนโดผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทำให้ผู้ซื้อต่างชาติสามารถเข้าถึงอสังหาฯ ในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น ไม่เฉพาะคนไทย เท่ากับว่าผู้ประกอบการสามารถขยายช่องทางขายไปต่างประเทศไทยง่ายขึ้น ทำให้ไตรมาสสามปี 2563 เริ่มมีการเปิดตัวโครงการใหม่ มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 10,302 ยูนิต"

อย่างไรก็ตาม ไตรมาสแรกปี 2564 กลับปรับลดลงเหลือ 1,963 ยูนิต เนื่องจากเริ่มมีการแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ แต่ในไตรมาสสอง จำนวนยูนิตที่เปิดตัวขยับขึ้นมา4,214 ยูนิต ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบางโครงการที่เปิดตัวในไตรมาสแรกปีนี้เป็นโครงการที่มีจำนวนห้องหลายยูนิต บางโครงการ 1,000 ยูนิต ส่วนใหญ่จะเป็นคอนโดเกรดซี ส่วนคอนโดเกรดเอมีเพียง 1 โครงการที่เปิดตัวในไตรมาสที่สองคือ “ไรส์ เจริญนคร ลักซ์ นีโอ คลาสสิค” เป็นคอนโดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อเดิม “อิมเพรสชั่น เจริญนคร” ผู้พัฒนาโครงการ ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ สูง 22 ชั้น จำนวน 170 ยูนิต ราคา 180,000 ต่อตร.ม. เจาะกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อที่ต้องการอยู่อาศัยแบบครอบครัว ด้วยจุดขายยูนิตละ 2 ห้องนอน

"จำนวนโครงการที่เปิดตัวในไตรมาสสองปีนี้ ส่วนใหญ่จับกลุ่มคนทำงาน และนักลงทุนคนไทยที่ซื้อเพื่อขายต่อหรือปล่อยเช่าเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น และจากตลาดคอนโดที่เริ่มชะลอตัวตั้งแต่ปี 2562-2563 ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่โฟกัสบ้านจัดสรร และลดจำนวนการเปิดตัวโครงการคอนโดในปีนี้ หันจับตลาดที่มีกำลังซื้อน้อย และปานกลาง ด้วยการเปิดตัวเซกเมนต์ราคาไม่แพง (affordable price) กลุ่มกำลังซื้อน้อยสามารถซื้อได้"

สำหรับอัตราการจองคอนเปิดตัวใหม่ในไตรมาสสองที่ผ่านมา เฉลี่ย 33.1% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกอัตราการจอง 31.7% เพราะโครงการที่เปิดตัวในไตรมาสสอง ส่วนหนึ่งขายได้ถึง 80-90% จากการลงสนามเซกเมนต์ราคาไม่แพงของรายใหญ่ อาทิ แสนสิริ โนเบิล พฤกษา ออริจิ้น ราคาที่เข้าถึงทำให้เกิดยอดจองเร็ว (Presale) อาทิ เดอะมูฟ คอนโด ของแสนสิริ


“การจองคอนโดปัจจุบันไม่จำเป็นใช้เงินเยอะเหมือนสมัยก่อน ทำให้ลูกค้าตัดสินใจง่าย ยิ่งเป็นแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ โลเกชั่นดี และราคาไม่แพง ตร.ม.ไม่ถึงแสน ลูกค้าจับต้องได้ ยอดจองจึงเร็วกว่าปกติ ”

ส่วนราคาขายคอนโดนเกรดเอ ระดับลักชัวรี และซูเปอร์ลักชัวรี ที่มีราคาตั้งแต่ 150,000 ต่อตร.ม.ขึ้นไป ในไตรมาสสองมีแค่ไรส์ เจริญนคร ลักซ์ นีโอ คลาสสิค ที่มีราคาเฉลี่ย 180,000 บาท ต่อตร.ม. โครงการเดียว จากไตรมาสแรกมีการเปิดตัวหลายโครงการทำให้ราคาคอนโดไตรมาสแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 240,000 บาทต่อตรม. ทั้งนี้เนื่องจากบรรยากาศของตลาดไม่เอื้อกับการเปิดตัวโครงใหม่ ที่เป็นโครงการหรูที่อยู่ใจกลางเมืองทำให้ราคาปรับตัวลดลง

“แนวโน้มของตลาดคอนโดในปีนี้ จะได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์และคำสั่งปิดแคมป์ก่อสร้างในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้การสร้างคอนโดไม่เสร็จได้ทันตามเวลาที่กำหนด หรือแม้ว่าจะสร้างเสร็จตรงเวลาได้แต่ผู้ประกอบการจะเลื่อนเปิดตัวโครงการในไตรมาสสามและสี่ออกไปก่อน ไม่ว่าจะเป็นโครงการเกรดเอหรือระดับแมส ที่มีราคาตร.ม.ละ 70,000-80,000 บาท ในพื้นที่รอบนอก คาดว่าโครงการคอนโดเปิดตัวใหม่ในปีนี้เทียบปี 2563 ลดลง 25-30%"

เวลานี้ตลาดเต็มไปด้วยปัจจัยลบ!! ไม่ว่าจะจำนวนสต็อกที่ค้างอยู่จำนวนหนึ่ง บรรยากาศไม่เอื้อต่อการซื้อและลงทุน ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น เพราะไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจ จาก “วิกฤติโควิด” ที่ไม่รู้ว่าจะยืดเยื้อยาวนานแค่ไหน? แนวโน้มผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องทุกวัน สถานการณ์นี้ยิ่งนานก็ยิ่งมีผลกับสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อผู้บริโภคที่ิอ่อนแอลง กระทบเป็นลูกโซ่ต่อธุรกิจ และการใช้ชีวิต