NT ซื้อซองประมูลดาวเทียมในวันสุดท้าย/แค่คู่เทียบหรือหวังประมูลจริง

NT ซื้อซองประมูลดาวเทียมในวันสุดท้าย/แค่คู่เทียบหรือหวังประมูลจริง

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

dsmol19

  • *****
  • 2466
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




จากมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2564 ได้กำหนดการใหม่สำหรับการประมูลการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package)

หลังจาก สำนักงาน กสทช.ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้ามายื่นเอกสารหลักฐานเพื่อเข้าร่วมการคัดเลือกฯ ในวันที่ 5 ก.ค.2564 มี บริษัท ทีซี สเปซ คอนเน็ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ถือหุ้น 100% เข้ามายื่นเอกสารเข้าร่วมการคัดเลือกเพียงรายเดียว

ทำให้หลังจากนั้นสำนักงาน กสทช.จึงเปิดให้ผู้สนใจรับเอกสารการคัดเลือกเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.-6 ส.ค.2564 ผลปรากฏว่า มีบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เข้ามารับเอกสารการคัดเลือกเพิ่มเติม ในวันที่ 6 ส.ค.2564 เวลา 16.20 น.ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่เปิดให้ผู้ที่สนใจขอรับเอกสารการคัดเพิ่มเติม อีกเพียงรายเดียวเท่านั้น
ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไป จะมีการจัดการประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงกระบวนการประมูลและกรอกแบบคำขอรับอนุญาต(public information session) วันนี้ (9 ส.ค.2564) จากนั้นผู้ประสงค์ขอรับอนุญาตยื่นคำขอรับอนุญาตและวางหลักประกันการขอรับอนุญาต วันที่ 11 ส.ค.2564 โดยในขั้นตอนนี้ บริษัท มิวสเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัดสามารถเข้ามายื่นขอรับใบอนุญาตฯ ได้ หลังจากมาขอรับเอกสารการคัดเลือกในรอบแรก และต้องรอดูว่า NT จะเข้ามายื่นขอรับใบอนุญาตฯ หรือไม่ ก่อนที่ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการคัดเลือก วันที่ 18 ส.ค.2564
จากนั้นประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการคัดเลือกที่ผ่านเกณฑ์ข้อเสนอด้านประสบการณ์และความสามารถด้านการเงินเพื่อเป็นผู้เข้าร่วมการประมูล วันที่ 24 ส.ค.2564, จัดการประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงขั้นตอนการประมูล (bidder information session) และการประมูลรอบสาธิต (mock auction) วันที่ 25 ส.ค.2564 และประมูล วันที่ 28 ส.ค.2564

สำหรับชุดข่ายงานดาวเทียมทั้ง 4 ชุด ที่จะนำมาประมูลในครั้งนี้ ได้แก่ ชุดที่ 1 ประกอบด้วย วงโคจร 50.5E (ข่ายงานC1, N1 และ P1R) และ วงโคจร 51E (ข่ายงาน 51) ราคาขั้นต่ำ 676.914 ล้านบาท, ชุดที่ 2 ประกอบด้วย วงโคจร 78.5E (ข่ายงาน A2B และ 78.5E) ราคาขั้นต่ำ 366.488 ล้านบาท

ชุดที่ 3 ประกอบด้วย วงโคจร 119.5E (ข่ายงาน IP1, P3 และ 119.5E) และ วงโคจร 120E (ข่ายงาน 120E) ราคาขั้นต่ำ392.950 ล้านบาท และชุดที่ 4 ประกอบด้วย วงโคจร 126E (ข่ายงาน 126E) และ วงโคจร 142E (ข่ายงาน G3K และN5) ราคาขั้นต่ำ 364.687 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจาก กสทช.ยืนยันว่า แม้ว่าในวันที่ 11 ส.ค. 2564 จะไม่มีใครมายื่นเอกสารประมูลดาวเทียมเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้มีเพียงไทยคมรายเดียวที่ได้ยื่นประมูลก่อนหน้านี้ กสทช.ก็ต้องเดินหน้าประมูลในวันที่ 28 ส.ค.2564 โดยยึดมาตรฐานเหมือนการประมูลคลื่นโทรคมนาคมที่มีการขยายเวลาและเดินหน้าประมูลต่อ

อีกทั้ง กสทช.มีหน้าที่ ต้องรักษาวงโคจรของประเทศซึ่งวงโคจรต้องมีดาวเทียมใช้งาน หากประเทศไทยถูก ITU ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ได้มีการใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมที่ได้รับจริงภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือไม่ได้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง (ไม่มีการใช้คลื่นความถี่บนดาวเทียมจริง) ย่อมมีโอกาสเกิดความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะถูกยกเลิกสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมและคลื่นความถี่ที่ไม่มีการใช้งานจริง ออกจากทะเบียนความถี่หลักระหว่างประเทศได้ (Master International Frequency Register) และส่งผลให้ประเทศไทยสิ้นสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมนั้น
จากมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2564 ได้กำหนดการใหม่สำหรับการประมูลการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package)

หลังจาก สำนักงาน กสทช.ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้ามายื่นเอกสารหลักฐานเพื่อเข้าร่วมการคัดเลือกฯ ในวันที่ 5 ก.ค.2564 มี บริษัท ทีซี สเปซ คอนเน็ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ถือหุ้น 100% เข้ามายื่นเอกสารเข้าร่วมการคัดเลือกเพียงรายเดียว


ทำให้หลังจากนั้นสำนักงาน กสทช.จึงเปิดให้ผู้สนใจรับเอกสารการคัดเลือกเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.-6 ส.ค.2564 ผลปรากฏว่า มีบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เข้ามารับเอกสารการคัดเลือกเพิ่มเติม ในวันที่ 6 ส.ค.2564 เวลา 16.20 น.ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่เปิดให้ผู้ที่สนใจขอรับเอกสารการคัดเพิ่มเติม อีกเพียงรายเดียวเท่านั้น

ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไป จะมีการจัดการประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงกระบวนการประมูลและกรอกแบบคำขอรับอนุญาต(public information session) วันนี้ (9 ส.ค.2564) จากนั้นผู้ประสงค์ขอรับอนุญาตยื่นคำขอรับอนุญาตและวางหลักประกันการขอรับอนุญาต วันที่ 11 ส.ค.2564 โดยในขั้นตอนนี้ บริษัท มิวสเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัดสามารถเข้ามายื่นขอรับใบอนุญาตฯ ได้ หลังจากมาขอรับเอกสารการคัดเลือกในรอบแรก และต้องรอดูว่า NT จะเข้ามายื่นขอรับใบอนุญาตฯ หรือไม่ ก่อนที่ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการคัดเลือก วันที่ 18 ส.ค.2564

จากนั้นประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการคัดเลือกที่ผ่านเกณฑ์ข้อเสนอด้านประสบการณ์และความสามารถด้านการเงินเพื่อเป็นผู้เข้าร่วมการประมูล วันที่ 24 ส.ค.2564, จัดการประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงขั้นตอนการประมูล (bidder information session) และการประมูลรอบสาธิต (mock auction) วันที่ 25 ส.ค.2564 และประมูล วันที่ 28 ส.ค.2564
สำหรับชุดข่ายงานดาวเทียมทั้ง 4 ชุด ที่จะนำมาประมูลในครั้งนี้ ได้แก่ ชุดที่ 1 ประกอบด้วย วงโคจร 50.5E (ข่ายงานC1, N1 และ P1R) และ วงโคจร 51E (ข่ายงาน 51) ราคาขั้นต่ำ 676.914 ล้านบาท, ชุดที่ 2 ประกอบด้วย วงโคจร 78.5E (ข่ายงาน A2B และ 78.5E) ราคาขั้นต่ำ 366.488 ล้านบาท
ชุดที่ 3 ประกอบด้วย วงโคจร 119.5E (ข่ายงาน IP1, P3 และ 119.5E) และ วงโคจร 120E (ข่ายงาน 120E) ราคาขั้นต่ำ392.950 ล้านบาท และชุดที่ 4 ประกอบด้วย วงโคจร 126E (ข่ายงาน 126E) และ วงโคจร 142E (ข่ายงาน G3K และN5) ราคาขั้นต่ำ 364.687 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจาก กสทช.ยืนยันว่า แม้ว่าในวันที่ 11 ส.ค. 2564 จะไม่มีใครมายื่นเอกสารประมูลดาวเทียมเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้มีเพียงไทยคมรายเดียวที่ได้ยื่นประมูลก่อนหน้านี้ กสทช.ก็ต้องเดินหน้าประมูลในวันที่ 28 ส.ค.2564 โดยยึดมาตรฐานเหมือนการประมูลคลื่นโทรคมนาคมที่มีการขยายเวลาและเดินหน้าประมูลต่อ

อีกทั้ง กสทช.มีหน้าที่ ต้องรักษาวงโคจรของประเทศซึ่งวงโคจรต้องมีดาวเทียมใช้งาน หากประเทศไทยถูก ITU ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ได้มีการใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมที่ได้รับจริงภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือไม่ได้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง (ไม่มีการใช้คลื่นความถี่บนดาวเทียมจริง) ย่อมมีโอกาสเกิดความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะถูกยกเลิกสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมและคลื่นความถี่ที่ไม่มีการใช้งานจริง ออกจากทะเบียนความถี่หลักระหว่างประเทศได้ (Master International Frequency Register) และส่งผลให้ประเทศไทยสิ้นสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมนั้น